Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46243
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรัศมน กัลยาศิริen_US
dc.contributor.authorเอษรา วสุพันธ์รจิตen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-18T04:23:26Z
dc.date.available2015-09-18T04:23:26Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46243
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการติดสื่อสังคมออนไลน์เป็นปัญหาการติดทางพฤติกรรมที่พบได้ในวัยรุ่นไทย การใช้เวลาคุณภาพเป็นปัจจัยซึ่งช่วยป้องกันพฤติกรรมเสพติดได้ อย่างไรก็ตามในประเทศไทยยังไม่พบการศึกษาความเกี่ยวข้องระหว่างการใช้เวลาคุณภาพในครอบครัวและการติดสื่อสังคมออนไลน์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาการใช้เวลาคุณภาพในครอบครัว การติดสื่อสังคมออนไลน์ และปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยให้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 348 คนจาก 6 โรงเรียนตอบแบบสอบถามซึ่งประกอบด้วย แบบเก็บข้อมูลทั่วไป แบบทดสอบการติดสื่อสังคมออนไลน์ และ แบบวัดการใช้เวลาคุณภาพในครอบครัว ใช้สถิติเชิงพรรณาในการบรรยายข้อมูลทั่วไป ใช้สถิติ t-test, ANOVA และ Chi-square ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้เวลาคุณภาพในครอบครัว และการติดสื่อสังคมออนไลน์ รวมถึงใช้การวิเคราะห์การวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุ (multivariate logistic regression) เพื่อวิเคราะห์หาปัจจัยทำนายการใช้เวลาคุณภาพในครอบครัวในระดับต่ำและการติดสื่อสังคมออนไลน์ ผลการศึกษา พบว่า จากนักเรียน 348 คน มีการใช้เวลาคุณภาพอยู่ในระดับปานกลาง สูง และต่ำ คิดเป็นร้อยละ 48.9, 34.2 และ 17.0 ตามลำดับ และอยู่ในกลุ่มไม่ติดสื่อสังคมออนไลน์ คลั่งไคล้ และติดสื่อสังคมออนไลน์ คิดเป็นร้อยละ 38.2, 33.9 และ 27.9 ตามลำดับ นอกจากนี้ พบว่า ระดับผลการเรียนเฉลี่ยที่ต่ำ สถานภาพสมรสระหว่างบิดากับมารดาแบบหย่าร้างหรือแยกกันอยู่ และระยะเวลาต่อสัปดาห์ที่ใช้ร่วมกับผู้ปกครองหลักสัมพันธ์กับการใช้เวลาคุณภาพในครอบครัว ขณะที่ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดสื่อสังคมออนไลน์ ได้แก่ การใช้เวลาคุณภาพในครอบครัวในระดับต่ำ ศึกษาในระดับชั้นเรียนที่สูงกว่า ใช้สมาร์ทโฟน และใช้เวลาในการเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์นาน จากการวิจัยจึงควรส่งเสริมให้ผู้ปกครองเกิดความตระหนักถึงความสำคัญจัดสรรเวลาคุณภาพในครอบครัว ดูแลพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนและระยะเวลาในการเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ของวัยรุ่น รวมถึงส่งเสริมกิจกรรมทางเลือกอื่นที่นอกเหนือจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อป้องกันปัญหาการติดต่อไปen_US
dc.description.abstractalternativeSocial media addiction (SMA), a form of behavior addiction, is a common problem among Thai adolescents. Quality family time (QT) is one of preventing factor on addiction. However, there are no studies that investigate association between QT and SMA in Thailand. This study was a cross-sectional descriptive study to study QT, SMA and related factors in junior high school students in Bangkok Metropolitan Schools. This study recruited 348 students from six schools to complete three questionnaires including socio-demographic characteristics, Social Media Addiction Test (SMAT) and Quality Family Time Assessment. Descriptive statistics were used to estimate demographic characteristics. T-test, ANOVA and Chi-square test were used with an alpha level of 0.05 to examine the association from each variable to QT and SMA. Then, the multivariate logistic regression was used to analyze how each variable predict the occurrence of low QT and SMA. From 348 students, 17.0%, 48.9% and 34.2% of students had poorer, moderate and higher QT respectively. Moreover, 38.2%, 33.9% and 27.9% of students had non-addicted, almost addicted and addicted to social media (SM) respectively. The statistically significant factors that predict the occurrence of low QT were low grade point average (GPA), parental divorce and spending less time with parents. The students with SMA were more likely to have low QT, study in higher classes, use smartphone and spending more time on SM. From this result, we should encourage parents to spend more QT and operate their child's smartphone and SM using. Moreover, we should encourage adolescents to have alternative activities beside SM using to prevent them from the addiction.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1119-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการติดสื่อสังคมออนไลน์ -- ไทย -- กรุงเทพฯ
dc.subjectครอบครัว -- ไทย
dc.subjectSocial media -- Thailand -- Bangkok
dc.subjectDomestic relations -- Thailand -- Bangkok
dc.titleเวลาคุณภาพในครอบครัวและการติดสื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeQUALITY FAMILY TIME AND SOCIAL MEDIA ADDICTION OF LOWER SECONDARY SCHOOL STUDENTS IN BANGKOK METROPOLITAN SCHOOLen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineสุขภาพจิตen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorrasmon.k@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.1119-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5674099330.pdf2.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.