Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46297
Title: การประชาสัมพันธ์โรงพยาบาลเอกชนกับกลุ่มลูกค้าต่างประเทศ
Other Titles: THE PUBLIC RELATIONS OF PRIVATE HOSPITALS TOWARD INTERNATIONAL CLIENTS
Authors: พรพรหม ไทยวรรณศรี
Advisors: ปาริชาต สถาปิตานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Parichart.S@Chula.ac.th,sparicha@yahoo.com
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพรวมการประชาสัมพันธ์ของโรงพยาบาลเอกชนกับกลุ่มลูกค้าต่างประเทศ โดยเน้นเจาะลึกการศึกษาการประชาสัมพันธ์เพื่อการตลาดกับกลุ่มลูกค้าต่างประเทศ และการประชาสัมพันธ์ด้านชื่อเสียงขององค์กร ตลอดจนการศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการประชาสัมพันธ์ของโรงพยาบาลเอกชน กับกลุ่มลูกค้าต่างประเทศ แนวทางในการวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมสาน (Integrated Research) ด้วยเทคนิควิธีการต่างๆ (1.) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Dept Interview) ซึ่งเป็นเทคนิคหลัก มุ่งเน้นการสัมภาษณ์บุคลากรที่เกี่ยวข้องในกระบวนการประชาสัมพันธ์ของโรงพยาบาลเอกชน อาทิ ผู้บริหารงานประชาสัมพันธ์และฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ของโรงพยาบาลเอกชน ผู้บริหารหน่วยงานของรัฐที่มีส่วนสนับสนุนงานประชาสัมพันธ์ของโรงพยาบาลเอกชน และชาวต่างประเทศที่รับบริการของโรงพยาบาลเอกชน เพื่อให้เห็นข้อมูลเชิงลึกในทุกมิติที่เกี่ยวข้องกับการประชาสัมพันธ์เพื่อการตลาดและการประชาสัมพันธ์องค์กร (2.) การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-Participant Observation) เพื่อใช้ในการพัฒนาประเด็นคำถามและใช้ในการยืนยันความตรงของข้อมูล ควบคู่กับวิธีการอื่น (3.) การวิเคราะห์ข้อมูลเอกสาร (Document Analysis) เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการยืนยันอย่างเป็นรูปธรรมของการประชาสัมพันธ์โรงพยาบาลเอกชน ผลการวิจัยพบว่า การประชาสัมพันธ์เพื่อการตลาดของโรงพยาบาลเอกชนกับกลุ่มลูกค้าต่างประเทศประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ได้แก่ การเตรียมการก่อนการดำเนินการประชาสัมพันธ์ อาทิ การปรับชื่อโรงพยาบาลให้สะท้อนความเป็นนานาชาติ การพัฒนาตราสินค้าที่ชัดเจน การปรับปรุงด้านสถานที่ให้มีบรรยากาศที่สวยงามและทันสมัย และการพัฒนาบุคคลากรให้มีความพร้อมในการสื่อสารภาษาต่างประเทศ และการดำเนินกิจกรรมการประชาสัมพันธ์ อาทิ การเลือกกลุ่มเป้าหมายหลัก การกำหนดข้อความสำคัญในการที่จะสื่อสาร การกำหนดกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย การกำหนดช่องทางในการสื่อสารให้หลากหลาย และการติดตามประเมินผลการประชาสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด เพื่อนำไปปรับปรุงกระบวนการประชาสัมพันธ์กับกลุ่มลูกค้าต่างประเทศทั้งหมด การประชาสัมพันธ์องค์กรกับลูกค้าต่างประเทศนั้น เน้นด้านการจัดการชื่อเสียงองค์กร อาทิ การสื่อสารด้านบริการของโรงพยาบาลที่ได้รับการยอมรับว่ามีคุณภาพ การยืนยันชื่อเสียงของโรงพยาบาลด้วยรางวัลและเกณฑ์มาตรฐานในระดับนานาชาติ การนำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆ ด้านการรักษาพยาบาล การสื่อสารถึงกิจกรรมและผลของกิจกรรมที่แสดงความรับผิดชอบต่อสังคม นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการจัดการงานด้านพนักงานสัมพันธ์ โดยมีประเด็นหลักในการสื่อสารที่เน้นให้พนักงานตระหนักถึงสาระสำคัญในการให้บริการคนไข้เสมือนคนในครอบครัว ตลอดจนการใช้กลยุทธ์เพื่อให้พนักงานเกิดความภาคภูมิใจใจองค์กร เข้าใจคุณค่าของเพื่อนร่วมงาน สนันบสนุนให้พนักงานเป็นผู้สร้างจุดสัมผัสทางประสบการณ์ให้กับลูกค้า และการสื่อสารผ่านช่องทางที่หลากหลายเพื่อเข้าถึงพนักงานทุกกลุ่ม โรงพยาบาลเอกชนให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการประชาสัมพันธ์ โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่เกิดภาวะวิกฤต โดยโรงพยาบาลเอกชนจะดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ ต่อไปนี้ (1.) จัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสาร (2.) กำหนดผู้ให้ข่าวคือ ผู้บริหารและทีมแพทย์ของโรงพยาบาล (3.) เตรียมข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับองค์กรให้สื่อมวลชน (4.) กำหนดกลุ่มเป้าหายที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม (5.) กำหนดข้อความสำคัญในการนำเสนอข่าว (6.) ควบคุมการนำเสนอข่าวสารให้อยู่ในทิศทางที่ถูกต้อง (7.) สำรวจความคิดเห็นของสาธารณชนอย่างต่อเนื่อง และ (8.) เตรียมแผนฟื้นฟูความเชื่อมั่นหลังเกิดภาวะวิกฤต
Other Abstract: The purposes of this dissertation are to study about the overall scenario of private hospitals’ public relations to foreign customers and also to understand problems and challenges of the referred public relations and customers. The studies based on integrated research in combination of (1.) In-Dept Interview with related persons in private hospitals’ public relations procedures including Public Relations and Customer Service Manager, Government Relationship Department, and International Clients. (2.) Non-Participant Observation, to develop questions and to prove the result after collecting all data. (3.) Document analysis, to be the guideline for private hospital’s public relations. The results of the study are as follows; 1. There are two processes of the marketing public relations; (1) pre-public relations are adjust the hospital’s name, develop the brands, renovated the hospital building, develop English skill for supporting staffs, and (2) public relations procedures, including: specify target group, key message, public relations strategy, communicating channels and public relations evaluation. 2. Corporate Public Relations towards International Clients highlights on reputation management e.g. Service’s Qualification Assurance, International Guarantee, Innovation Publication, CSR activities and publication and customer service. Hospitals should have their publication by specify key message, public relations strategy and communicating channels. In addition, corporate public relations also stress on employee relations, create organization pride, encourage staffs to initiate touch point with customer, and communicate through multiple communication channel to reach all level of employee. 3. The hospitals proactive and reactive to issues that relate to public communication, especially in crisis situation by following these steps: (1.) Establish information center (2.) Assign hospital management team to inform public (3.) Prepare basic information to mass media communicator (4.) Specify impacted target group, direct and indirect (5.) Specify key massage (6.) Control communication direction (7.) Survey public opinion (8) Plan to recover trust after crisis situation.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46297
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5684682828.pdf5.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.