Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46224
Title: พฤติกรรมผู้ซื้อทรัพย์รอการขาย : กรณีศึกษา ผู้เข้าชมทรัพย์รอการขายของสถาบันการเงินในงานบ้านและคอนโดปี2557
Other Titles: Behaviour of People Who Buy Non-Performance Assets (NPA): A Case Study of People Who Attended an NPA Booth at a Housing and Condominium Fair
Authors: ศักดิ์สิทธิ์ มิตรเจริญถาวร
Advisors: ยุวดี ศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Yuwadee.S@chula.ac.th
Subjects: พฤติกรรมผู้บริโภค
การย้ายที่อยู่อาศัย
การซื้อบ้าน
Consumer behavior
Relocation (Housing)
House buying
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จากวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ส่งผลให้ผู้ที่มีหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ต่อธนาคารหรือสถาบันการเงินได้ ปัญหาหนี้เสียหรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้จึงมีจำนวนมากโดยส่วนใหญ่เป็นอสังหาริมทรัพย์ที่มาจำนองไว้เป็นหลักประกัน เมื่อมีจำนวนมากขึ้นสถาบันการเงินต้องหาวิธีการระบายเพื่อให้เกิดสภาพคล่องด้วยวิธีการนำทรัพย์ออกขายหรือให้เช่า จากการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นพบว่าในปี 2557 สถาบันการเงินมีทรัพย์รอการขายอยู่จำนวนกว่า 95,000 ล้านบาท เมื่อเทียบสถิติพบว่าสถาบันการเงินส่วนใหญ่สามารถขายได้ 1ใน4 ของจำนวนทรัพย์รอการขายทั้งหมดหรือประมาณ 2,375 ล้านบาท ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจที่จะหาแนวทางในการขายทรัพย์เหล่านี้ให้มากขึ้นโดยศึกษาพฤติกรรมและทัศนคติ เหตุผลและการวางแผน ของผู้สนใจซื้อทรัพย์รอการขายจากในงานบ้านและคอนโดโดยการแจกแบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 395 คน ได้ผลวิจัยดังนี้ จากการศึกษาข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างพบว่า ส่วนใหญ่ผู้ที่ต้องการซื้อทรัพย์รอการขายนั้นมีอายุอยู่ในช่วง 20-30 ปี มีบ้านพักอาศัยของตนเองคือที่อยู่อาศัยรวม รายได้พอเหมาะกับราคาของทรัพย์ที่สนใจ ที่มีรายได้อยู่ในช่วง 30,000-60,000 บาท ต่อบ้านราคา 1-2 ล้านบาท สนใจทำเลใกล้ที่ทำงาน ต้องการรูปแบบทรัพย์เป็นบ้านเดี่ยว มีการศึกษาทรัพย์รอการขายมาประมาณ 1-2 เดือนก่อนมางานบ้านและคอนโดโดยส่วนใหญ่อยากเสนอให้ธนาคารซ่อมแซมทรัพย์เสร็จก่อนขาย เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบที่สนใจกับตัวแปรต่างๆพบว่า ตัวแปรส่วนใหญ่มีความสนใจที่จะซื้อทรัพย์รอการขายรูปแบบบ้านเดี่ยวมากที่สุด นอกจากนั้นผู้ที่มีรูปแบบที่อยู่อาศัยเป็นบ้านเดี่ยวและที่อยู่อาศัยรวมมีความต้องการที่จะซื้อบ้านเดี่ยวมากที่สุดและคอนโดมิเนียม ซึ่งจะต่างจากผู้ที่มีที่อยู่อาศัยเป็นทาวน์เฮาส์ สนใจที่จะซื้อบ้านเดี่ยวมากที่สุด รองลงมาคือทาวน์เฮาส์ และคอนโดมิเนียม นอกจากนั้นจุดประสงค์ในการซื้อทรัพย์รอการขายส่วนใหญ่ ผู้ที่ซื้อเพื่ออยู่อาศัยมีรูปแบบทรัพย์รอการขายที่สนใจคือบ้านเดี่ยวมากที่สุด รองลงมาคือทาวน์เฮาส์ และคอนโดมิเนียม ส่วนผู้ที่มีจุดประสงค์ซื้อทรัพย์รอการขายเพื่อลงทุนมีความสนใจในรูปแบบคอนโดมิเนียมมากที่สุด รองลงมาคือบ้านเดี่ยว และ ทาวน์เฮาส์ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบระหว่างจุดประสงค์ในการซื้อนั้น สามารถสรุปได้ว่ามีรูปแบบที่สนใจต่างกันระหว่างซื้อเพื่ออยู่อาศัยและซื้อเพื่อลงทุน การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างจุดประสงค์ในการซื้อทรัพย์รอการขายกับตัวแปรต่างๆพบว่า ผู้ที่มีรายได้อยู่ที่ 30,000-60,000 ต้องการซื้อเพื่ออยู่อาศัย แต่จากรายได้ที่เพิ่มขึ้นคือ 61,000-500,000 บาท พบว่ามีความต้องการในด้านการลงทุนมากขึ้นเพิ่มขึ้นตามรายได้แต่ความต้องการที่จะซื้อเพื่ออยู่อาศัยกลับลดลงตามจำนวนรายได้ที่มากขึ้นทำให้เห็นว่าผู้ที่ซื้อทรัพย์รอการขายนั้นมีกลุ่มผู้ที่สนใจลงทุนเข้ามาสนใจด้วยนอกจากกลุ่มที่ซื้อเพื่ออยู่อาศัยเท่านั้น นอกจากนั้นรายได้และราคาที่สนใจมีลำดับที่สัมพันธ์กันคือ ผู้ที่สนใจทรัพย์ในราคา 1-2 ล้านบาท มีรายได้อยู่ในช่วง 30,000-60,000 บาท และจากรายได้เพิ่มมากขึ้นคือ 110,000-300,000 บาท มีความสนใจทรัพย์ในราคา 2-3 ล้านบาท และผู้มี่มีรายได้มากกว่า 5 แสน สนใจทรัพย์ในราคาที่มากกว่า 4 ล้านบาท จากผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า ผู้ที่สนใจนั้นมีรายได้เพียงพอต่อราคาที่สนใจ มีบ้านเป็นของตนเอง ต้องการที่จะขยายบ้านจากที่อยู่อาศัยรวมไปบ้านเดี่ยวมีทำเลที่ต้องการคือใกล้ที่ทำงานโดยส่วนใหญ่มีการศึกษาทรัพย์รอการขายมาก่อนแล้วที่จะมาชมงาน 1-2 เดือน แต่ที่ไม่ตัดสินใจเพราะยังติดขัดเรื่องสภาพทรัพย์และต้องการซ่อมแซมเสร็จก่อนขาย นอกจากนี้ผู้วิจัยยังพบว่ามีผู้ซื้ออีกจำนวนหนึ่งประมาณร้อยละ 43 ที่ต้องการซื้อทรัพย์รอการขายเพื่อการลงทุน
