Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46519
Title: การสังเคราะห์จีโอพอลิเมอร์พรุนโดยใช้สารก่อฟองอนินทรีย์
Other Titles: SYNTHESIS OF POROUS GEOPOLYMER USING INORGANIC FOAMING AGENTS
Authors: อาณัติ สายกระสุน
Advisors: ศิริธันว์ เจียมศิริเลิศ
พิทักษ์ เหล่ารัตนกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Sirithan.J@Chula.ac.th
pitakl@mtec.co.th
Subjects: ดินขาว
ซิลิกาฟูม
วัสดุรูพรุน
วัสดุศาสตร์
Kaolin
Silica fume
Porous materials
Materials science
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ทำการสังเคราะห์วัสดุจีโอพอลิเมอร์พรุนฐานดินขาวเผาโดยใช้สารก่อฟอง อนินทรีย์ได้แก่ ซิลิกาฟูม ตะกรันอะลูมิเนียม และผงอะลูมิเนียม โดยการเตรียมดินขาวเผาทำได้ด้วยการนำดินขาวไปบดเพื่อลดขนาดและร่อนผ่านตะแกรงเบอร์ 150 เมช หลังจากนั้นนำไปเผาที่อุณหภูมิ 700 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 6 ชั่วโมง สำหรับการใช้ซิลิกาฟูมเป็นสารก่อฟองสามารถแบ่งการศึกษาเป็น 2 ส่วนคือ ศึกษาผลของความเข้มข้นของสารละลายแอลคาไลน์ต่อสมบัติจีโอพอลิเมอร์พรุนโดยใช้สัดส่วนดินขาวเผาต่อซิลิกาฟูม 60:40 และเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของสารละลาย โซเดียมไฮดรอกไซด์ ส่วนที่สองศึกษาผลของสัดส่วนดินขาวเผาต่อซิลิกาฟูมต่อสมบัติของ จีโอพอลิเมอร์พรุน โดยใช้ความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์คงที่ที่ 10 โมลาร์ บ่มด้วยอุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 24 ชั่วโมง หลังจากนั้นบ่มที่อุณหภูมิห้องจนครบ 28 วัน นำไปทดสอบสมบัติการนำความร้อน พบว่าชิ้นงานจีโอพอลิเมอร์พรุนมีการนำความร้อนต่ำ นอกจากนี้จากการทดสอบการละลายน้ำของชิ้นงานพบว่าชิ้นงานทุกสัดส่วนมีความไม่เสถียรเมื่ออยู่ในน้ำ สำหรับการทดลองที่ใช้ตะกรันอะลูมิเนียมเป็นสารก่อฟองแบ่งการศึกษาเป็น 3 ส่วนคือ ศึกษาผลของปริมาณตะกรันอะลูมิเนียมในปริมาณต่างๆ ต่อสมบัติของจีโอพอลิเมอร์พรุน ส่วนที่สองศึกษาผลของสัดส่วนสารละลายโซเดียมซิลิเกตต่อสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ ส่วนที่สามศึกษาผลของสัดส่วนของแข็งต่อของเหลว จากผลการทดลองพบว่าชิ้นงานที่เหมาะสมในการสังเคราะห์จีโอพอลิเมอร์พรุนคือชิ้นงานที่เติมตะกรันอะลูมิเนียม 1.5 เปอร์เซ็นต์ โดยใช้สัดส่วนสารละลายโซเดียมซิลิเกตต่อสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ 2.5 และสัดส่วนของแข็งต่อของเหลวเท่ากับ 0.86 ทำให้ได้ชิ้นงานที่มีกำลังอัด 11.76 เมกะพาสคัล ซึ่งมีค่าสูงกว่ามาตราฐานผลิตภัณฑ์ออุตสาหกรรมชิ้นส่วนคอนกรีตมวลเบาแบบมีฟองอากาศ-อบไอน้ำ (มอก. 1505-2541) และมีค่าการนำความร้อน 0.27 วัตต์ต่อเมตร-เคลวิน ซึ่งมีค่าต่ำกว่าอิฐมอญ นอกจากนี้จากผลการศึกษาปริมาณที่เหมาะสมของ ผงอะลูมิเนียมที่ใช้เป็นสารก่อฟองในจีโอพอลิเมอร์พรุน พบว่าชิ้นงานที่เหมาะสมที่สุดคือ ชิ้นงานที่ใช้ปริมาณผงอะลูมิเนียม 0.7 เปอร์เซ็นต์ ได้กำลังอัดเท่ากับ 15.27 เมกะพาสคัล และมีค่า การนำความร้อน 0.27 วัตต์ต่อเมตร-เคลวิน
Other Abstract: This work aims to synthesis metakaolin based porous geopolymer using inorganic foaming agents such as silica fume (SF), aluminum dross, and aluminum powder. Metakaolin (MK) was prepared by crushing and sieving through mesh number #150 after that calcined at 700 oC for 6 hrs. Two parameters of Porous geopolymer using silica fume as foaming agent are studied. First, the effects of alkaline concentration were investigated. The ratio of MK to SF was fixed at 60:40 by weight and the powder were mixed with different NaOH concentrations. Second, the effect of MK:SF ratios were investigated. 10 molar NaOH solution was used. The samples were cured at 70oC for 24 hours and at room temperature for 28 days. Thermal conductivity results show that porous geopolymers have low thermal conductivity however the samples were not stable in water. For sample that using aluminum dross as foaming agent, 3 parameters were studied. First, the effect of aluminum dross contents were investigated. Second, the effect of Na2SiO3:NaOH ratios were investigated. The final, the effect of solid to liquid ratios were investigated. The results show that 1.5% of aluminum dross, Na2SiO3:NaOH ratio of 2.5 and solid to liquid ratio of 0.86 has compressive strength of 11.76 MPa which is higher than the Thai Industrial Standards (TIS. 1505-2541, autoclaved aerated lightweight concrete elements). In addition, thermal conductivity of product is 0.27 W m-1 K-1 which is lower than clay brick. For sample that using aluminum powder as foaming agent, the effect of aluminium powder contents was investigated. The sample that composed of 0.7% aluminum powder has compressive strength of 15.27 MPa, and thermal conductivity of 0.27 W m-1 K-1.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีเซรามิก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46519
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1286
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1286
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5572178823.pdf6.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.