Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46245
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชุษณา สวนกระต่ายen_US
dc.contributor.authorสุรีพร แซ่เล่าen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-18T04:23:26Z-
dc.date.available2015-09-18T04:23:26Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46245-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: ปัจจุบันในผู้ป่วยวิกฤตและผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัดมีความจำเป็นต้องใส่สายสวนหลอดเลือดดำเพิ่มมากขึ้น ซึ่งนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนและการเสียชีวิตที่สัมพันธ์กับการใส่สายสวนหลอดเลือดดำที่เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน การใช้น้ำยาฆ่าเชื้อที่ผิวหนังก่อนการใส่สายสวนหลอดเลือดดำเป็นหนึ่งในห้ามาตรการสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อที่สัมพันธ์กับการใส่สายส่วนหลอดเลือดดำอย่างไรก็ตามปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างน้ำยาฆ่าเชื้อชนิด 2% คลอเฮ็กซิดีนใน 70% เอทานอลและ 5% โพวิโดนไอโอดีนใน 70% เอทานอลเพื่อป้องกันการพบเชื้อที่สะสมรวมกลุ่มบริเวณปลายใส่สายสวนหลอดเลือดดำและการติดเชื้อที่สัมพันธ์กับการใส่สายส่วนหลอดเลือดดำ ผู้ป่วยและวิธีวิจัย: การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมเปรียบเทียบทำในสองหอผู้ป่วยอายุรกรรมวิกฤตและหกหอผู้ป่วยอายุรกรรมทั่วไป โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตั้งแต่วันที่ 1 เดือนเมษายน พ.ศ.2557 ถึงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ.2558 คัดเลือกผู้ป่วยในแผนกอายุรกรรมที่อายุมากกว่า 18 ปี ที่ได้รับการใส่สายสวนหลอดเลือดดำ โดยน้ำยาฆ่าเชื้อ 2% คลอเฮ็กซิดีนใน 70% เอทานอลหรือ5%โพวิโดนไอโอดีนใน 70% เอทานอลจะถูกสุ่มใช้ในแต่ละหอผู้ป่วยอายุรกรรมกฤตและอีกสามหอผู้ป่วยอายุรกรรมทั่วไปที่มีลักษณะหอผู้ป่วยที่เหมือนกันทั้งสองกลุ่ม และทำการเปรียบเทียบอัตราการพบเชื้อสะสมรวมกลุ่มบริเวณปลายใส่สายสวนหลอดเลือดดำระหว่างสองกลุ่ม ผลการวิจัย: ผู้ป่วยทั้งหมด 427 ราย มีการใส่สายสวนหลอดเลือดดำทั้งหมด 535 ครั้ง โดยกลุ่มที่ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อชนิด 2% คลอเฮ็กซิดีนใน 70% เอทานอลมี 270 ครั้งและกลุ่มที่ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ 5% โพวิโดนไอโอดีนใน 70% เอทานอล 265 ครั้งในระหว่างทำการศึกษา ผู้ป่วยในสองกลุ่มมีอายุ เพศ โรคประจำตัว ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล ตำแหน่งที่ใส่สายสวนหลอดเลือดดำ เหตุผลที่ใส่เหมือนกัน พบว่าการพบเชื้อที่สะสมรวมกลุ่มที่ปลายสายสวนหลอดเลือดดำเท่ากันในระหว่างสองกลุ่ม ร้อยละ 2.22 (6 ใน 270 ครั้ง หรือคิดเป็น 1.012 ต่อ 1,000 วันที่ใส่สายสวนหลอดเลือดดำ) ในกลุ่มน้ำยาฆ่าเชื้อ 2% คลอเฮ็กซิดีนใน 70% เอทานอล และ ร้อยละ 2.64 (7 ใน 265 ครั้ง หรือคิดเป็น 1.18 ต่อ 1,000 วันที่ใส่สายสวนหลอดเลือดดำ) ในกลุ่มที่ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ5%โพวิโดนไอโอดีนใน 70% เอทานอล [adjusted odds ratio (OR) 1.01; 95% confidence interval (CI) 0.31 to 3.23; P=0.99]. การติดเชื้อสายสวนหลอดเลือดดำร้อยละ 2.96 (8 ใน 270 ครั้ง หรือ 1.36 ต่อ 1,000 วันที่ใส่สายสวนหลอดเลือดดำ) และร้อยละ (5 ใน 259 ครั้ง หรือ 0.84 ต่อ 1,000 วันที่ใส่สายสวนหลอดเลือดดำ)ในกลุ่มน้ำยาฆ่าเชื้อ 2% คลอเฮ็กซิดีนใน 70% เอทานอลและ 5% โพวิโดนไอโอดีนใน 70% เอทานอลตามลำดับ (adjusted OR 0.53; 95% CI 0.16 to 1.76; P=0.3) และไม่แตกต่างในการติดเชื้อที่ทางเข้าสายสวนหลอดเลือดดำระหว่างทั้งสองกลุ่ม ร้อยละ 1.11 (3 ใน 270 ครั้ง หรือ 0.51 ต่อ 1,000 วันที่ใส่สายสวนหลอดเลือดดำ)และ ร้อยละ1.89 (5 ใน 259 ครั้ง หรือ 0.84 ใน 1,000 วันที่ใส่สายสวนหลอดเลือดดำ)ในกลุ่มน้ำยาฆ่าเชื้อ 2% คลอเฮ็กซิดีนใน 70% เอทานอลและ 5% โพวิโดนไอโอดีนใน 70% เอทานอลตามลำดับ (adjusted OR 1.42; 95% CI 0.23 to 6.71; P=0.66). ผลสรุปการวิจัย: ไม่มีความแตกต่างทั้งอัตราการพบเชื้อสะสมรวมกลุ่มบริเวณปลายใส่สายสวนหลอดเลือดดำและการติดเชื้อจากการใส่สายสวนหลอดเลือดดำระหว่างน้ำยาฆ่าเชื้อ 2% คลอเฮ็กซิดีนใน 70% เอทานอลหรือ5% โพวิโดนไอโอดีนใน 70% เอทานอล ในการป้องกันการติดเชื้อที่สัมพันธ์กับการใส่สายสวนหลอดเลือดดำen_US
