Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46226
Title: ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมต่อชุมชนจากการถูกโยกย้ายที่อยู่อาศัยในโครงการก่อสร้างสนามบินหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Other Titles: SOCIAL AND ECONOMIC IMPACTS ON RELOCATED COMMUNITIES IN LUANG PRABANG AIRPORT DEVELOPMENT PROJECT, Lao PDR
Authors: เอียย่าง ต่งเช่ง
Advisors: ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Nattapaong.P@chula.ac.th
Subjects: การเวนคืนที่ดิน -- ลาว -- หลวงพระบาง
การย้ายที่อยู่อาศัย -- ลาว -- หลวงพระบาง
การตั้งถิ่นฐาน -- ลาว -- หลวงพระบาง
ชุมชน -- ลาว -- หลวงพระบาง
Eminent domain -- Laos -- Laung Prabang
Relocation (Housing) -- Laos -- Laung Prabang
Land settlement -- Laos -- Laung Prabang
Communities -- Laos -- Laung Prabang
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โครงการก่อสร้างสนามบินหลวงพระบางแห่งใหม่เริ่มปี พ.ศ. 2552 และเสร็จสิ้นปี พ.ศ.2556 ได้ส่งผลกระทบต่อชุมชน 6 แห่งที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่โครงการ โดยมีจำนวน 423 ครัวเรือนถูกเวนคืนที่ดินและโยกย้ายที่อยู่อาศัยไปอยู่รวมกันในพื้นใหม่ การโยกย้ายที่อยู่อาศัยดำเนินการโดยไม่คำนึงถึงวิถีชีวิตเดิมของชุมชน โดยเห็นได้จากที่ตั้งใหม่อยู่ห่างไกลจากแหล่งงานและสาธารณูปการสำคัญที่ชุมชนเคยใช้ประโยชน์ อาทิ วัด โรงเรียน ตลาด และไม่มีการสร้างสาธารณูปการใหม่ขึ้นทดแทน นอกจากนั้นยังลดขนาดแปลงที่ดินของที่อยู่อาศัยลงและจัดให้ผู้อยู่อาศัยจากทั้ง 6 ชุมชนอยู่ปะปนกัน งานวิจัยชิ้นนี้จึงมุ่งศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีต่อชุมชนที่ถูกโยกย้ายที่อยู่อาศัยและศึกษาทัศนคติของชุมชนที่มีต่อกระบวนการโยกย้ายที่อยู่อาศัยโดยหน่วยงานรัฐ เพื่อค้นหาแนวทางช่วยเหลือให้แก่ชุมชนและเสนอแนะแนวทางการโยกย้ายที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมให้แก่หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการพัฒนาเมืองอื่น ๆ ต่อไป ผู้วิจัยได้ทำการสัมภาษณ์และทำแบบสอบถามกับชุมชนจำนวน 205 ครัวเรือน พบว่าชุมชนได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจคือรายได้โดยรวมของชุมชนลดลงเพราะที่ใหม่อยู่ห่างไกลจากตลาด ทำเลที่ตั้งไม่เอื้อต่อการค้าขายและที่ดินอยู่อาศัยใหม่มีขนาดเล็กลงจนไม่สามารถปลูกผักเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นรายได้เสริม ส่วนรายจ่ายสูงขึ้นเนื่องจากต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำงานและเดินทางไปใช้สาธารณูปการต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ส่วนผลกระทบทางสังคมพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนบ้านที่สนิทและเคยให้ความช่วยเหลือกันลดลงหลังการโยกย้าย ความถี่การประกอบกิจกรรมทางศาสนาลดลงทั้งในระดับส่วนบุคคลและชุมชน และยังพบว่าชุมชนส่วนใหญ่ไม่พึงพอใจต่อการดำเนินการของภาครัฐ แม้ว่าชุมชนจะมีความพยายามลดผลกระทบด้านต่าง ๆ ร่วมกันแล้วก็ตาม แต่ยังต้องการความช่วยเหลือจากภาครัฐโดยการสร้างสาธารณูปการที่จำเป็นในพื้นที่อยู่อาศัยใหม่เพื่อลดภาระในการเดินทาง จัดสรรที่ดิน และวางผังที่อยู่อาศัยให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและการประกอบอาชีพเดิมของชุมชน จัดหาบริการการขนส่งทางสาธารณะที่เชื่อมโยงกับพื้นทำงานในเมืองเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และควบคุมการเก็งกำไรที่ดินสนับสนุนให้เกิดการขยายตัวของชุมชนใหม่ เป็นต้น
Other Abstract: Luang Prabang new airport project started construction in 2009 and was completed in 2013. The project impacted on 6 communities around the Project site. Consequently, 423 households had to be relocated to new residential areas. The relocation undertaken by government of Luang Prabang was done without regard for communities’ lifestyle. The re-location of the communities is a long way from places of employment and from main public community facilities such as temples, schools and markets. Unfortunately, the government did not provide any new facilities for the new communities. In addition, the government has scaled down land plots and mixed up the residents from 6 communities into new residential areas without any consideration. This study aims to evaluate the social and economic impact on the communities that have been evacuated by the Luang Prabang new airport project and to propose guidelines to help those communities. Researchers conducted interviews and completed questionnaires from 205 households in the target communities. We found that the communities have been badly affected by the economic impact, due to the decrease in household income and the increase in living expenses. The income decrease is due to the location of new communities being a long way from economic activity and a lack of potential for retail business. The expenses increase is due to the cost of transportation for accessing worksites and daily facilities. There has also been a social impact which has hit the relocated communities. We found that the relationship between close neighbors is broken. In addition, the frequency of religious activities also declined at both the individual and the community level. The majority of people are not satisfied with governmental process on the relocation project. So, government should also provide support. This could be by providing daily provide public transport services to work areas in the central city and to also encourage development projects into the area.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางแผนภาคและเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46226
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1104
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1104
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5673361525.pdf10.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.