Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46429
Title: รูปแบบเขื่อนป้องกันน้ำท่วมเพื่อวิถีชีวิตชุมชนเมืองริมน้ำ กรณีศึกษา ชุมชนปากคลองมหาสวัสดิ์ กรุงเทพมหานคร
Other Titles: FLOOD PREVENTION DIKE PATTERNS ON WATER-BASED COMMUNITIES : A CASE STUDY OF PAK KLONG MAHASAWAD COMMUNITY, BANGKOK
Authors: ธฤติ มิระสิงห์
Advisors: นิรมล กุลศรีสมบัติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Niramon.K@Chula.ac.th
Subjects: กำแพงกั้นน้ำ -- การออกแบบ
เขื่อน -- การออกแบบ
การป้องกันน้ำท่วม -- ไทย -- ปากคลองมหาสวัสดิ์ (กรุงเทพฯ)
ชุมชนริมน้ำ -- ไทย -- ปากคลองมหาสวัสดิ์ (กรุงเทพฯ)
การใช้ที่ดิน -- ไทย -- ปากคลองมหาสวัสดิ์ (กรุงเทพฯ)
ไทย -- ปากคลองมหาสวัสดิ์ (กรุงเทพฯ) -- ประวัติ
Dikes (Engineering) -- Design
Dams -- Design
Flood control -- Thailand -- Pak Klong Mahasawat (Bangkok)
Waterfronts -- Thailand -- Pak Klong Mahasawat (Bangkok)
Land use -- Thailand -- Pak Klong Mahasawat (Bangkok)
Thailand -- Pak Klong Mahasawat (Bangkok) -- History
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบของแนวเขื่อนป้องกันน้ำท่วมเพื่อวิถีชีวิตชุมชนเมืองริมน้ำ บริเวณชุมชนปากคลองมหาสวัสดิ์ กรุงเทพมหานคร โดยผู้วิจัยต้องการค้นหาว่าจากลักษณะการตั้งถิ่นฐานของชุมชนริมน้ำภาคกลางตามบริบทแบบไทย ที่มีลักษณะเฉพาะทางกายภาพแบบสะเทินน้ำสะเทินบกและมีความหลากหลายของกิจกรรมในการใช้งานพื้นที่ริมน้ำ รูปแบบของแนวเขื่อนป้องกันน้ำท่วมที่สอดคล้องกับลักษณะการตั้งถิ่นฐานดังกล่าวควรมีรูปแบบอย่างไร โดยมีสมมติฐานคือ แนวเขื่อนป้องกันน้ำท่วมต้องมีรูปแบบที่หลากหลาย ซึ่งเกิดจาก(1)ลักษณะทางกายภาพและสังคมของพื้นที่ริมน้ำที่แตกต่างกันย่อมต้องการรูปแบบของแนวเขื่อนป้องกันน้ำท่วมที่แตกต่างกัน และ(2)จากความต้องการมีปฏิสัมพันธ์กับน้ำที่ต่างกันของแต่ละประเภทกิจกรรมและกลุ่มผู้ใช้งานย่อมต้องการรูปแบบของแนวเขื่อนป้องกันน้ำท่วมที่แตกต่างกัน โดยทำการสำรวจ แบบสอบถามและสัมภาษณ์เชิงลึก ประกอบผลการวิเคราะห์กรณีตัวอย่างและแนวทางการออกแบบแนวเขื่อนบนพื้นที่เสี่ยงภัยในระดับสากล เพื่อกำหนดเกณฑ์และลำดับขั้นตอนการออกแบบ ซึ่งจะทำให้ทราบถึงรูปแบบของแนวเขื่อนในแต่ละลักษณะทางกายภาพและสังคมของพื้นที่ริมน้ำ จากการศึกษาพบว่า รูปแบบของแนวเขื่อนป้องกันน้ำท่วมที่สอดคล้องกับลักษณะการตั้งถิ่นฐาน แบบสะเทินน้ำสะเทินบก ตามบริบทแบบไทยควรมีความหลากหลาย โดยขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 2 ประการ ได้แก่ (1) ลักษณะทางกายภาพและสังคมของพื้นที่ริมน้ำ และ (2) ความต้องการมีปฏิสัมพันธ์กับน้ำที่ต่างกันของประเภทกิจกรรมและกลุ่มผู้ใช้งาน ดังจะเห็นได้จาก การกำหนดคุณลักษณะการกั้นน้ำของแนวเขื่อนและการปรับองค์ประกอบทางกายภาพเพื่อใช้งานรูปแบบอื่น ที่สัมพันธ์กับระดับปฏิสัมพันธ์กับน้ำในระดับ น้อย กลางและมาก ที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเภทชุมชน 2 ประเภทหลัก คือ 1)พื้นที่ชุมชนเมือง และพื้นที่ชุมชนเมืองกึ่งเกษตร ที่ต้องการเครื่องมือป้องกันพื้นที่ต่อระดับน้ำ และต้องการให้แนวเขื่อนมีการออกแบบการใช้งานเพื่อเป็นพื้นที่สาธารณะแก่ชุมชน เช่น ทางเดินริมน้ำ,ทางจักรยาน เนื่องจากความหนาแน่นของประชากรในพื้นที่สูง และควรคำนึงถึงองค์ประกอบในการเชื่อมโยงโครงข่าย การสัญจรทั้งทางบกและทางน้ำเข้าด้วยกัน ดังนั้น คุณลักษณะแนวเขื่อนในการกั้นน้ำที่ค้นพบในพื้นที่จึงมี 2 ลักษณะ คือ ไม่ยอมให้น้ำผ่านได้เลย และยอมให้น้ำผ่านได้แค่บางส่วน ในขณะที่ 2) พื้นที่ชุมชนเกษตร ต้องการเพียงการปรับตัวองค์ประกอบทางกายภาพ โดยเฉพาะในระดับตัวเรือนเพื่ออาศัยอยู่กับระดับน้ำ แนวเขื่อนควรมีการออกแบบที่คำนึงถึงองค์ประกอบทางกายภาพตัวเรือน ที่สำคัญในการใช้น้ำของประชาชน อาทิช่องเปิดและบันไดสู่น้ำ, อู่จอดเรือ รวมถึงการเชื่อมต่อกับโครงข่ายเส้นทางสัญจรภายในพื้นที่เนื่องจากความหนาแน่นน้อย และยังต้องการใช้น้ำอยู่ คุณลักษณะในการกั้นน้ำของแนวเขื่อนที่ค้นพบจึงมีเพียงแนวเขื่อนที่ยอมให้น้ำผ่านได้แค่บางส่วน ที่ช่วยลดความรุนแรงของกระแสน้ำ ทั้งในระดับชุมชนและตัวเรือนเท่านั้น จากข้อค้นพบ จึงนำไปสู่ข้อเสนอแนะที่ว่า ในการออกแบบแนวเขื่อนป้องกันน้ำท่วม ที่สอดคล้องกับลักษณะการตั้งถิ่นฐาน และลดผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชุมชนน้อยที่สุด นอกจากต้องคำนึงถึงคุณลักษณะในการกั้นน้ำของพื้นที่ที่สัมพันธ์กับรูปแบบพฤติกรรมแล้ว ควรมีการออกแบบพื้นที่ใช้งานริมน้ำร่วมกับแนวเขื่อนอีกด้วย
