Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46548
Title: การพัฒนาแบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย: การวิเคราะห์ความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลการวัดระหว่างแผนการเรียน
Other Titles: DEVELOPMENT OF SCIENTIFIC MIND SCALE OF UPPER SECONDARY SCHOOL STUDENT:AN INVARIANCE ANALYSIS OF MEASUREMENT MODEL ACROSS PROGRAMS
Authors: สุนารี มีใหม่
Advisors: อวยพร เรืองตระกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Auyporn.Ru@Chula.ac.th,rauyporn@chula.ac.th
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) ตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 3) วิเคราะห์ความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลการวัดจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายระหว่างแผนการเรียน ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 935 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายชนิดสถานการณ์ ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ความตรงเชิงเนื้อหา ความตรงเชิงลู่เข้า ความตรงเชิงจำแนก ความเที่ยง อำนาจจำแนก ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และวิเคราะห์ความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลการวัดโดยใช้โปรแกรมลิสเรล ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นเป็นแบบวัดชนิดสถานการณ์ที่มีตัวเลือก 5 ระดับตามแนวคิดการวัดจิตพิสัยของ Krathwohl et al. จำนวน 30 ข้อ 2) ผลการตรวจสอบคุณภาพ พบว่า แบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายมีความตรงเชิงเนื้อหา (IOC=0.5 ถึง 1.0) ข้อคำถามสามารถวัดคุณลักษณะเดียวกัน และแยกวัดในแต่ละคุณลักษณะได้ชัดเจน มีความเที่ยงทั้งฉบับอยู่ในระดับสูง (0.91) มีค่าความเที่ยงของแต่ละคุณลักษณะอยู่ในระดับสูง (0.80 ถึง 0.86) แบบวัดสามารถจำแนกนักเรียนกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำได้ โมเดลการวัดมีความตรงเชิงโครงสร้าง และ 3) โมเดลการวัดจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายมีความไม่แปรเปลี่ยนระหว่างแผนการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ กับแผนการเรียนคณิตศาสตร์ – ภาษา นั่นคือ แบบวัดจิตวิทยาศาสตร์สามารถใช้วัดนักเรียนได้ทั้งสองแผนการเรียน
Other Abstract: The purposes of this research: 1) to develop the scientific mind scale of upper secondary school students, 2) to check the quality of the scientific mind scale of upper secondary school students, 3) to analyze invariance scientific mind measurement model of upper secondary school student across program. The sample used in this research was 935 upper secondary school students. The research instrument was the scientific mind scale of upper secondary school students, situation test form. Data were analyzed by content validity, convergent validity, discriminant validity, reliability and discrimination by computer program. Analyze the confirmatory factor analysis and testing measurement invariance by LISREL program. The research findings: 1) the scientific mind scale was a situation test form. Choices 5 level Krathwohl et al's affective domain 30 items. 2) the quality of scientific mind scale of upper secondary school students found that the developed scale had a content validity as measured by IOC index (IOC=0.5 to 1.0). Have convergent and discriminant validity. High reliability of scientific mind scale of upper secondary school students was 0.91. The high reliability of 10 scientific mind's factors (0.80 to 0.86). The resulted in the statistically significant different in score test between programs. The measurement model is consistency fitted to the empirical data and 3) the model of scientific mind scale of upper secondary school students was invariance between Science-Mathematics and Mathematics-Language programs furthermore the scientific mind test can be measured in both programs.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46548
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5583832327.pdf5.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.