Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46009
Title: | การนำเสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะในการจัดการเรียนการสอนพลศึกษาของครูประถมศึกษาที่ไม่มีวุฒิทางพลศึกษา |
Other Titles: | PROPOSED GUIDELINES FOR DEVELOPING PHYSICAL EDUCATION INSTRUCTIONAL MANAGEMENT COMPETENCY OF PRIMARY SCHOOL TEACHERS WITH NO CERTIFICATION IN PHYSICAL EDUCATION |
Authors: | นงค์ณภัส ปาแก้ว |
Advisors: | รัชนี ขวัญบุญจัน |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Rajanee.Q@Chula.ac.th,rq.2486@gmail.com |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ สมรรถนะ และความต้องการการพัฒนาสมรรถนะในการจัดการเรียน การสอนของครูพลศึกษาระดับประถมศึกษาที่ไม่มีวุฒิทางพลศึกษา 2) เปรียบเทียบสมรรถนะของครูพลศึกษาในระดับประถมศึกษาที่ไม่มีวุฒิทางพลศึกษา จำแนกตามเพศและประสบการณ์การทำงาน และ 3)นำเสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของครูพลศึกษาในระดับประถมศึกษาที่ไม่มีวุฒิทางพลศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนพลศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ที่ไม่มีวุฒิทางพลศึกษา จำนวน 372 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์สถิติพื้นฐาน สถิติทดสอบที (t-test) สถิติทดสอบเอฟ (F-test) และเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีของ Dunnett’s T3 ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการสอนพลศึกษา ครูพลศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อายุ 55 ปีขึ้นไป จบปริญญาตรีเอกประถมศึกษามีประสบการณ์สอนวิชาพลศึกษา 21 ปีขึ้นไป มีชั่วโมงสอนมากกว่า 20 คาบต่อสัปดาห์ ได้รับมอบหมายให้สอนพลศึกษา เนื่องจากมีความสามารถทางการกีฬา เคยเข้าร่วมอบรมทางพลศึกษาเรื่องการตัดสินกีฬาและการเป็นผู้ฝึกสอนกีฬา มีการจัดการเรียนการสอน เป็นไปตามขั้นตอนของการสอนพลศึกษา สมรรถนะในการจัดการเรียนการสอนพลศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านวัตถุประสงค์ ด้านหลักสูตรและเนื้อหา ด้านการสอนพลศึกษา ด้านสื่อและอุปกรณ์ ด้านการวัดและประเมินผล และด้านอื่น ๆ ได้แก่ ความรู้ทักษะ การปฏิบัติงาน และด้านการปฏิบัติตน ครูส่วนใหญ่ต้องการเข้ารับการอบรมในการพัฒนาเรื่องหลักสูตรและเนื้อหา การสอนพลศึกษา ด้านการวัดและประเมินผลทางพลศึกษา และต้องการงบประมาณในการซื้อสื่อและอุปกรณ์ 2. ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะในการจัดการเรียนการสอน จำแนกตามเพศและประสบการณ์การทำงาน มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. แนวทางในการพัฒนาสมรรถนะในการจัดการเรียนการสอนพลศึกษาของครูประถมศึกษาที่ไม่มีวุฒิทาง พลศึกษาควรมีการจัดหลักสูตรฝึกอบรมซึ่งในหลักสูตรควรประกอบไปด้วย หัวข้อดังนี้ 1) เรื่องวัตถุประสงค์ 2) เรื่องหลักสูตรและเนื้อหา 3) เรื่องการสอนพลศึกษา 4) เรื่องการวัดและประเมินผล และ 5) เรื่องความรู้และทักษะ |
Other Abstract: | The purposes of this study were to 1) Investigate the state, performance and development needs instruction of physical education teachers at the primary level with no certification in physical education. 2) Compare physical education instructional management competency of primary school teacher with no certification in physical between sex and working experience. 3) The guidelines for developing physical education instructional management competency of primary school teachers with no certification in physical education. The sample was the physical education teachers in Primary Schools under the office of the National Primary Education Commission. The 372 data were collected by using questionnaires. The data were analyzed by using descriptive statistics, t-test, F-test and pairwise comparison method of Dunnett's T3. The research findings were as follow: 1. The Physical Education teachers were mostly age of 55 years. Have a bachelor's degree in elementary education. Experience teaching in physical education 21 years. Teaching more than 20 hours per week. Assigned to teach physical education because of ability in sport. Participated in training in sport referee and the sports coaches. Teaching management of physical education was at: The curriculum content, teaching physical education in media and equipment, measurement and evaluation, and other, knowledge, skills and performance. And Teacher wants to training in the practice in teaching, measurement and evaluation in physical education. 2. Comparing the performance in teaching, classified by sex and working experience differences were statistically significant at the level of .05 3. The guidelines for developing physical education instructional management competency of primary school teachers with no certification in physical education should be provided training courses in the following topics: 1) The objective 2) Curriculum and content 3) The process of teaching physical education 4) Measurement and Evaluation of Physical Education and 5) Knowledge and skills. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สุขศึกษาและพลศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46009 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5483362627.pdf | 5.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.