Other Abstract: The objective of this research is to study about flood prevention dike patterns on water-based communities, Pakklong Mahasawa community, Bangkok. The researchers wanted to find out the nature of the settlement of the central waterfront community contextual Thailand that it’s characteristic physical and amphibians and a wide range of activities in the areas of the waterfront. How Flood prevention dike is patterns along the line with such a settlement. The hypothesis is flood prevention dike along the diverse forms which have caused (1) physical and social development of the waterfront area will require a different form of flood prevention dike along is different. And (2) the need to interact with different types of events and user groups will need some patterns of flood prevention dike along is different. By survey Questionnaires and in-depth interviews, the accompanying analysis of case studies and guidelines to design a dike on risk areas internationally to establish the sequence and design process. This will contribute to understanding the patterns of vertical dike in the physical and social development of the waterfront area. The study found that the patterns of flood prevention dike along the line with the settlement. Alligator Pattern Thailand should contextual diversity, based on the two; (1) physical and social development of the waterfront area and (2) the need to interact with different types of events and user groups. As can be seen from the defining feature of the landscape and water barrier dike and the physical components to use another format. It’s relative to the level of interaction with water in low level, middle level and high level. It’s different in each community two main types. 1) Urban space and semi- urban agriculture that need protected areas to the water level and require the dam line is designed for use as a public space for the community such waterfront walkway, bike path. Due to the high population density of the area and it’s considered the elements of interconnection transportation by land and sea together. The line feature a water barrier dike found in this area, there’s 2 characteristics; does not allow water to pass through it and allow water to pass through only partially. While 2) the agricultural community, just like adaptive physical elements, especially in the housing for residents with water of genre dike. It should be designed to regard of the physical component housings. The importance is water using for the people such as opening and ladder into the water, mooring dock including connections to route network traffic within the area. Because of low density and demand for water, so feature to stem the tide of discovery along the dike that allows water to pass through only partially that it reduces the severity of the tides both in the community and housing only. The findings led to the recommendation that to design flood protection embankment, it’s consistent with the settlement and reduce the impact on the life of the community at least. In addition, it’s considered of the area to stem the tide with the behavior associated with it and it should still also be designed with an active area of ​​waterfront along the dike as well.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การออกแบบชุมชนเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46429
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1224
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1224
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5473327025.pdf14.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.