Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46333
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิen_US
dc.contributor.authorอินทุอร พุ่มแจ้en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัยen_US
dc.date.accessioned2015-09-18T04:24:10Z-
dc.date.available2015-09-18T04:24:10Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46333-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเลือกรูปแบบการขนส่ง สำหรับบริษัทกรณีศึกษา ผู้นำเข้าวัตถุดิบการผลิตเครื่องสำอาง เพื่อลดต้นทุนรวมของบริษัทฯ และสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้แก่ลูกค้า โดยการประยุกต์ใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (AHP) ภายใต้ปัจจัยหรือเกณฑ์หลักเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทั้งหมด 8 ปัจจัย ได้แก่ ด้านเวลา (ความตรงต่อเวลา, ความถี่ของตารางการให้บริการ, การตอบสนองต่อความเร่งด่วน) ด้านความเสียหายของสินค้าในการขนส่ง ด้านการสูญหายของสินค้าในการขนส่ง ด้านต้นทุนการเก็บรักษาสินค้าคงคลัง (Inventory Carrying Cost) ด้านการเสื่อมสภาพของสินค้าและความล้าสมัย ด้านความพร้อมให้บริการของตัวแทนขนส่ง (Freight Forwarder) (จำนวนผู้ให้บริการ, ความน่าเชื่อถือ) ด้านความเสี่ยงในการขนส่ง และ ด้านการคำนึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทางเลือกที่ศึกษาคือ การขนส่งทางอากาศ และทางทะเล โดยสินค้าที่นำมาศึกษามี 2 ประเภทคือ Active Ingredient (สารสำคัญ) และ Base Ingredient (เนื้อผลิตภัณฑ์) การวิจัยได้นำปัจจัยและทางเลือกมาพัฒนาเป็นโครงสร้างแผนภูมิลำดับชั้นตามกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ ผลการวิเคราะห์พบว่า สินค้าประเภท Active Ingredient (สารสำคัญ) ภายใต้ตัวแปรต้นกำเนิดสินค้าประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และปริมาณการสั่งซื้อต่อครั้งต่ำกว่า 400 กิโลกรัม (สั่งซื้อจากประเทศสหรัฐอเมริกา) ผู้ตัดสินใจเลือกรูปแบบการขนส่งทางอากาศและให้ความสำคัญปัจจัยด้านเวลาสูงสุด ในขณะที่สินค้าประเภท Base Ingredient (เนื้อผลิตภัณฑ์) ภายใต้ตัวแปรต้นกำเนิดสินค้าประเทศสหรัฐอเมริกา และปริมาณการสั่งซื้อมากกว่า 400 กิโลกรัม (สั่งซื้อจากประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส) ผู้ตัดสินใจเลือกรูปแบบการขนส่งทางทะเลและให้ความสำคัญปัจจัยด้านเวลาสูงสุดเช่นเดียวกันen_US
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research is to propose the transportation mode selection for a case study of Cosmetic Ingredient Importer Business in order to manage cost reduction and satisfy customers’ with the highest service level. The evaluation model is applied based on the Analytical Hierarchy Process (AHP) by main 8 quantitative and qualitative criterias which are Time (Punctuality, Frequency, Response for Expedition), Damage, Loss, Inventory Carrying Cost, Degeneration and Out of Date, Availability of Freight Forwarder (Number of providers, Reliability), Risk of Transportation and Environmental concern. The transportation modes are Air Freight and Sea Freight, and the studied products are Active and Base Ingredient. In this research, a multi-level structure selection process is created. The analysis result indicates the evaluators concern criteria Time and Air Freight mode for Active Ingredient under factors Origin: Switzerland and Purchasing volume lower 400 kilograms (Purchase from USA). Meantime, the evaluators also concern criteria Time and Sea Freight mode for Base Ingredient under factors Origin: USA and Purchasing volume over 400 kilograms (Purchase from France).en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการประยุกต์ใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ ในการเลือกรูปแบบการขนส่ง : กรณีศึกษาผู้นำเข้าวัตถุดิบการผลิตเครื่องสำอางen_US
dc.title.alternativeAPPLICATION OF ANALYTICAL HIERARCHY PROCESS IN TRANSPORTATION MODE SELECTION : A CASE STUDY OF COSMETIC INGREDIENT IMPORTER BUSINESSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการจัดการด้านโลจิสติกส์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorKamonchanok.S@Chula.ac.th,kamonchanok.s@chula.ac.then_US
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5687161720.pdf2.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.