Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45940
Title: การเลือกตำแหน่ง และการปรับตั้งค่าอุปกรณ์ป้องกันสำหรับระบบไมโครกริด
Other Titles: SITING AND SETTING OF PROTECTIVE DEVICE FOR MICROGRID SYSTEM
Authors: ศิริรัตน์ กลัดเพ็ชร
Advisors: ธวัชชัย เตชัสอนันต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Thavatchai.T@Chula.ac.th,tayjasanant@yahoo.ca,taytaycu@gmail.com
Subjects: ไมโครกริด (โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ)
ระบบไฟฟ้ากำลัง -- การป้องกัน
Microgrids (Smart power grids)
Electric power systems -- Protection
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ระบบไมโครกริด (Microgrid) เป็นระบบไฟฟ้าขนาดเล็กที่ทำงานได้ทั้งแบบเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าหลัก (Grid-connected mode) และแบบแยกตัวเป็นอิสระ (Islanding mode) การป้องกันของระบบไมโครกริดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณา เนื่องจากระบบป้องกันไฟฟ้าต้องสามารถทำการป้องกันได้ทั้ง 2 โหมดการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อระบบทำงานแบบแยกตัวเป็นอิสระ ระบบไมโครกริดมักมีการจ่ายไฟจากแหล่งผลิตไฟฟ้าที่มีอินเวอร์เตอร์เชื่อมต่ออยู่ เมื่อเกิดการลัดวงจรค่ากระแสลัดวงจรของทั้ง 2 โหมดการทำงานมีค่าแตกต่างกัน ส่งผลให้รูปแบบการป้องกันแบบเดิมไม่สามารถรองรับการทำงานของระบบได้ จากปัญหาที่ได้กล่าวมานั้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงนำเสนอ แนวทางการปรับปรุงระบบป้องกันสำหรับระบบไมโครกริดที่มีระบบผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์เชื่อมต่ออยู่ ทั้งในด้านการหาตำแหน่งติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันที่คำนึงถึงความเชื่อถือได้ของระบบและมูลค่าการใช้จ่ายที่น้อยที่สุด และการปรับตั้งค่าอุปกรณ์ป้องกันที่คำนึงถึงโหมดการทำงานและการประสานการป้องกัน (Protection coordination) ด้วยการประยุกต์การค้นหาคำตอบด้วยขั้นตอนเชิงพันธุกรรม (Genetic Algorithm, GA) พร้อมทั้งตรวจสอบการทำงานขั้นตอนที่ได้พัฒนาขึ้นด้วยระบบทดสอบที่ดัดแปลงจากระบบทดสอบ RBTS และระบบไมโครกริดของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยผลการทดสอบพบว่า การติดตั้งอุปกรณ์ที่เหมาะสมจะทำให้ระบบไมโครกริดมีความเชื่อถือได้ที่ดีขึ้นภายใต้มูลค่าการใช้จ่ายที่น้อยที่สุด และการปรับตั้งค่าอุปกรณ์ป้องกันสามารถรองรับการทำงานในแต่ละโหมดของระบบไมโครกริดได้
Other Abstract: Microgrid system is a small-scale power grid that can operate both grid-connected and islanding modes. Protection in microgird is an important issue to be considered because the protection system has to operate reliability in both operation modes. During an islanding mode, microgrid system is supplied by energy sources connected with inverters. When there is a fault, short-circuit currents for both operation modes will be quite different. As a result, an original protection scheme is no longer valid for the system operation. From the aforementioned problem, this thesis will present improvement guidelines for protection scheme for microgrid system connected with photovoltaic distributed generation in term of siting of protective device, considering system reliability and investment worth and setting of protective device, considering operation modes and protection coordination by applying Genetic Algorithm. In addition, the proposed method is verified with a modified RBTS test system and PEA’s microgrid in Mae Sarieng, Mae Hong Son Province. The results show that proper siting of protective device can improve system reliability under worth investment and proper setting of protective device can handle both operation modes of microgrid.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45940
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.675
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.675
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5470392221.pdf5.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.