Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46237
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชูศักดิ์ ลิโมทัยen_US
dc.contributor.advisorทายาท ดีสุดจิตen_US
dc.contributor.authorโชติวุฒิ ตันศิริสิทธิกุลen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-18T04:23:24Z-
dc.date.available2015-09-18T04:23:24Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46237-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractบทนำ: ภาวะชักที่เกิดภายหลังโรคหลอดเลือดสมองจัดเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญในเวชปฏิบัติอย่างไรก็ตามข้อมูลการศึกษาด้วยการตรวจติดตามคลื่นไฟฟ้าสมองอย่างต่อเนื่องโดยวิธีมาตรฐาน (Continuous EEG Monitoring: CEEG monitoring) เพื่อตรวจหาภาวะชักไร้เกร็งกระตุกภายหลังการเกิดโรคหลอดเลือดสมองอุดตันในระยะเฉียบพลัน (Acute Post-Ischemic Stroke Non-Convulsive Seizure: AIS-NCS) ยังมีข้อมูลการศึกษาในปัจจุบันน้อย วัตถุประสงค์: เพื่อหาความชุก, ปัจจัยเสี่ยงทางคลินิก ของการเกิดภาวะ AIS-NCS และพยากรณ์โรคทางระบบประสาทในผู้ป่วยที่เกิดภาวะ AIS-NCS เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่ตรวจไม่พบภาวะดังกล่าว วัสดุและวิธีการ: การศึกษานี้ทำในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอุดตันระยะเฉียบพลันที่มีอาการเริ่มต้นไม่เกิน 72 ชั่วโมง และมีลักษณะอาการทางคลินิก และหรือการตรวจทางภาพวินิจฉัย บ่งชี้ว่ามีการตายของผิวสมอง (cortical infarction) จากการขาดเลือด ซึ่งได้รับไว้รักษาในหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 60 ราย ผู้ป่วยทุกรายจะได้รับการตรวจ cEEG monitoring เป็นระยะเวลา 24 ชั่วโมง เพื่อหาความชุกของการเกิดภาวะ AIS-NCS รวมถึงการวิเคราะห์หาข้อมูลปัจจัยเสี่ยงทางคลินิก และพยากรณ์โรคทางระบบประสาทของผู้ป่วยในกลุ่มที่มีภาวะ AIS-NCS เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะนี้ ผลการศึกษา: จากผู้ป่วยที่คัดเข้าในการศึกษาจำนวน 60 ราย ไม่พบผู้ป่วยที่มีภาวะ AIS-NCS อย่างไรก็ตามพบว่ามีลักษณะคลื่นไฟฟ้าสมองผิดปกติชนิด Interictal Epileptiform Discharges (IEDs) ในผู้ป่วยจำนวน 13 ราย (คิดเป็นร้อยละ 21.7) โดยพบว่ามีปัจจัยที่สัมพันธ์กับการตรวจพบ IEDs คือ การตรวจพบภาวะสมองบวมเบียดดันเนื้อสมองฝั่งตรงข้าม (midline shift) และการตรวจพบตำแหน่งของเนื้อสมองขาดเลือดมากกว่า 1 เส้น ในแง่พยากรณ์โรคทางระบบประสาทพบว่าการตรวจพบ IEDs สัมพันธ์กับค่าความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมองจากแบบประเมิน NIHSS เมื่อจำหน่าย และความพิการทางระบบประสาทจากแบบประเมิน MRS เมื่อประเมินที่ระยะเวลา 1, 4 และ 12 สัปดาห์ภายหลังเกิดโรคหลอดเลือดสมอง สูงกว่ากลุ่มที่ตรวจไม่พบ IEDs อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติการวิเคราะห์ด้วย Binary logistic regression เพื่อหาปัจจัยที่ช่วยพยากรณ์ความพิการพบว่าการตรวจพบ IEDs บ่งชี้ถึงพยากรณ์โรคที่ไม่ดีที่ระยะเวลา 3 เดือน ภายหลังเกิดโรคหลอดเลือดสมอง [P = 0.01, OR 31.81 (95% CI, 2.31 – 437.255)]. สรุป: ภาวะ AIS-NCS พบได้น้อยมากในผู้ป่วยที่เกิดโรคหลอดเลือดสมองอุดตันในระยะเฉียบพลัน อย่างไรก็ตามลักษณะความผิดปกติทางคลื่นไฟฟ้าสมองชนิด IEDs เป็นปัจจัยพบมีความสัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดสมองที่รุนแรงและพยากรณ์โรคทางระบบประสาทที่ไม่ดีภายหลังการเกิดโรคหลอดเลือดสมองอุดตันen_US
dc.description.abstractalternativeIntroduction: Seizure is an important complication after acute cerebrovascular disease. However, clinical data of acute post-ischemic stroke non-convulsive seizure (AIS-NCS) studied by standard continuous EEG monitoring (CEEG monitoring) is scarce. Objective: This present study aims to determine the prevalence and risk factors of AIS-NCS among patients with acute ischemic stroke. The neurological outcomes of these patients will be compared with the patients without this condition. Method: Eligible patiens in King Chulalongkorn Memorial Hospital had been consecutively recruited in a prospective fashion during period between December, 2013 and November, 2014. These included patients who experienced acute ischemic stroke of cortical type within 72 hours after clinical onset. Standard CEEG monitoring was performed with recording duration of 24 hours. The prevalence, risk factors and neurological outcomes of the patients with AIS-NCS, in comparison with the patients without AIS-NCS, were analysed by SPSS program version 17. Result: There was no AIS-NCS detected among 60 patients which we totally included in this study. However, there were 13 patients (21.7%) had interictal epileptiform discharges (IEDs). The pattern of IEDs was associated with midline shift and infarction with more than one territory. The neurological outcome evaluated by NIHSS score at discharge and MRS score at 1, 4 and 12 weeks after the onset of ischemic stroke, was statistically significant poorer in the patients with AIS-NCS. Binary logistic regression analysis showed that the IEDs is the independent prognostic factors for poor neurological outcome [P = 0.01, OR 31.81 (95% CI, 2.31 – 437.255)] at 12 weeks after the onset of ischemic stroke. Conclusion: AIS-NCS is a very rare complication after acute ischemic stroke. However, the IEDs discovered by CEEG monitoring during acute period of ischemic stroke of cortical type is related to the severity of stroke and is the independent risk factor for poor immediate neurological outcome at 12 weeks after acute ischemic stroke.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1114-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการชัก
dc.subjectโรคหลอดเลือดสมอง
dc.subjectลมบ้าหมู
dc.subjectการบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง
dc.subjectConvulsions
dc.subjectCerebrovascular disease
dc.subjectEpilepsy
dc.subjectElectroencephalography
dc.titleความชุกและผลกระทบต่อระบบประสาทที่เกิดจากอาการชักโดยใช้การตรวจติดตามคลื่นไฟฟ้าสมองอย่างต่อเนื่องในผู้ป่วยหลังเกิดโรคหลอดเลือดสมองอุดตันระยะเฉียบพลันen_US
dc.title.alternativePREVALENCE AND NEUROLOGICAL IMPACTS OF POST-ISCHEMIC STROKE IMMEDIATE SEIZURES IDENTIFIED BY CONTINUOUS EEG MONITORINGen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorChusak.L@chula.ac.th,chuneuro@yahoo.comen_US
dc.email.advisorTayard.D@Chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.1114-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5674027130.pdf2.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.