Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46396
Title: | ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณอย่างเสมอภาคและเป็นธรรมสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน |
Other Titles: | STRATEGIES FOR THE EQUALITY AND EQUITY OF BUDGET ALLOCATION IN BASIC EDUCATION PROVISION |
Authors: | สมฤดี ลีลากิจทรัพย์ |
Advisors: | ชญาพิมพ์ อุสาโห พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | chayapim.u@chula.ac.th Pruet.S@Chula.ac.th |
Subjects: | การจัดสรรค่าใช้จ่าย งบประมาณ ความเสมอภาค ความเสมอภาคทางการศึกษา การศึกษาขั้นพื้นฐาน Cost allocation Budget Equality Educational equalization Basic education |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคาม และพัฒนายุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณการศึกษาอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม สำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 327 คน และแบบสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNI modified และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. การจัดสรรงบประมาณการศึกษาขั้นพื้นฐาน จากสภาพแวดล้อมภายใน ตามสภาพปัจจุบันจัดอยู่ในระดับปานกลาง โดยงบดำเนินงานมีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงสุด (PNI = 0.250) 2. การจัดสรรงบประมาณการศึกษาขั้นพื้นฐาน จากสภาพแวดล้อมภายนอก ตามสภาพปัจจุบันอยู่ในระดับปานกลาง โดยงบบุคลากรมีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงสุด PNI = 0.219) 3. การจัดสรรงบประมาณการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานภายในสถานศึกษา ตามสภาพปัจจุบันอยู่ในระดับปานกลาง โดยค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงสุดของการจัดการเรียนการสอนให้กับกลุ่มสาระตามจำนวนนักเรียนในอัตราเท่ากัน โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างในด้านความสามารถในการเรียนของนักเรียน (PNI =0.287) 4. การวิเคราะห์ SWOT พบว่า งบบุคลากร เป็นงบที่ได้รับจัดสรรมากที่สุดในกลุ่มงบประมาณทางการศึกษา แต่ไม่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา หากมีระบบการสร้างความรับผิดชอบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการสอนของครู จะเป็นการสร้างจิตสำนึกและจรรยาบรรณของครูที่มีต่อนักเรียนให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ระบบผลตอบแทนครูไม่ได้ขึ้นอยู่กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน สำหรับงบดำเนินงาน พบว่า ได้รับจัดสรรงบประมาณเป็นประจำทุกปี แต่ขาดระบบการสร้างจิตสำนึกต่อความรับผิดชอบทางสังคม ดังนั้นควรจะได้รับหรือเป็นฉันทามติของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งระบบในการจัดสรรงบดำเนินงาน และสภาพภูมิศาสตร์ด้านทำเลที่ตั้งสถานศึกษาที่แตกต่างกันแต่ได้รับงบดำเนินงานเท่ากัน ด้านงบลงทุน พบว่า ได้รับจัดสรรงบลงทุนเป็นประจำทุกปี ได้แก่ ค่าครุภัณฑ์ ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ในระดับการจัดการศึกษาทั่วประเทศ แต่ยังต้องคำนึงปัจจัยเรื่องต้นทุนในการจัดสรรงบลงทุนในปริมาณที่แตกต่างที่ขึ้นอยู่กับพื้นที่ตั้งและสภาพภูมิศาสตร์ของสถานศึกษา การมีส่วนร่วมจากรัฐบาลช่วยทำให้กำหนดราคาเพื่อความเสมอภาคเท่าเทียมกันทุกสถานศึกษาทั้งในเมืองและนอกเมืองได้ ซึ่งภาพลักษณ์ของสถานศึกษายังส่งผลต่อค่านิยมของผู้ปกครองและชุมชน และงบเงินอุดหนุน พบว่า ได้รับจัดสรรเป็นประจำทุกปีแต่น้อยกว่างบบุคลากร ไม่ช่วยให้ความเหลื่อมล้ำลดลงระหว่างสถานศึกษาเขตร่ำรวยและยากจนเท่าที่ควร และควรจะได้รับในอัตราที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมต่างๆ เช่น ความแตกต่างของลักษณะทำเลที่ตั้งของสถานศึกษา ขนาดของสถานศึกษา จำนวนนักเรียน และเรื่องยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม สำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ 1) งบบุคลากรกับการพิจารณาค่าตอบแทนบุคลากรทางการศึกษา และครูผู้สอนควบคู่กับความรับผิดชอบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 2) งบดำเนินงานกับการพิจารณางบดำเนินงานอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม โดยเพิ่มการพิจารณาควบคู่กับดัชนีความพร้อมของสถานศึกษา 3) งบลงทุนกับการพิจารณางบลงทุนอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม