Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46234
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรฤทธิ์ เลิศสุวรรณเสรีen_US
dc.contributor.authorชนินทร์ พีระบูลen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-18T04:23:23Z-
dc.date.available2015-09-18T04:23:23Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46234-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractที่มาและเหตุผล: มีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันที่ต้องรักษาด้วยการใส่ขดเลือดหลอดเลือดหัวใจที่มีภาวะหัวใจห้องบนเต้นพลิ้วร่วมจำนวนไม่น้อย ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องได้รับยาละลายลิ่มเลือดและยาต้านเกล็ดเลือดร่วมกัน แต่การให้ยาสองกลุ่มนี้ร่วมกันนั้นจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกมากขึ้น แต่ในปัจจุบันยังไม่มีแนวทางการใช้ยาสองกลุ่มนี้ร่วมกันที่ชัดเจน จุดประสงค์: เพื่อศึกษาผลรวมอัตราการเกิด death, MI, stroke, stent thrombosis และ target vessel revascularization และอัตราการเกิดเลือดออกในเวลา 1 ปีของผู้ป่วยโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ภายหลังการใส่ขดลวดหลอดเลือดหัวใจ ที่ได้รับยา aspirin และ clopidogrel และ/หรือ warfarin วิธีการวิจัย: ทบทวนเวชระเบียนทั้งจากแผนกผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในของโรงพยาบาจุฬาลงกรณ์ที่ได้รับวินิจฉัยตาม ICD10 I48 (atrial fibrillation) และ ICD9 3606 (BMS) หรือ 3607(DES) ในช่วงเวลา 10 ปี ตั้งแต่เดือนมกราคม 2547 ถึงเดือนธันวาคม 2556 ผลการศึกษาหลัก คือ ผลรวมอัตราการเกิด death, MI, stroke, stent thrombosis และ target vessel revascularization ของผู้ป่วยที่ได้รับยา aspirin, clopidogrel และ/หรือ warfarin ในเวลา 1 ปีภายหลังได้รับยา ผลการศึกษารอง คือ อัตราการเกิดเลือดออกของผู้ป่วยที่ได้รับยา aspirin, clopidogrel และ/หรือ warfarin ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 142 คน แบ่งเป็น กลุ่มที่ได้รับยา 3 ชนิดได้แก่ aspirin clopidogrel และ warfarin28 คน กลุ่มที่ได้รับยา 2 ชนิดได้แก่ aspirin และ clopidogrel 107 คน อายุเฉลี่ย 70.97 ปี เพศชาย 70% ค่าเฉลี่ย CHA2DVAS2C = 2.95 มีการใส่ขดลวดชนิด DES 69.01% เมื่อเปรียบเทียบผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มพบว่า กลุ่มที่ได้รับยา 3 ชนิด มีโรคหลอดเลือดสมองอุดตันมากกว่า (35.71 vs 13.08%, P = 0.01) ผู้ป่วยเป็น valvular AF มากกว่า (17.86% vs 6.3%, P = 0.01)และผู้ป่วยเป็น permanent AF มากกว่า (39.29% vs 19.63%, P = 0.024) ผลการศึกษาหลักของผู้ป่วยที่ได้รับยา 3 ชนิดและ 2 ชนิด เท่ากับ 21.78% และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างผู้ป่วยที่ได้รับยา 3 ชนิดและผู้ป่วยที่ได้รับยา 2 ชนิด พบว่าผลการศึกษาหลักไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (9.09% vs 22.78%, P value = 0.228) ส่วนอัตราการเกิดเลือดออกของผู้ป่วยที่ได้รับยา 3 ชนิดเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่ได้รับยา 2 ชนิดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน (4.55% vs 5.06%, P value = 1.00) นอกจากนี้ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2552 มีแนวโน้มการใช้ยา 3 ชนิดร่วมกันมากขึ้น สรุป: ผลรวมอัตราการเกิด death, MI, stroke, stent thrombosis และ target vessel revascularization และอัตราการเกิดเลือดออกของผู้ป่วยที่ได้รับยา aspirin, clopidogrel และ warfarin ในเวลา 1 ปี ไม่แตกต่างกับผู้ป่วยที่ได้รับยา aspirin และ clopidogrel แต่อย่างไรก็ดี การศึกษานี้เป็นเพียงการศึกษาแบบย้อนหลัง หากในอนาคตมีการทำการศึกษาแบบไปข้างหน้า อาจจะให้ข้อมูลในการรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ต่อไปen_US
dc.description.abstractalternativeBackground: High numeral of atrial fibrillation patients with coronary artery disease whom require coronary stenting should receive dual antiplatelet therapy and anticoagulant. The optimal antithrombotic strategy in atrial fibrillation patients after undergoing coronary stentings is unclear. Objectives: To determine composite endpoints of cardiovascular event and bleeding incidence of triple antithrombotic therapy (TT) and dual antiplatelet therapy (DAPT) in atrial fibrillation patients undergoing coronary stentings in 1-year-follow-up. Methods: By used of a retrospective analysis of all coronary stentings and atrial fibrillation patients reviewed between January 2004 - December 2013.Primary outcome was composite endpoints of death, MI, stroke, stent thrombosis and target vessel revascularization. Secondary outcome was bleeding incidence. Results: 142 patients were reviewed, 28 received TT and 107 received DAPT. Mean age was 70.97. 70% were Male. Mean CHA2DVAS2C = 2.95. DES was placed 69.01%. The TT group had more previous stroke (35.71 vs 13.08%, P = 0.01), more valvular AF (17.86% vs 6.3%, P = 0.01) and more permanent AF (39.29% vs 19.63%). Composite endpoints in TT and DAPT groups was 21.78%. Neither primary outcome nor secondary outcome statistically differed between TT and DAPT groups. Composite endpoints in TT and DAPT (9.09% vs 22.78%, P value = 0.228). Bleeding incidence in TT and DAPT (4.55% vs 5.06%, P value = 1.00). TT trended to increase after 2009. Conclusion: Triple therapy was not superior compared to DAPT in reducing cardiovascular events in atrial fibrillation patients with coronary stenting. Bleeding incidence resembled in both therapy groups. However, this is retrospective study. Further prospective randomized control trial would answer the optimal antithrombotic therapy in these patient subset.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1111-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเอเตรียลฟิบริลเลชัน -- เคมีบำบัด
dc.subjectหลอดเลือดโคโรนารีย์ -- โรค -- เคมีบำบัด
dc.subjectAtrial fibrillation -- Chemotherapy
dc.subjectCoronary heart disease -- Chemotherapy
dc.subjectFibrinolytic agents
dc.subjectThrombolytic therapy
dc.titleการศึกษาอัตราการเกิดคาร์ดิโอวาสคูล่าอีเว้นท์ในผู้ป่วยโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วและใส่ขดลวดหลอดเลือดหัวใจที่ได้รับยาต้านเกล็ดเลือดสองชนิดหรือยาต้านการแข็งตัวของเลือดสองชนิดและยาวาร์ฟารินระหว่างปีพุทธศักราช 2547 - 2556 ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์en_US
dc.title.alternativeCARDIOVASCULAR EVENTS STUDY OF DUAL ANTIPLATELET OR TRIPLE ANTITHROMBOTIC THERAPY IN ATRIAL FIBRILLATION PATIENTSUNDERGOING CORONARY STENTING DURING 2004 - 2013AT KING CHULALONGKORN MEMORIAL HOSPITALen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorvorarit@yahoo.com,vorarit@yahoo.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.1111-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5674022030.pdf2.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.