Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46589
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorบุรณี กาญจนถวัลย์en_US
dc.contributor.authorจิรภรณ์ แนวบุตรen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-19T03:41:01Z
dc.date.available2015-09-19T03:41:01Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46589
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractเหตุผลของการทำวิจัย : กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืด ( Myofascial Pain Syndrome ) เป็นกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อที่พบได้บ่อยมากในกลุ่มประชากรวัยกลางคน หรือวัยทำงาน เป็นสาเหตุหนึ่งของกลุ่มอาการปวดเรื้อรังที่พบบ่อยที่สุด ปัจจัยทางด้านจิตใจ ความเครียด วิตกกังวลและความเศร้า เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการเกิดโรค การนวดไทยเป็นอีกหนึ่งแนวทางรักษาที่มีผลทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของการนวดแผนไทยต่อระดับความวิตกกังวล ความซึมเศร้า และอาการปวดของผู้ป่วยกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืดที่มารับบริการนวดแผนไทย ณ คลินิกแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รูปแบบการวิจัย : การวิจัยแบบกึ่งทดลอง ( Quasi-experimental research ) one-group pre-post test สถานที่ทำการศึกษา : คลินิกแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตัวอย่างและวิธีการศึกษา: ศึกษาในผู้ป่วยกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืดที่มารับบริการนวดแผนไทย ณ คลินิกแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จำนวน 20 คน กลุ่มตัวอย่างจะได้รับการรักษาโดยการนวดแผนไทย ติดต่อกัน 3 ครั้ง ในวันจันทร์ พุธและศุกร์ของสัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างจะได้รับการประเมินระดับความวิตกกังวล ความซึมเศร้า และระดับความปวด ก่อนและหลังการนวดไทย 3 ครั้ง วิเคราะห์โดยใช้การทดสอบ Pair t-test และ การทดสอบ Wilcoxon Singed rank test เพื่อเปรียบเทียบผลการนวดแผนไทย ก่อนและหลังการรักษา ผลการศึกษา : ในกลุ่มตัวอย่างที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืดมีระดับคะแนนความวิตกกังวล ความซึมเศร้า และระดับความปวดลดลงหลังรับการนวดแผนไทย 3 ครั้ง โดยมีคะแนนเฉลี่ยของระดับความวิตกกังวลก่อนการรักษา เป็น 10.60 และ 5.53 หลังการรักษา คะแนนเฉลี่ยระดับความซึมเศร้าก่อนรักษา เป็น 8.4 และ 4.5 หลังการรักษา และคะแนนเฉลี่ยระดับความปวดก่อนการรักษา เป็น 2.46 และ 1.8 หลังการรักษา สรุป : การรักษาโดยการนวดแผนไทยสามารถลดระดับความวิตกกังวล ความซึมเศร้า และระดับความปวดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) คำสำคัญ : นวดแผนไทย ปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด ความปวด ความวิตกกังวล ความซึมเศร้าen_US
dc.description.abstractalternativeBackground : Myofascial Pain Syndrome is the most common chronic pain disease ,which is mainly occurred in middle age or young working population. Psychological factors, stress, anxiety and sadness and other factors were supposed to affect the severity of disease. Thai massage is one of treatments which expected for both physical and mental effects. Objective : To study the effects of Thai massage on levels of anxiety, depression and Pain level of patients with myofascial pain syndrome at Applied Thai Traditional Medicine Clinic, Faculty of Medicine, Thammasart University. Design : Quasi-experimental research ( one-group pre-post test ) Setting : Applied Thai Traditional Medicine Clinic, Faculty of Medicine, Thammasat U. Materials and Methods : The study was performed in 20 myofascial pain syndrome patients receiving Thai massage treatment at Applied Thai Traditional Medicine clinic, Faculty of Medicine Thammasat U. Three consecutive sessions of Thai massage were operated in all patients. To determine the effect of treatment, all sample were evaluated the level of anxiety and depression and pain level both before and after 3 session Thai massage treatment Paired t-test and Wilcoxon.Singed rank test were applied to analyze the effect. Results : The myofascial pain syndrome patients got significantly lower scores of anxiety, depression and pain level after receiving 3 Thai massage sessions. The average scores of anxiety were 10.60 and 5.53 at pre-treatment and post treatment , consecutively. The average scores of depression were 8.4 and 4.5 at pre-treatment and post treatment , consecutively. The average scores of pain were 2.46 and 1.8 at pre-treatment and post treatment , consecutively. Conclusion : Thai massage treatment can reduce anxiety, depression and pain level in Myofascial pain syndrome significantly.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1337-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectความซึมเศร้า
dc.subjectความวิตกกังวล
dc.subjectความเจ็บปวด
dc.subjectกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืด
dc.subjectการบำบัดด้วยการนวด
dc.subjectการแพทย์แผนโบราณ -- ไทย -- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.subjectDepression
dc.subjectAnxiety
dc.subjectPain
dc.subjectMyofascial pain syndromes
dc.subjectMassage therapy
dc.subjectTraditional medicine -- Thailand -- Thammasat University
dc.titleผลการนวดไทยต่อระดับความวิตกกังวล ความซึมเศร้า และอาการปวดของผู้ป่วยกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืดที่มารับบริการนวดแผนไทย ณ คลินิกแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์en_US
dc.title.alternativeEffects of Thai traditional massage to Anxiety, Depression and Pain level of patients with myofascial pain syndrome at Applied Thai Traditional Medicine Clinic, Faculty of Medicine, Thammasart University.en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineสุขภาพจิตen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorBuranee.K@Chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.1337-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5674251330.pdf2.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.