Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46601
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วรรณี แกมเกตุ | en_US |
dc.contributor.author | นรัญจ์ โกศลเวช | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-09-19T03:41:08Z | - |
dc.date.available | 2015-09-19T03:41:08Z | - |
dc.date.issued | 2557 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46601 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์ความรู้ด้านทักษะชีวิตและสภาพการจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการร่วมกับความรู้ด้านทักษะชีวิตของครู 2) เพื่อพัฒนาโมเดลการวัดความรู้ด้านทักษะชีวิตและโมเดลการวัดทีแพคที่บูรณาการร่วมกับความรู้ด้านทักษะชีวิตของครู 3) เพื่อตรวจสอบความตรงของโมเดลการวัดความรู้ด้านทักษะชีวิตและโมเดลการวัดทีแพคที่บูรณาการร่วมกับความรู้ด้านทักษะชีวิต ของครูที่สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ดำเนินการวิจัยโดยใช้การศึกษาเชิงคุณภาพ กรณีศึกษา คือ โรงเรียนสังกัด ตชด. สพฐ. และ กทม. ที่มีการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการร่วมกับความรู้ด้านทักษะชีวิตตามเกณฑ์ จำนวน 3 แห่ง และผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการร่วมกับความรู้ด้านทักษะชีวิตตามเกณฑ์ จำนวน 4 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับทักษะชีวิตตามการรับรู้ของครู และแบบสังเกตสภาพการจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการร่วมกับความรู้ด้านทักษะชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา สำหรับการศึกษาเชิงปริมาณ ตัวอย่าง คือ ครูในโรงเรียนสังกัด ตชด. สพฐ. และ กทม. จำนวน 532 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัย คือ แบบวัดความรู้ด้านทักษะชีวิตและคุณลักษณะตามกรอบความรู้ทีแพคที่บูรณาการร่วมกับความรู้ด้านทักษะชีวิต มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง .67 – 1.00 มีค่าความเที่ยงอยู่ระหว่าง .877 - .964 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และสถิติเชิงสรุปอ้างอิง ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โดยใช้โปรแกรม SPSS การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง โดยใช้โปรแกรม LISREL ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. ความรู้ด้านทักษะชีวิตตามความคิดเห็นของครู หมายถึง ความสามารถหรือทักษะที่นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ สามารถใช้ในการศึกษาเรียนรู้ การทำงาน หรือประกอบอาชีพ เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข ประสบผลสำเร็จ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี และองค์ประกอบร่วมของความรู้ด้านทักษะชีวิต ประกอบด้วย ความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพ อาหารและโภชนาการ ทักษะการสื่อสาร และทักษะพื้นฐานการทำงาน สำหรับสภาพการจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการร่วมกับความรู้ด้านทักษะชีวิต ประกอบด้วย การสร้างและพัฒนาทักษะชีวิตโดยกระบวนการเรียนการสอนและโดยผ่านการฝึกปฏิบัติ 2. โมเดลการวัดความรู้ด้านทักษะชีวิต ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ ด้านสุขภาพอนามัย ด้านการเรียนรู้ ด้านการงานอาชีพ และ ด้านการอยู่ร่วมกัน ซึ่งโมเดลดังกล่าวมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-Square = 83.52; df = 66; p-value = .0716; GFI = .981; AGFI = .961; RMR = .0046; RMSEA = 0.022) 3. โมเดลการวัดทีแพคที่บูรณาการร่วมกับความรู้ด้านทักษะชีวิตของครู ประกอบด้วย 15 ตัวบ่งชี้ คือ 1) ความรู้ด้านทักษะชีวิต (LK) 2) ความรู้ด้านเนื้อหา (CK) 3) ความรู้ด้านวิชาครู (PK) 4) ความรู้ด้านเทคโนโลยี (TK) 5) ความรู้ด้านวิชาครูบูรณาการกับความรู้ด้านเนื้อหา (PCK) 6) ความรู้ด้านเทคโนโลยีบูรณาการกับความรู้ด้านเนื้อหา (TCK) 7) ความรู้ด้านเทคโนโลยีบูรณาการกับความรู้ด้านวิชาครู (TPK) 8) ความรู้ด้านทักษะชีวิตบูรณาการกับความรู้ด้านเนื้อหา (LCK) 9) ความรู้ด้านวิชาครูบูรณาการกับความรู้ด้านทักษะชีวิต (PLK) 10) ความรู้ด้านเทคโนโลยีบูรณาการกับความรู้ด้านทักษะชีวิต (TLK) 11) ความรู้ด้านเทคโนโลยีบูรณาการกับความรู้ด้านวิชาครูและความรู้ด้านเนื้อหา (TPCK) 12) ความรู้ด้านวิชาครูบูรณาการกับความรู้ด้านทักษะชีวิตและความรู้ด้านเนื้อหา (PLCK) 13) ความรู้ด้านเทคโนโลยีบูรณาการกับความรู้ด้านทักษะชีวิตและความรู้ด้านเนื้อหา (TLCK) 14) ความรู้ด้านเทคโนโลยีบูรณาการกับความรู้ด้านวิชาครูและความรู้ด้านทักษะชีวิต (TPLK) และ 15) ความรู้ด้านเทคโนโลยีความรู้ด้านวิชาครูและความรู้ด้านเนื้อหาบูรณาการร่วมกับความรู้ด้านทักษะชีวิต (TPACK-L) โดยโมเดลดังกล่าวมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-Square = 55.19; df = 42; p-value = .0834; GFI = .987; AGFI = .962; RMR = .0078; RMSEA = 0.024) | en_US |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this study were to 1) analyze life skills knowledge and education management circumstances integrated with life skills knowledge 2) develop the measurement models of life skills knowledge and TPACK integrated with life skills knowledge of teachers 3) validate among measurement model of life skills knowledge and TPACK integrated with life skills knowledge of teachers fit to empirical data. Qualitative research used case study of school under Border Patrol Police, the Office of Basic Education Commission and Bangkok Metropolitan Administration of education management integrated with life skills knowledge as criterion 3 schools and knowledgeable people who education management integrated with life skills knowledge as criterion 4 people. The research instrument used interview form of life skills and observation form of education management circumstances, analyzed data methodology of content analysis. Quantitative research used a multi-stage sampling of teacher school under Border Patrol Police, the Office of Basic Education Commission and Bangkok Metropolitan Administration 532 teachers. The research instrument used questionnaire of life skills knowledge and characteristics of TPACK knowledge framework integrated with life skills knowledge content validity between .67 – 1.00 and reliability between .877 - .964. Analyzed the data using descriptive statistics and inferential statistics; Pearson correlation analysis with SPSS and SEM analysis with LISREL. The major findings were as follows : 1. Life skills knowledge of teachers perception based upon Qualitative research definition of life skills were competency or skills apply to everyday life, apply to learning education, working or earn a living in order that happy live, achievement and high-quality of life. Components of life skills include knowledge of health promotion, knowledge of food and nutrition, communication skills and foundation of working. Learning management circumstances of life skills includes create and develop life skills with process of education and practice 2. Measurement models of life skills knowledge 4 components; health and sanitation, learning, working and coexistence. Validate measurement model of life skills knowledge was fit to the empirical data. (Chi-Square = 83.52; df = 66; p-value = .0716; GFI = .981; AGFI = .961; RMR = .0046; RMSEA = 0.022) 3. Measurement models of life skills knowledge and TPACK integrated with life skills knowledge of teachers 15 indicators; 1) Life skills Knowledge (LK) 2) Content Knowledge (CK) 3) Pedagogical Knowledge (PK) 4) Technological Knowledge (TK) 5) Pedagogical Content Knowledge (PCK) 6) Technological Content Knowledge (TCK) 7) Technological Pedagogical Knowledge (TPK) 8) Life skills Content Knowledge (LCK) 9) Pedagogical Life skills Knowledge (PLK) 10) Technological Life skills Knowledge (TLK) 11) Technological Pedagogical Content Knowledge (TPCK) 12) Pedagogical Life skills Content Knowledge (PLCK) 13) Technological Life skills Content Knowledge (TLCK) 14) Technological Pedagogical Life skills Knowledge (TPLK) and 15) Technological Pedagogical Content Knowledge-Life skills (TPACK-L). Validate measurement model of TPACK integrated with life skills knowledge of teachers was fit to the empirical data. (Chi-Square = 55.19; df = 42; p-value = .0834; GFI = .987; AGFI = .962; RMR = .0078; RMSEA = 0.024) | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.title | การพัฒนาโมเดลการวัดความรู้ด้านทักษะชีวิตและโมเดลการวัดทีแพคที่บูรณาการร่วมกับความรู้ด้านทักษะชีวิตของครู | en_US |
dc.title.alternative | DEVELOPMENT OF MEASUREMENT MODELS OF LIFE SKILLS KNOWLEDGE AND TPACK INTEGRATED WITH LIFE SKILLS KNOWLEDGE OF TEACHERS | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Wannee.K@Chula.ac.th,wannee.k@gmail.com | en_US |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5683345127.pdf | 5.82 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.