Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45986
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดรุณวรรณ สุขสมen_US
dc.contributor.advisorฮิโรฟุมิ ทานากะen_US
dc.contributor.authorนภัสกร ชื่นศิริen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.date.accessioned2015-09-18T04:21:16Z-
dc.date.available2015-09-18T04:21:16Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45986-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเปรียบเทียบผลฉับพลันของการฝึกออกกำลังกายแบบสลับช่วงที่ความหนักสูงมากที่ความหนักแตกต่างกันต่อการใช้พลังงาน และการทำงานของหลอดเลือดในเด็กน้ำหนักปกติและเด็กอ้วน และเพื่อเปรียบเทียบผลระยะยาวของการฝึกออกกำลังกายแบบสลับช่วงที่ความหนักสูงและความหนักสูงมากต่อการใช้พลังงาน และการทำงานของหลอดเลือดในเด็กอ้วน การศึกษาวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 2 การศึกษา สำหรับการศึกษาที่ 1 กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กชาย อายุ 8 – 12 ปี แบ่งเป็นเด็กน้ำหนักปกติ 18 คน และเด็กอ้วน 17 คน ซึ่งประเมินโดยใช้ค่าดัชนีมวลกายเปรียบเทียบตามเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตของเพศชายอายุ 5-18 ปี โดยค่าดัชนีมวลกาย มากกว่าหรือเท่ากับ +2S.D. จะอยู่ในกลุ่มอ้วน ทำออกกำลังกายแบบสลับช่วงที่ระดับความหนักสูงมาก 100, 130 และ 170 เปอร์เซ็นต์ของค่าสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด (100, 130 and 170% VO2peak) ทดสอบตัวแปรด้านการใช้พลังงาน และการทำงานของหลอดเลือดระหว่างก่อน และหลังการออกกำลังกาย ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยการทดสอบความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ แบบ 2x3 (กลุ่ม x ความหนักของการออกกำลังกาย) และเปรียบเทียบความแตกต่างแบบรายคู่ โดยใช้วิธีการทดสอบของแอลเอสดี (LSD) นำผลที่ได้จากการศึกษาที่ 1 มาใช้ในการศึกษาที่ 2 โดยการศึกษาที่ 2 กลุ่มตัวอย่างจะเป็นเด็กอ้วน จำนวน 37 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มควบคุม จำนวน 11 คน กลุ่มออกกำลังกายแบบสลับช่วงที่ความหนักสูง 90% VO2peak ใช้เวลาในการออกกำลังกาย 24 นาที จำนวน 11 คน และกลุ่มออกกำลังกายแบบสลับช่วงที่ความหนักสูงมาก 170% VO2peak ใช้เวลาในการออกกำลังกาย 14 นาที จำนวน 15 คน ทำการฝึกออกกำลังกาย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ทดสอบตัวแปรด้านการใช้พลังงาน และการทำงานของหลอดเลือดระหว่างก่อน และหลังการฝึก 12 สัปดาห์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยการทดสอบความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ แบบ 3x2 (กลุ่ม x ความหนักของการออกกำลังกาย) ผลการวิจัย พบว่า สำหรับการศึกษาที่ 1 ภายหลังการออกกำลังกายแบบสลับช่วงที่ความหนักสูงมาก เด็กอ้วนมีการใช้พลังงานขณะออกกำลังกายสูงกว่าเด็กน้ำหนักปกติทั้ง 3 ความหนักของการออกกำลังกาย เด็กน้ำหนักปกติ และเด็กอ้วนมีคลื่นความดันชีพจรระหว่างต้นแขนและข้อเท้าลดลง หลังออกกำลังกายแบบสลับช่วงที่ความหนัก 130 และ 170% VO2peak การขยายตัวของหลอดเลือดเมื่อถูกปิดกั้นการไหลเวียน หลังออกกำลังกายแบบสลับช่วงที่ความหนัก 170% VO2peak เท่านั้นที่สูงกว่าก่อนการออกกำลังกายอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 สำหรับการศึกษาที่ 2 ภายหลังการฝึก 12 สัปดาห์ พบว่า กลุ่มออกกำลังกายแบบสลับช่วงที่ความหนักสูงมาก 170% VO2peak และกลุ่มออกกำลังกายแบบสลับช่วงที่ความหนักสูง 90% VO2peak มีการเผาผลาญพลังงานขณะพักสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ไม่พบความแตกต่างของดัชนีมวลกาย น้ำหนักตัว และไขมันในร่างกาย ในทั้ง 3 กลุ่มทดลอง กลุ่มออกกำลังกายแบบสลับช่วงที่ความหนักสูงมาก 170% VO2peak มีความหนาของผนังหลอดเลือด และความแข็งตัวของหลอดเลือดลดลง คอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ลดลง และมีไนตริกออกไซด์เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับก่อนการฝึก ทั้งกลุ่มออกกำลังกายแบบสลับช่วงที่ความหนักสูงมาก 170% VO2peak และกลุ่มออกกำลังกายแบบสลับช่วงที่ความหนักสูง 90% VO2peak อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ไม่พบความแตกต่างของครีเอทีนฟอสโฟไคเนส และมาลอนไดอัลดีไฮด์ ในทั้ง 2 กลุ่มออกกำลังกาย และการฝึกออกกำลังกายแบบสลับช่วงที่ความหนักสูงมาก 170% VO2peak มีความสนุกสนานมากกว่าการฝึกออกกำลังกายแบบสลับช่วงที่ความหนักสูง 90% VO2peak อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า การออกกำลังกายแบบสลับช่วงที่ความหนักสูงมาก 170% VO2peak สามารถที่จะนำมาใช้เป็นรูปแบบในการออกกำลังกายของเด็กอ้วนได้ โดยสามารถพัฒนาโครงสร้างและการทำงานของหลอดเลือด อีกทั้งยังใช้เวลาในการออกกำลังกายน้อย ปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บ และมีความสนุกสนานen_US
