Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46384
Title: การนำเสนอแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
Other Titles: PROPOSED GUIDELINES FOR PROMOTING COMMUNITY LEARNING TO DEVELOP CREATIVE TOURISM
Authors: กนกพร ศิริโรจน์
Advisors: อุบลวรรณ หงษ์วิทยากร
ละเอียด ศิลาน้อย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Ubonwan.H@Chula.ac.th,ubonwan_h@yahoo.com
silasirizen@yahoo.com
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณลักษณะตามองค์ประกอบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของชุมชน ตามคำนิยาม การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกระทรวงการท่องเที่ยวแลกีฬา (2556) 2) วิเคราะห์สถานการณ์การเรียนรู้ของชุมชนที่มีการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และ 3) นำเสนอแนวทางการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ โดยการศึกษาเอกสาร การวิจัยเชิงสำรวจกับชุมชน / พื้นที่ที่มีการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 57 แห่ง (570 ตัวอย่าง) และการลงพื้นที่ 4 ชุมชน พบว่า 1) คุณลักษณะตามองค์ประกอบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของชุมชน ว่า องค์ประกอบที่ 1 ความ“ยั่งยืน” มี 25 ประการ ประกอบด้วย ประเด็นด้านการ“ทรัพยากรวัฒนธรรมและทรัพยากร ธรรมชาติ” 12 ประการ และประเด็น”ด้านการดำเนินงานจัดการ” 13 ประการ องค์ประกอบที่ 2 การเรียนรู้และมีส่วนร่วมในศิลปะ วัฒนธรรม วิถีชีวิต ภูมิปัญญา เอกลักษณ์ / อัตลักษณ์เฉพาะถิ่นระหว่างนักท่องเที่ยวและเจ้าของพื้นที่ มี 5 ประการ และองค์ประกอบที่ 3 ความผูกพันระหว่างนักท่องเที่ยวและเจ้าบ้าน มี 4 ประการ 2) สถานการณ์การเรียนรู้ของชุมชนที่มีการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ พบว่า ประเด็น “เนื้อหา/องค์ความรู้” ที่ชุมชนหรือพื้นที่ที่มีการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จำเป็นต้องรู้มี 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ เนื้อหาองค์ความรู้เฉพาะถิ่น และเนื้อหาองค์ความรู้เฉพาะทาง วิธีการเรียนรู้องค์ความรู้เฉพาะถิ่น คนในชุมชนเองต้องร่วมกันค้นหาประวัติศาสตร์ความเป็นมา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาของท้องถิ่นของตนเอง ทำการบันทึกจัดเก็บข้อมูล เรียนรู้จากการที่คนในท้องถิ่นต้องได้ทำกิจกรรม ได้ทำงานร่วมกัน เพื่อให้คนในท้องถิ่นเข้าใจร่วมกันอย่างถ่องแท้ โดยความรู้ในท้องถิ่น สามารถเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นที่สำคัญ อาทิ ผู้มีความรู้ในชุมชน เช่น ปราชญ์ชาวบ้าน ครูภูมิปัญญาท้องถิ่น ครอบครัว สถาบันการศึกษาในพื้นที่ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน สำหรับเนื้อหาองค์ความรู้เฉพาะทางด้านการท่องเที่ยว วิธีการเรียนรู้ คือ การฝึกอบรม การประชุม สัมมนา และการไปศึกษาดูงาน โดยให้ชุมชนได้ทดลองปฏิบัติจริง โดยหน่วยงานที่สนับสนุนการเรียนรู้เป็นทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวโดยตรงและโดยอ้อม 3) แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ สรุปได้ดังนี้ การดำเนินงานด้านการท่องเที่ยวของชุมชน / พื้นที่ มีการจัดตั้งคณะกรรมการท่องเที่ยวหรือกลุ่มทำงานท่องเที่ยวที่เป็นระบบ โดยคนในชุมชนมีการวางแผนร่วมกันจัดการท่องเที่ยว การจัดสรรในเรื่องรายได้ มีการทำงานเป็นทีม แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ เป็นฝ่ายต่างๆอย่างเป็นระบบ มีการประชุมเป็นประจำ /บ่อยครั้ง การส่งเสริมบุคลากรในพื้นที่ บุคลากรในพื้นที่ต้องมีความรู้ในองค์ความรู้เฉพาะถิ่น และองค์ความรู้เฉพาะทาง ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำกลุ่มท่องเที่ยวมีส่วนสำคัญที่ต้องส่งเสริมผลักดันให้สมาชิกกลุ่ม/ ชุมชนได้รับองค์ความรู้จากนักวิชากร หน่วยงานต่างๆที่มาสนับสนุนการเรียนรู้ และสนับสนุนให้คนในชุมชนร่วมกันทำกิจกรรม ร่วมกันทำงานทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถ่ายทอดองค์ความรู้จากการได้ทำงาน ทำกิจกรรมร่วมกัน ต้องมีการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐที่ให้คำแนะนำ เป็นที่ปรึกษา เป็นพี่เลี้ยง จัดวิทยากรผู้เชี่ยวชาญให้ความรู้กับชุมชน มีการบรรจุแนวทางพัฒนาบุคลากรในแผนจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ควรเป็นหน่วยงานหลักที่ประสานงานให้คำแนะนำองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวกับชุมชนเพราะเป็นหน่วยงานที่อยู่ในพื้นที่และมีบทบาทสำคัญตามกฎหมายชุมชนท่องเที่ยวที่เข้มแข็ง ประสบผลสำเร็จควรเป็นพี่เลี้ยงถ่ายทอดประสบการณ์แนวทางให้กับชุมชนท่องเที่ยวอื่นๆ มีการประเมินผลโดยให้นักท่องเที่ยวและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมประเมินเพื่อนำมาปรับปรุง โดยผ่านการพิจารณาความเห็นชอบของคณะกรรมการกลุ่มทำงานท่องเที่ยวในพื้นที่
