Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46131
Title: | ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายแก้ปัญหาหนี้นอกระบบไปปฏิบัติ |
Other Titles: | FACTORS AFFECTING OUTLAW DEBT POLICY IMPLEMENTATION |
Authors: | รจนา อินคง |
Advisors: | วันชัย มีชาติ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | Wanchai.Me@Chula.ac.th,wanchaimeechart@gmail.com |
Subjects: | หนี้ การเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา การนำนโยบายไปปฏิบัติ Debt Usury Policy implementation |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบายและแนวทางในการนำนโยบายแก้ปัญหาหนี้นอกระบบไปปฏิบัติ ปัญหาอุปสรรคในการนำนโยบายแก้ปัญหาหนี้นอกระบบไปปฏิบัติ และปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายแก้ปัญหาหนี้นอกระบบไปปฏิบัติ โดยการศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การวิจัยเอกสาร และสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้ที่เกี่ยวข้องกับการนำนโยบายแก้ปัญหาหนี้นอกระบบไปปฏิบัติ จำนวน 16 คน ผลการศึกษาวิจัยพบว่า รัฐบาลในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2547-2556) กำหนดนโยบายแก้ปัญหาหนี้นอกระบบในรูปโครงการต่างๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ทั้งนี้ในการนำนโยบายแก้ปัญหาหนี้นอกระบบไปปฏิบัติไม่มีหน่วยงานเจ้าภาพหลัก รัฐบาลดำเนินการผ่านหน่วยงานชั่วคราวในรูปคณะกรรมการ และศูนย์ประสานงานซึ่งเป็นการผนึกกำลังของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำนโยบายแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบไปปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน แม้ว่ารัฐบาลจะให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ และมีหน่วยงานเข้ามาเกี่ยวข้องจำนวนมาก แต่การนำนโยบายแก้ปัญหาหนี้นอกระบบไปปฏิบัติกลับไม่ประสบผลสำเร็จ ทั้งนี้เนื่องมาจากปัญหาต่างๆ ได้แก่ 1) ปัญหาหนี้นอกระบบมีความซับซ้อนและยากต่อการแก้ไข 2) ลักษณะของตัวนโยบายขาดความเหมาะสม 3) ไม่มีหน่วยงานเจ้าภาพหลัก 4) ผู้ปฏิบัติขาดความเชี่ยวชาญในการแก้ปัญหาและขาดความผูกพันต่อนโยบาย 5) ลูกหนี้และเจ้าหนี้ไม่เปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมการก่อหนี้ 6) การเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ค่านิยมบริโภคนิยม และการใช้นโยบายประชานิยมของรัฐบาล และ 7) ขาดการติดตามประเมินผลนโยบายที่เหมาะสม ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายแก้ปัญหาหนี้นอกระบบไปปฏิบัติ ประกอบด้วย 1) ปัจจัยด้านความสามารถในการจัดการปัญหา 2) ปัจจัยด้านลักษณะของนโยบาย 3) ปัจจัยด้านลักษณะหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติ 4) ปัจจัยด้านผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ 5) ปัจจัยด้านทัศนคติและพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย 6) ปัจจัยด้านสภาพเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง และ 7) ปัจจัยด้านการติดตามประเมินผลนโยบาย นอกจากนี้ปัจจัยดังกล่าวยังมีความสัมพันธ์ระหว่างกันซึ่งสามารถจัดกลุ่มปัจจัยได้ 3 กลุ่ม ได้แก่ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ปัจจัยด้านกระบวนการ และปัจจัยด้านการประเมินผล ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำนโยบายแก้ปัญหาหนี้นอกระบบไปปฏิบัติควรตระหนักถึงความสำคัญและทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายแก้ปัญหาหนี้นอกระบบไปปฏิบัติอย่างชัดเจน เพื่อนำองค์ความรู้ไปใช้ในการวิเคราะห์และออกแบบแนวทางที่เหมาะสมต่อการนำนโยบายแก้ปัญหาหนี้นอกระบบไปปฏิบัติให้ประสบผลสำเร็จต่อไป |
Other Abstract: | The purposes of this study are to study implementing policy on informal debt, to study implementing policy on informal debt’s problems, and to study factors affecting success in implementing policy on informal debt. This research is a qualitative research based on document study and in-depth interview of 16 key informants who are involved in informal debt policy implementation. The results showed that the government, over the past 10 years (2004-2013), set up informal debt policy in various projects. The purposes of these projects are to resolve informal debt problems. Informal debt policy was practiced by setting up a temporary agency in a form of committee, coordinating center and government agencies. Although the government gives priority to the informal debt problems solving by having many agencies involve in policy implementation, the implementing policy is not successful because of the following seven problems; 1) the informal debt problems are complex and difficult to resolve, 2) the lack of appropriate policies, 3) there is no primary agency responsible for the policy, 4) the lack of expertise and policy commitment, 5) debtor and creditor do not change attitudes and behavior towards debt incurring, 6) economic crisis, consumerism values, and populist policies and 7) the lack of appropriate policy monitoring and evaluation. The research found seven factors that affect implementing policy on informal debt including: 1) problem-solving ability, 2) informal debt policy characteristics, 3) characteristics of the implementing agencies, 4) attitudes and commitment of implementers, 5) target groups compliance with policy outputs, 6) economic, social, and political conditions, and 7) policy monitoring and evaluation. Moreover, there are relationship among the seven factors that can be put in three groups, which are environmental factors, process factors, and evaluation factors. All the relevant agencies that carry out informal debt policy implementation should clearly recognize the seven factors affecting success in implementing policy on informal debt, in order to analyze and design appropriate guidelines for successful implementation. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | รัฐประศาสนศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46131 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.848 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2014.848 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pol - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5580622324.pdf | 4.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.