dc.description.abstractalternativeThe main objective of the present study was to determine acute and chronic effects of supra-high intensity interval training (supra-HIIT) on energy expenditure and vascular function in obese prepubescent boys. Obese prepubescent boys, aged 8 - 12 years, participated in this series of studies. The participants had BMI ≥ 2 SD above the growth reference data for boys aged 5-18 years. This research was divided into 2 studies, study 1, eighteen lean and seventeen obese prepubescent boys were asked to perform supra-high intensity interval training at 100, 130 and 170% VO2peak. The Measurements of energy expenditure and vascular function were assessed before and after each exercise session. A 2x3 (group x exercise intensity) ANOVA with repeated measures followed by LSD’s multiple comparisons was used to analyze the data. The results from the 1st study were used to set exercise intensity for study 2. Thirty seven obese prepubescent boys were randomly assigned into three groups including control group (CON; n=11), HIIT at 90% VO2peak (total exercise time = 24 min) (HIIT; n=11) and supra-HIIT at 170% VO2peak (total exercise time = 14 min) (supra-HIIT; n=15). Both exercise groups were asked to perform exercises on a mechanically-braked cycle ergometer 3 times/week for 12 weeks. A 3x2 (group x time) ANOVA with repeated measures followed by LSD’s multiple comparisons was used to analyze the data. The results of the present study were as follows: 1. For the study 1, the obese group had significantly greater total energy expenditure in all three HIIT intensities than the lean group. Brachial-ankle pulse wave velocity (baPWV) decreased significantly after HIIT at 130 and 170% VO2peak in both lean and obese groups. Only the HIIT at 170% VO2peak demonstrated greater flow mediate vasodilatation (FMD) compared with the baseline. 2. For the study 2, after 12 weeks, supra-HIIT and HIIT group had significantly greater resting energy expenditure than the control group (p<0.05). There were no significant differences in BMI, body weight and body fat following CON, HIIT and supra-HIIT. Artery wall thickness and baPWV decreased in supra-HIIT. Cholesterol and triglyceride decreased and nitric oxide level increased in both HIIT and supra-HIIT (all p<0.05). There were no significant differences in creatine phosphokinase and malondialdehyde following both HIIT and supra-HIIT. Physical activity enjoyment score in supra-HIIT was significantly higher than HIIT (p<0.05). In conclusion, supra-HIIT performed at the intensity of 170% VO2peak can be a feasible exercise modality for improving vascular structure and function in obese prepubescent boys. Moreover, it requires much less time to complete, provides no muscle damage and make enjoyment in obese children.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.703-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเด็กน้ำหนักเกิน
dc.subjectองค์ประกอบร่างกาย
dc.subjectOverweight children
dc.subjectBody composition
dc.subjectInterval training
dc.titleการเปรียบเทียบผลของการฝึกออกกำลังกายแบบสลับช่วงที่ความหนักสูงและที่ความหนักสูงมากต่อการใช้พลังงาน องค์ประกอบของร่างกาย และการทำงานของหลอดเลือดในเด็กอ้วนen_US
dc.title.alternativeA COMPARISON BETWEEN HIGH INTENSITY INTERVAL TRAINING AND SUPRA-HIGH INTENSITY INTERVAL TRAINING ON ENERGY EXPENDITURE, BODY COMPOSITION AND VASCULAR FUNCTION IN OBESE CHILDRENen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorDaroonwan.S@Chula.ac.th,daroonwanc@hotmail.comen_US
dc.email.advisorhtanaka@austin.utexas.eduen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.703-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5478607739.pdf10.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.