dc.description.abstractalternativeObjectives: There has been an increasing use of central venous catheter (CVC) in critically ill patients and chemotherapy recipients, leading to substantial CVC-associated morbidity and mortality. A cutaneous antiseptic before CVC insertion is one of the 5 most important recommended bundled strategies to prevent CVC-related infections. However, to our knowledge, there has been no randomized controlled study to compare the effectiveness of 2% chlorhexidine in 70% ethanol and 5% povidone-iodine in 70% ethanol for prevention of the CVC colonization and infection. Patients and methods: A prospective randomized, controlled, assessor-blinded study was carried out in 2 Medicine intensive care units (ICUs) and 8 Medicine wards of King Chulalongkorn Memorial Hospitals, Bangkok, Thailand, from April 1, 2014 to January 31, 2015 in all adult patients aged over 18 years requiring the insertion of at least 1 non-tunneled central venous catheter. Two percent chlorhexidine in 70% ethanol or 5% povidone-iodine in 70% ethanol antiseptic was randomly assigned to each 1 of the 2 ICUs and 3 of the 6 wards when the study began. Depending on the unit and the time the patient was hospitalized, the CVC was inserted and cared for with alcoholic povidone-iodine solution or alcoholic chlorhexidine solution. The primary outcome was aimed to compare the CVC colonization rates between the 2 groups, using the modified intention to treat (ITT) analysis. Results: Of a total of 427 patients, 535 CVCs were included with 270 in the alcoholic chlorhexidine group and 265 in the alcoholic povidone-iodine group during the study period. The patients in the 2 groups were comparable regarding to age, sex, preexisting diseases, length of hospital stay, site and reason of CVC insertion. The CVC colonization rate was 2.22% (6 of 270 CVCs, 1.012 per 1,000 catheter-days) and 2.64% (7 of 265 CVCs, 1.18 per 1,000 catheter-days) in the alcoholic chlorhexidine and alcoholic povidone-iodine group, respectively [adjusted odds ratio (OR) 1.01; 95% confidence interval (CI) 0.31 to 3.23; P=0.99]. The CVC-related bloodstream infection (CRBSI) rate was 2.96% (8 of 270 CVCs, 1.36 per 1,000 catheter-days) and 1.89% (5 of 259 CVCs, 0.84 per 1,000 catheter-days) in the alcoholic chlorhexidine and alcoholic povidone-iodine group, respectively(adjusted OR 0.53; 95% CI 0.16 to 1.76; P=0.3). There was no significant difference regarding the rates of exit-site infection between the alcoholic chlorhexidine group (1.11%, 3 of 270 patients, 0.51 per 1,000 catheter-days) and the alcoholic povidone-iodine group (1.89%, 5 of 259 patients, 0.84 per 1,000 catheter-days) (adjusted OR 1.42; 95% CI 0.23 to 6.71; P=0.66).The results assessed by the per protocol analysis were unchanged from the modified ITT analysis. Conclusions:There was no significant difference in both CVC colonization and CRBSI between 2% chlorhexidine in 70% ethanol and 5% povidone-iodine in 70% ethanol as cutaneous antiseptics before CVC insertion in patients hospitalized in Medicine ICUs and wards.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1120-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสารระงับเชื้อ
dc.subjectพอวิโดนไอโอดีน
dc.subjectการใช้หลอดสวนหลอดเลือดดำ
dc.subjectคลอร์เฮกซิดีน
dc.subjectหลอดเลือดดำ -- การติดเชื้อ -- การป้องกัน
dc.subjectAntiseptics
dc.subjectPovidone-iodine
dc.subjectIntravenous catheterization
dc.subjectChlorhexidine
dc.subjectVeins -- Infection -- Prevention
dc.titleการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมเปรียบเทียบประสิทธิภาพน้ำยาฆ่าเชื้อที่ผิวหนัง2% คลอเฮ็กซิดีนใน 70% เอทานอลและ 5% โพวิโดนไอโอดีนใน 70% เอทานอลเพื่อป้องกันการพบเชื้อที่สะสมรวมกลุ่มบริเวณปลายใส่สายสวนหลอดเลือดดำen_US
dc.title.alternativeA PROSPECTIVE RANDOMIZED CONTROLLED TRIAL OF 2% CHLORHEXIDINEIN 70% ETHANOL, COMPARED WITH 5% POVIDONE-IODINE IN 70% ETHANOLAS CUTANEOUS ANTISEPTICS FOR PREVENTION OF CENTRAL VENOUSCATHETER COLONIZATIONen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorChusana.S@Chula.ac.th,schusana@hotmail.com,csuankratay@gmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.1120-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5674106030.pdf2.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.