Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45861
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิภาวรรณ วงษ์สุวรรณ์ คงเผ่า-
dc.contributor.authorอนุรักษ์ ไชยฮั่ง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2015-09-17T07:59:48Z-
dc.date.available2015-09-17T07:59:48Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45861-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนร้อยแก้วเชิงสร้างสรรค์ในภาพรวมและรายด้านของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีเอสซีพีซีและแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (2) ศึกษาพัฒนาการความสามารถในการเขียนร้อยแก้วเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อน ระหว่างและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีเอสซีพีซีและแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (3) เปรียบเทียบเมตาคอกนิชันในการเขียนในภาพรวมและรายด้านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีเอสซีพีซีและแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ประชากร คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 37 จังหวัดแพร่-น่าน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียน ศรีสวัสดิ์วิทยาคารจังหวัดน่าน ปีการศึกษา 2555 จำนวน 35 คน ระยะเวลาในการสอน คือ 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 คาบ แผนการจัดการเรียนรู้รวม 18 แผน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบความสามารถในการเขียนร้อยแก้วเชิงสร้างสรรค์ และแบบวัดเมตาคอกนิชันในการเขียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบค่าที (t-test dependent) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (one-way analysis of variance with repeated measures) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีเอสซีพีซีและแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือมีความสามารถในการเขียนร้อยแก้วเชิงสร้างสรรค์ในภาพรวมและรายด้านหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีเอสซีพีซีและแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ มีพัฒนาการความสามารถในการเขียนร้อยแก้วเชิงสร้างสรรค์ที่สูงขึ้นตามลำดับ 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีเอสซีพีซีและแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ มีเมตาคอกนิชันในการเขียนในภาพรวมและรายด้านหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05en_US
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were (1) to compare the overall and each aspect of tenth grade students’ Thai creative prose writing ability before and after organizing learning activities using the SCPC strategy and cooperative learning concept, (2) to study the progressive ability in Thai creative prose writing of tenth grade students before, during and after organizing learning activities by using the SCPC strategy and cooperative learning concept, (3) to compare the overall and each aspect of tenth grade students’ metacognition in writing before and after the organizing learning activities by using the SCPC strategy and cooperative learning concept. Subject used in this research were tenth grade students under the Secondary Educational Service Area Office 37, Phrae-Nan, in the office of Basic Education Commission of the Ministry of Education. The samples of this study were purposive sampling from 35 tenth grade students at Srisawatwittayakarn School in the second semester of the academic year 2012. The instruction duration was 3 periods per week for 6 weeks and composed of 18 lesson plans. The research instruments included the creative prose writing test and metacognition in writing scales. The data was analyzed by using t-test dependent and one - way analysis of variance with repeated measures. The research results revealed that: 1. After the students being taught by using the SCPC strategy and cooperative learning concept had a Thai creative prose writing ability in overall and each aspect of their writing higher than before the treatment at .05 level of significance. 2. The students being taught by using the SCPC strategy and cooperative learning concept had an ability progress in Thai creative prose writing respectively. 3. After the students being taught by using the SCPC strategy and cooperative learning concept had a metacognition in overall and each aspect of their writing higher than before the treatment at .05 level of significance.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.17-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการเรียนรู้en_US
dc.subjectภาษาไทย -- การเขียนen_US
dc.subjectเมตาคอคนิชันen_US
dc.subjectการแต่งร้อยแก้วen_US
dc.subjectLearningen_US
dc.subjectThai language -- Writingen_US
dc.subjectMetacognitionen_US
dc.subjectEssayen_US
dc.titleผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีเอสซีพีซีและแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีต่อ ความสามารถในการเขียนร้อยแก้วเชิงสร้างสรรค์และเมตาคอกนิชันในการเขียนภาษาไทยของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4en_US
dc.title.alternativeEffects of organizing learning activities by using the SCPC strategy and cooperative learning concept on Thai creative prose writing ability and metacognition in writing of tenth grade studentsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการสอนภาษาไทยen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorWipawan.W@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.17-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anurak_ch.pdf6.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.