โดยนอกจากพิจารณาความจำเป็นแล้วยังต้องควบคู่กับการติดตามผลการเบิกใช้เงินงบประมาณอย่างแท้จริง และ 4) งบเงินอุดหนุน ได้แก่ 4.1 การจัดสรรงบประมาณคำนวณเงินอุดหนุนรายบุคคล 4.2 การปรับเพิ่มงบประมาณเงินอุดหนุนรายบุคคล 4.3 การจัดสรรงบเงินอุดหนุนรายบุคคล ให้มีความเป็นธรรมทั้งภาครัฐและเอกชน 4.4 การจัดสรรงบเงินอุดหนุนคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับสถานศึกษา (ผู้ปกครอง นักเรียน) 4.5 การจัดสรรงบเงินอุดหนุนตามหลักความเป็นธรรม 4.6 การจัดสรรงบเงินอุดหนุนอย่างเสมอภาคให้กับกลุ่มที่ด้อยโอกาส 4.7การจัดสรรงบประมาณการศึกษาขั้นพื้นฐานข้างต้นจะต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ความชัดเจน มีความโปร่งใส โดยคำนึงถึงคุณภาพการศึกษาของประเทศ ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนเป็นสำคัญ |
Other Abstract: | This research aimed to study the equality state and the equity state, to analyze the strengths, weaknesses, opportunities and threats and to develop strategies for the equality and equity of budget allocation in basic education. This study was conducted, using mixed method research 327 samples were used as sample size. The instruments used were questionnaire and strategic evaluation form of feasibility and appropriateness. The data were analyzed, using frequency, percentage, average, standard deviation,PMImodified and content analysis. The research findings showed that 1.The overall view of the authentic state and the desireable state of equality and equi0ty of budget allocation for basic education provision from internal environment is in the fair level. And the operational budget has the highest value of PNI (PNI=0.250) 2.From the external environment, the authentic state is also just in fair level. The personnel budget has the highest value of PNI (PNI=0.219. 3.For the budget allocation within the educational groups of school, the authentic state is in the fair level. The equal allocation without concerning the different ability of student has the highest value of PNI (PNI=0.287) 4.For SWOT analysis findings showed that the personnel budget has been allocated the highest amount of budget but does not improve education quality If there is responsibility oriented system to capture the teaching, teachers will more focus on developing the teaching process because the salaries of teachers do not depend on the studies reports of students. For the operational budget showed that even the different location of schools, they are equally allocated of this budget. Hence,participation of key stakeholders is the another important factor. The capital budget can be illustrated that this budget has been effected by the environment that followed by the image of school. Cost and effective of budget allocation are also main Factor. The subsidy budget is allocated less than personnel budget. The socioeconomically disadvantaged students are facing the insufficient budget due to the inequity allocation. The strategies for the equality and equity of budget allocation in basic education provision can be categorized as followings: 1.The personnel budget has to be considered the salary of teacher with their education report of students. 2.The operational budget has been increased consideration to the preparation index of schools that helps to budget management. 3.The capital budget has to considered the final actual usage of schools. And 4. The subsidy budget has to modified the additional policies to actual necessity of students, schools and decrease the unnecessary schools. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | บริหารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46396 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1214 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2014.1214 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5284485127.pdf | 3.38 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.