Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45985
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชัชชัย โกมารทัตen_US
dc.contributor.authorจักรพงษ์ งามหมู่en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.date.accessioned2015-09-18T04:21:16Z
dc.date.available2015-09-18T04:21:16Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45985
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นด้านสมรรถภาพทางกาย และกำหนดระดับความต้องการจำเป็นด้านสมรรถภาพทางกายของกีฬาเซปักตะกร้อ โดยใช้เทคนิควิธีวิจัยแบบเดลฟาย ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้เชี่ยวชาญด้านกีฬาเซปักตะกร้อ จำนวน 19 คน ดำเนินการเก็บข้อมูล 3 รอบ รอบที่ 1 เป็นแบบสัมภาษณ์ รอบที่ 2 และรอบที่ 3 เป็นแบบสอบถามปลายปิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ นำข้อมูลที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญในรอบที่ 3 มาวิเคราะห์สรุปผลการศึกษา โดยหาค่ามัธยฐาน (Median: Md) ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (Interquartile range: IR) และค่าสัมบูรณ์ความแตกต่างระหว่างค่ามัธยฐานกับค่าฐานนิยม (|Md-Mo|) เพื่อสรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการวิจัยพบความต้องการจำเป็นด้านสมรรถภาพทางกายเกี่ยวกับ องค์ประกอบของสมรรถภาพทางกายด้านกล้ามเนื้อ ได้แก่ 1) ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ 2) ความทนทานของกล้ามเนื้อ 3) พลังของกล้ามเนื้อ 4) ความอ่อนตัว 5) การทรงตัว 6) การทำงานประสานกันระหว่างระบบประสาทกับกล้ามเนื้อ 7) เวลาปฏิกิริยา 8) ความไว 9) ความคล่องแคล่วว่องไว 10) ความเร็ว และ องค์ประกอบสมรรถภาพทางกายด้านระบบพลังงาน ได้แก่ 1) ระบบพลังงานแบบไม่ใช้ออกซิเจน 2) ระบบพลังงานแบบใช้ออกซิเจน ตามลำดับ 2. ระดับความต้องการจำเป็นด้านสมรรถภาพทางกายในภาพรวมพบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีการรับรู้ถึงระดับความต้องการจำเป็นด้านสมรรถภาพทางกายที่สอดคล้องกันทุกข้อ คือ มีค่าสัมบูรณ์ความแตกต่างระหว่างค่ามัธยฐานกับค่าฐานนิยมน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1.00 (|Md-Mo| ≤ 1.00) และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 1.50 (IR ≤ 1.50) และเรียงระดับความต้องการจำเป็นด้านสมรรถภาพทางกายตามค่ามัธยฐาน พบว่า สมรรถภาพทางกายด้านกล้ามเนื้อ 3 อันดับแรก ที่มีระดับความต้องการจำเป็นอยู่ในระดับสูง ได้แก่ ความอ่อนตัว, การทำงานประสานกันระหว่างระบบประสาทกับกล้ามเนื้อ, พลังของกล้ามเนื้อ (Md = 4.97, 4.94, 4.89) ตามลำดับ และสมรรถภาพทางกายด้านระบบพลังงาน พบว่าระบบพลังงานแบบไม่ใช้ออกซิเจนมีระดับความต้องการจำเป็นอยู่ในระดับสูง (Md=4.71) และระบบพลังงานแบบใช้ออกซิเจน อยู่ในระดับกลาง (Md=3.45) ตามลำดับen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposed of this research was to study Physical Fitness needs and determined level physical fitness needs of Sepaktakraw players by using Delphi technique, the subject were 19 experts of Sepaktakraw sports. The Delphi technique consisted of 3 rounds. The first round, questionnaire was an interviewed form. The second and the third round was the five points scale rating close - ended questionnaires that were calculated to find median (Md), interquartile range (IR) and absolute value of the difference between median and mode (|Md-Mo|) to summarize the study Results Conclusion 1. The result revealed Physical Fitness needs muscular fitness that was 1) Muscular Strength 2) Muscular Endurance 3) Muscular Power 4) Flexibility 5) Balance 6) Muscular Coordination 7) Reaction time 8) Quickness 9) Agility 10) Speed and Energy fitness was Anaerobic Energy Systems and Aerobic Energy Systems 2. The level of Physical Fitness needs found that all the experts had the same level of Physical Fitness needs, the absolute value of the difference between median and mode is less than or equal 1.00 (|Md-Mo|≤1), the interquartile range was less than or equal 1.50 (IR ≤ 1.50). Arrangement level of Physical Fitness needs by median (Md) found three levels of Physical Fitness of muscular needs on high level that is flexibility, muscular coordination and muscular power (Md = 4.97, 4.94, 4.89). Physical Fitness of energy system found that needs on Anaerobic Energy Systems was high level (Md=4.17) ,and needs on Aerobic Energy Systems was medium level (Md=3.45)en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.702-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectตะกร้อ
dc.subjectนักกีฬา
dc.subjectสมรรถภาพทางกาย
dc.subjectการประเมินความต้องการจำเป็น
dc.subjectเทคนิคเดลฟาย
dc.subjectTakraw
dc.subjectAthletes
dc.subjectPhysical fitness
dc.subjectNeeds assessment
dc.subjectDelphi method
dc.titleความต้องการจำเป็นด้านสมรรถภาพทางกายของนักกีฬาเซปักตะกร้อen_US
dc.title.alternativePHYSICAL FITNESS NEEDS OF SEPAKTAKRAW PLAYERSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorChuchchai.G@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.702-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5478303939.pdf6.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.