Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46296
Title: | กระบวนการสร้างสรรค์วรรณกรรมภาพถ่ายแนวอัตถิภาวนิยมจากนวนิยายของ อัลแบร์ กามูส์ |
Other Titles: | CREATIVE PROCESS OF PHOTO NOVELS FROM ALBERT CAMUS' EXISTENTIALIST NOVELS |
Authors: | ปัณฑิตา จันทร์อร่าม |
Advisors: | ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Thiranan.A@Chula.ac.th,tiranan2005@hotmail.com |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยเชิงสร้างสรรค์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์วรรณกรรมภาพถ่ายจากนวนิยายแนวอัตถิภาวนิยมของอัลแบร์ กามูส์ เรื่องคนนอก และ มนุษย์สองหน้า และเพื่อประเมินผลสุนทรียภาพ และสารัตถะของปรัชญาอัตถิภาวนิยมที่ผู้รับสารได้รับจากวรรณกรรมภาพถ่ายจากการนำเสนอทั้ง 3 รอบมีผู้ร่วมเสวนาจำนวน 26 คนและผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 57 คน กระบวนการสร้างสรรค์วรรณกรรมภาพถ่ายแนวอัตถิภาวนิยมจากนวนิยายของ อัลแบร์ กามูส์ เริ่มกระบวนการตั้งเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2557 จนถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2558 นวนิยายที่นำมาใช้ประกอบด้วย 1) เรื่อง คนนอก (L'Étranger) ประพันธ์ในปี พ.ศ. 2485 (แปลโดย อำพรรณ โอตระกูล, 2510) 2) เรื่อง มนุษย์สองหน้า (The Fall) ประพันธ์ในปี พ.ศ. 2499 (แปลโดย ตุลจันทร์, 2516) นำมาคัดสรรและปรุงแต่งเป็นข้อความประกอบภาพและแปลข้อความเหล่านั้นเป็นภาพถ่าย โดยนำเสนอแก่นสารคือ ขนบ และคุณค่าต่าง ๆ ที่สังคมยกย่องนั้นเป็นเพียงสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นก่อเป็นบ่วงให้มนุษย์ติดกับเอง ยิ่งยึดถือยึดมั่นรังแต่จะสร้างความทุกข์ให้แก่ตัวเรา ทุกอย่างเป็นเพียงสิ่งที่ไร้ความหมาย เพราะแท้จริงแล้วมนุษย์เองที่สร้างความหมายเหล่านั้นขึ้นมา การออกแบบภาพถ่ายมุ่งใช้สัญญะสื่อสารความหมายและสะท้อนอารมณ์ของแก่นสารัตถะจากนวนิยาย รูปแบบของการนำเสนอมีสองรูปแบบ คือ การนำเสนอแบบการอ่าวรรณกรรมภาพถ่ายด้วยตนเอง และการนำเสนอภาพถ่ายแบบสไลด์พร้อมการอ่านข้อความประกอบ โดยมีเสียงผู้อ่านทั้งหญิงและชายเพื่อเป็นตัวแทนของมนุษยชาติ ผลการประเมินความคิดเห็นต่อองค์ประกอบในการนำเสนอส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ ดี องค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงที่สุดของจากเรื่อง คนนอก ทั้ง 3 รอบ คือ สุนทรียภาพในการอ่านวรรณกรรมภาพถ่าย และ ความเห็นต่อการใช้สรรพนาม “ฉัน” ของตัวละครเอกสามารถสร้างความรู้สึกไม่จำเพาะเจาะจง ได้ค่าเฉลี่ย(M) (M= 4.06/ S.D. = 0.89) ส่วนเรื่อง มนุษย์สองหน้า รอบวันที่ 13-14 มิถุนายน 2558 คือ ความคิดเห็นต่อภาพถ่ายช่วยเพิ่มความสนใจใน ได้ค่าเฉลี่ย (M=4.45 / S.D.=0.89) รอบวันที่ 17 มิถุนายน 2558 คือ สุนทรียภาพในการอ่านวรรณกรรมภาพถ่าย ได้ค่าเฉลี่ย (M=4.08 / S.D.=0.79) และจากการเสวนาพบว่า การนำเสนอวรรณกรรมภาพถ่ายในครั้งนี้ ทำให้นวนิยายมีความน่าสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มคนที่ไม่เคยอ่านนวนิยายมาก่อนเห็นว่าภาพรวมของวรรณกรรมภาพถ่ายช่วยให้สามารถเข้าใจประเด็นเนื้อหาของนวนิยายได้ง่ายขึ้น ผลจากการวิจัยยังพบว่าการรับรู้ต่อปรัชญาอัตถิภาวนิยมจากนวนิยายทั้ง 3 เรื่อง ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์มาก ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดทั้ง 2 เรื่อง และ 3 รอบการนำเสนอ หน้าที่การงาน เกียรติยศชื่อเสียง ศาสนาและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในสังคมล้วนครอบงำมนุษย์ โดยรอบการนำเสนอแบบการอ่าวรรณกรรมภาพถ่ายด้วยตนเอง เรื่อง คนนอก และ มนุษย์สองหน้า มีค่าเฉลี่ย (M= 4.35/S.D. = 0.67 และ 4.20/S.D. = 0.77 ตามลำดับ) ส่วนรอบการนำเสนอภาพถ่ายแบบสไลด์พร้อมการอ่านข้อความประกอบ เรื่อง คนนอก และ มนุษย์สองหน้า มีค่าเฉลี่ย (M= 4.03 / S.D. = 1.13 และ 4.19/S.D. = 0.99 ตามลำดับ) |
Other Abstract: | This research purpose was to create the process of photo novels from Albert Camus’ existentialist novels “L’Etranger” and “The Fall”, also the essence on the philosophy of existentialism. There were 26 attendances from three rounds and 57 people answered the questionnaires. The process was started in August 2014 through July 2015 and the novel that introduced includes: (1) L'Étranger, authored in 2485 (translated by Ampan Aotrakul in 1967 (2) The Fall, authored in 1956 (translated by Tuljarn in 1970) there were selected and prepared as messages in photos By offering quintessential tradition and values of the society is regarded as the only man-made things a snare to themself. It would only take hold suffering unto them. Everything is just a meaningless because they created those meaning up. All the Photos were design to communicate as the sign and emotional resonance of the core essence of the novels. The presentation shown by read the photo message manually and the slide presentation with reading aloud by men and women to represent humanity. The results showed that the assessment reviews were favorable with an average satisfaction highest from three rounds of the aesthetics in literature, photos and comments. The use of the pronoun "I" of the protagonists can create a sense on nonspecific average (M) (M = 4.06 / SD = 0.89) of The fall in 13-14 June 2558, the reviews of photos shown interested in average (M = 4.45 / SD = 0.89) in June 17, 2558 was the pleasure of reading literature shown average (M = 4.08 / SD = 0.79) and the dialogues were found that photos presented in this literature were more interesting novel, especially among people who never read the novel before. All the literary photos help them to understand more easily about the point of three novels content. The results on the perception of the existential philosophy on 2 novels were shown good criteria and the most average issues were L’ Etranger and The fall. In the presentation of open literature, self-photos and human duplex shown an average (M = 4.35 / SD = 0.67 and 4.20 / SD = 0.77, respectively) the presentation of photos as a slideshow with reading aloud and the accompanying text between L’Etranger and The fall shown (M = 4.03 / SD = 1.13 and 4.19 / SD = 0.99, respectively). |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46296 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5684678328.pdf | 7.99 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.