Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45840
Title: | การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มชาใบหม่อนพร้อมดื่มที่มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง โดยใช้นวัตกรรมไมโครเอนแคปซูเลชัน |
Other Titles: | HIGH ANTIOXIDANT READY-TO-DRINK MULBERRY LEAVES TEA PRODUCT DEVELOPMENT BY USING INNOVATIVE MICROENCAPSULATION |
Authors: | เอกชัย เดชเรืองศรี |
Advisors: | ชาลีดา บรมพิชัยชาติกุล อัจฉรา จันทร์ฉาย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Chaleeda.B@Chula.ac.th,chaleedab@hotmail.com achandrachai@gmail.com |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาเครื่องดื่มชาใบหม่อนพร้อมดื่มที่มีการเติมไมโครแคปซูลสารสกัดฟลาโวนอยด์ลงไปในชาใบหม่อน เพื่อให้เป็นชาใบหม่อนพร้อมดื่มที่มีฤทธิ์การต่อต้านอนุมูลอิสระสูง โดยสำรวจความต้องการผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มชาพร้อมดื่มของกลุ่มผู้บริโภคที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 414 คนพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความสนใจในเครื่องดื่มชาใบหม่อนพร้อมดื่มที่มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูงโดยใช้นวัตกรรมไมโครเอนแคปซูเลชัน ร้อยละ 71.26 และผลการทดสอบความสัมพันธ์พบว่าค่าสถิติ Chi Square ในด้านปัจจัยทางด้านราคามีความสัมพันธ์ต่อความต้องการในการบริโภคผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มชาใบหม่อนพร้อมดื่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากนั้นศึกษาประสิทธิภาพของไมโครแคปซูลสารสกัดฟลาโวนอยด์ ที่จะนำไปใช้ในการเพิ่มฤทธิ์การต่อต้านอนุมูลอิสระของเครื่องดื่มชาใบหม่อนพร้อมดื่ม ผลการศึกษาพบว่าฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของไมโครแคปซูลที่วัดโดยการใช้วิธี DPPH มีฤทธิ์การต่อต้านอนุมูลอิสระ 18.11 มิลลิโมลโทรลอกซ์ต่อกรัมของไมโครแคปซูล และการวัดโดยการใช้วิธี FRAP พบว่าไมโครแคปซูล มีฤทธิ์การต่อต้านอนุมูลอิสระ 30.79 มิลลิโมลโทรลอกซ์ต่อกรัมของไมโครแคปซูล โดยที่ไมโครแคปซูลสารสกัดฟลาโวนอยด์จากใบหม่อนมีค่าการละลายที่ดีที่สุดที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส โดยสามารถละลายได้ถึง 97.68% และยังคงมีฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระ และเมื่อทำการศึกษาเปรียบเทียบค่าฤทธิ์การต่อต้านอนุมูลอิสระของชาใบหม่อนทั่วไป และชาใบหม่อนที่มีการเติมไมโครแคปซูลสารสกัดจากใบหม่อนลงไป ที่ผลิตได้ในการการทดลองนี้กับชาเขียวทั่วไป พบว่าชาใบหม่อนที่มีการเติมไมโครแคปซูลสารสกัดจากใบหม่อนเพิ่มลงไป มีฤทธิ์การต่อต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด โดยเมื่อวัดด้วยวิธี DPPH มีฤทธิ์การต่อต้านอนุมูลอิสระสูงถึง 196.28 จากนั้นทำการทดสอบทางด้านประสาทสัมผัสพบว่าสีและกลิ่นผู้ทดสอบไม่ได้มีความชอบที่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 แต่ในเรื่องของความหวานและรสชาติผู้ทดสอบมีความชอบที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผู้วิจัยได้เลือกผลิตต้นแบบผลิตภัณฑ์ชาใบหม่อนพร้อมดื่มที่มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูงตามตัวอย่างที่ผู้ทดสอบด้านประสาทสัมผัสพึงพอใจมากที่สุดคือผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่มีการเติมไมโครแคปซูลสารสกัดฟลาโวนอยด์จากใบหม่อนในปริมาณ 0.2 กรัมต่อปริมาณน้ำชา 100 มิลลิลิตร และใส่น้ำตาลในปริมาณ 2 กรัมต่อปริมาณน้ำชา 100 มิลลิลิตร ส่วนในเรื่องของความเป็นไปได้ในการนำเอาผลิตภัณฑ์ออกสู่เชิงพาณิชย์ ผู้วิจัยเลือกวิธีการนำผลิตภัณฑ์จำหน่ายออกสู่เชิงพาณิชย์ในลักษณะวิธีการขาย License ของเทคโนโลยีการทำไมโครแคปซูลสารสกัดจากใบหม่อนให้กับผู้ผลิตรายใหญ่แทนการผลิตเอง ในลักษณะของการทำวิจัยเชิงพาณิชย์ (Commercial – Based Research) โดยเป็นลักษณะของการขายงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยสู่ภาคอุตสาหกรรม โดยจะทำวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับเครื่องดื่มชาพร้อมดื่มและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพอื่นๆ ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะได้รับค่าเปิดเผยเทคโนโลยีจำนวน 500,000 และมีค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงาน 1,000,000 บาท โดยใน พ.ศ. 2559 จะมีกำไรสุทธิจากการขาย License ของงานวิจัยและค่า Royalty รวม 3,000,000 บาท โดยจะมีกำไรต่อเนื่องจากไปจนถึงปี พ.ศ. 2563 |
Other Abstract: | This research was aimed to study the feasibility for developing high antioxidant ready-to-drink mulberry leaves tea by addition of mulberry leaves extract microcapsules, the first phase of this study surveyed 414 target sample on the demanding of high antioxidant ready-to-drink tea. The result show that 71.26 % of surveyed sample were interested in ready-to-drink mulberry leaves tea that adding mulberry leaves extract microcapsules and the correlations statistical Chi Square showed that product price was related to the need of consumers statistically significant at the level of 0.05. The second phase antioxidant activity of the microcapsule was investigated, by using DPPH and FRAP method. It was found that the microcapsule exhibited antioxidant activity up to 18.11 mmol Trolox per gram of microcapsules (DPPH) and 30.79 mmol Trolox per gram of microcapsules (FRAP). The microcapsule could dissolve in a hot water at 100 ˚C. The solubility was up to 97.68% and antioxidant activity was still remained. When comparing antioxidant activity of in-house prepared mulberry leave tea with addition of mulberry leaves extract microcapsules with other ready-to-drink green tea, it was found that the antioxidant activities of mulberry leave tea with addition of mulberry leaves extract microcapsules by DPPH method was 196.28 micromol Trolox per milliliter and by FRAP method 573.03 micromol Trolox per milliliter which exhibited higher activity than other ready-to-drink green tea. For sensory evaluation, it was found that the color and smell of product did not have the liking score significantly difference at the level of 0.05 but for sweetness and overall liking did have liking score significantly difference at 0.05. The most acceptance formula was the product with the microcapsules in amount of 0.2 gram per 100 milliliter of tea water and sugar in amount of 2 gram per 100 milliliter of tea water. For feasibility of commercialization, selling license of microcapsule process technology to the major manufacturer was the best option in a characterized of commercial – based research by the research for the university to industry. The research and development of products for tea drinking and other health products. The University will receive the disclosed technology fee one hundred thousand baht. And the cost of operations one millions baht. Therefore the net profit from the sale of the license and the royalty fee three millions baht of total in 2015 and continued until 2020. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45840 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5687163020.pdf | 4.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.