Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46057
Title: | แนวทางการตัดสินใจสำหรับการคัดเลือกกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมน้ำปลา เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก |
Other Titles: | DECISION APPROACH FOR SELECTION OF FISH SAUCE INDUSTRIAL PROCESSES TO REDUCE GREENHOUSE GAS EMISSION |
Authors: | อัจนา ใจสุวรรณ |
Advisors: | จิตรา รู้กิจการพานิช |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Jittra.R@Chula.ac.th,fieckp@eng.chula.ac.th |
Subjects: | ก๊าซเรือนกระจก การตัดสินใจ ก๊าซเรือนกระจก--การลดปริมาณ Greenhouse gases Decision making Greenhouse gas mitigation |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ เพื่อสร้างแนวทางการตัดสินใจสำหรับการคัดเลือกกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมน้ำปลา เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยประยุกต์ใช้กระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น (Analytic Hierarchy Process : AHP) ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการบรรจุน้ำปลาเป็นทางเลือกอันดับแรกที่ควรนำไปปรับปรุงกระบวนการผลิต เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งมีค่าน้ำหนักความสำคัญสูงสุดเท่ากับ 0.472 รองลงมาคือกระบวนการหมักน้ำปลา, กระบวนการกรองน้ำปลา และกระบวนการปรุงแต่งรสน้ำปลา ซึ่งมีค่าน้ำหนักความสำคัญเป็น 0.213, 0.163 และ 0.152 ตามลำดับ นอกจากนี้เมื่อนำผลจากวิธีดังกล่าวมาเปรียบเทียบกับวิธีการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ พบว่าให้ผลการตัดสินใจคัดเลือกกระบวนการผลิตที่มีความสอดคล้องกัน สำหรับขั้นตอนการสร้างแนวทางการตัดสินใจในงานวิจัยนี้ประกอบด้วย 1) การค้นหาปัจจัยที่มีผลต่อการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการจัดการก๊าซเรือนกระจกจำนวน 7 ท่าน 2) นำปัจจัยที่สรุปได้ดังกล่าวมาจัดเป็นโครงสร้างลำดับชั้นของการตัดสินใจ และ 3) ทดสอบการวิเคราะห์ผลโดยการเปรียบเทียบเป็นคู่ (pair-wise comparison) ตามขั้นตอนของวิธี AHP ซึ่งในขั้นตอนนี้ได้เพิ่มจำนวนผู้เชี่ยวชาญอีก 3 ท่านที่มาจากส่วนโรงงานน้ำปลากรณีศึกษา มาแสดงความคิดเห็นผ่านแบบสอบถาม การเปรียบเทียบเป็นคู่และทำการประมวลผลตามวิธีดังกล่าว เพื่อให้ได้ผลลำดับการคัดเลือกกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมน้ำปลา การนำแนวทางการตัดสินใจนี้ไปประยุกต์ใช้ เริ่มจากการเปรียบเทียบเป็นคู่ระหว่างแต่ละปัจจัยที่มีผลต่อการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกก่อนแล้วจึงตามด้วยการเปรียบเทียบเป็นคู่ระหว่างแต่ละกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมน้ำปลา โดยในการเปรียบเทียบดังกล่าวจะต้องทำการใส่คะแนนค่าระดับความสำคัญของการเปรียบเทียบเป็นคู่ แล้วทำการวิเคราะห์ผลคะแนนเพื่อหาลำดับความสำคัญและสามารถจัดลำดับของการคัดเลือกกระบวนการผลิต ซึ่งผลลัพธ์ของการตัดสินใจสามารถใช้เป็นแนวทางการปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ในอนาคต |
Other Abstract: | The objective of this research was to create a decision approach for selection of fish sauce industrial processes to reduce greenhouse gas emissions using Analytic Hierarchy Process (AHP). The result concluded that the packaging process was the first alternative to improve the process for reducing greenhouse gas (GHG) emissions which was the highest priority (0.472). The second priority was the fermentation process (0.213). The third priority was the filtering process (0.163) and the lowest priority was the mixing process (0.152). Moreover, the comparison of this result and carbon footprint presented the decision for selection of process was consistent. The first step of this decision approach was finding the criteria which affected the reduction of greenhouse gas emissions as validated by 7 greenhouse gas management experts. The second step was using these criteria to establish a hierarchical structure of the decision. The final step was testing results by pair-wise comparison following AHP, which 3 experts from a fish sauce industrial case study were added to the decision by using pair-wise comparison questionnaires, and followed these steps for the sequential selection of fish sauce industrial processes. The application of this decision approach started by pair-wise comparison each criterion which affected to the decrease of GHG release. Next, pair-wise comparison of fish sauce production processes. This pair-wise comparison must be weight in order to determine the priorities and analyzed for ranking the processes. The results can be an important baseline to reduce the GHG emissions in the future. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมอุตสาหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46057 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.802 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2014.802 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5570460321.pdf | 4.87 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.