Other Abstract: In the 1997 financial crisis, financial liquidity was not good, resulting in non-performance loans, which were mortgages for immovable property. Financial institutions, had to make such properties available for sale or rent to create liquidity. According to the primary data, in 2014 the financial institutions had properties for sale worth more than 95,000 million baht and a quarter of them worth 2,375 million baht were sold. The researcher aims to explore the guidelines for selling those properties by studying behaviors and attitudes, reasons and plans of those who are interested in owning such properties and attended a housing and condominium fair through a questionnaire. There were 395 respondents. It was found that most of the respondents who would like to buy a residential unit are between 20 and 30 years old and have accommodation already but currently live with other people. They earn 30,000 -60,000 baht a month and they can afford a house worth 1 -2 million baht. They prefer a detached house that is near their offices. They have researched these properties for 1 -2 months before attending this event and generally suggest that the financial institutions renovate the properties before selling them. According to an analysis of the relationship between the type of accommodation and other factors, a detached house is the most preferable, followed by a condominium among the respondents that live in a detached house or live with other people, while those living in a townhouse prefer a detached house most, followed by a townhouse and a condominium. They would like to buy accommodation to use as a residential unit. The most preferable property is a detached house, followed by a townhouse and a condominium, while those who would like to buy accommodation for investment purposes tend to prefer a condominium most, followed by a detached house and a townhouse. It can be concluded that the purposes can be divided into two types: living and investment. According to an analysis of the relationship between the purposes of buying these properties, those who earn 30,000-60,000 baht would like to buy a property for living while those who earn 61,000 500,000 baht would buy for investment. Those who earn more would like to buy a property for investment but those who earn less would like to buy a property for living. Those who earn 110,000-300,000 baht are interested in a property worth 2-3 million baht while those who earn more than 500,000 baht are interested in a property worth more than 4 million baht. It can be concluded that those who would like to buy a property can earn enough to afford it. Some have already had their own residence but would like to relocate to a detached house that is close to their office. Most of them have researched the properties on sale for 1-2 months before attending the event but they want the property to be renovated and it is offered on the market. About 43% of the respondents would like to buy a property for investment.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46224
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1103
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1103
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5673350625.pdf5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.