Other Abstract: This research is a survey research conducted by using questionnaires in the 57 creative tourism communities/sites (570 samplings) where implement the creative tourism. The field research is performed in 4 communities as case studies. The objectives are: 1) characteristics as components of the creative tourism communities according to the definition of the Ministry of Tourism and Sports. (2013); 2) to analyze the learning situation of communities where perform creative tourism; 3) to present the community learning guidelines for developing creative tourism. The research results were: 1) characteristics as the creative tourism communities consisted of 3 components: first component, there were 25 sustainablities which were resources, culture and natural resources; second components were learning and participation in arts, culture, ways of life, wisdom, characteristics/identity which were 5 local uniqueness among tourists and hosts; and third components were 4 ties between tourists and hosts. 2) the learning situation of communities where perform creative tourism was found that knowledge of these communities/sites were needed to know in 2 major categories: unique local knowledge and specialized knowledge. The methods of learning the unique local knowledge were the cooperation of community members in searching for local history, art, culture, traditions and wisdoms; then record and data saving, learning from local activities in working together in order to learn together. The major learnt local knowledge were such as the local learners, wisdom instructors, families, educational institutes, and community learning center. Knowledge contents in special tourism: learning methods which were training, conference, seminar and study trip. There were all real practiced by the supported learning units both direct and indirect. 3) Guideline of the community learning support for developing the creative tourism could be concluded as follow: the implementation of communities/sites tourism were set up the systematic tourist committee/working team by the local communities, co-planning, income providing, team-working, duty responsibilities, all working in systems, often regular meeting. The personnel promotion in the sites: the personnel must have local knowledge and special wisdom. The local leaders in group members/committees in getting knowledge from scholars, officials which supported learning, activities, co-working for exchanging the knowledge altogether. These activities needed to be supported form government a consultants, experts in providing knowledge to communities; having guidelines personnel development in Province Implement Plan. The local administration should be the main offices to cooperate as advised the knowledge in tourism, be the local significant role strengthened touring communities success; ability to transfer knowledge and guidelines to others sites; evaluation from tourists and participants in order to be improved by the local tourist committee.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: พัฒนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46384
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5284201227.pdf4.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.