Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47010
Title: การผลิตเอกโซพอลิแซ็กคาไรด์โดย Enterobacter cloacae สายพันธุ์ UV1-9 ในถังหมักแบบแบตช์
Other Titles: Exopolysaccharide production by Enterobacter cloacae UV1-19 in batch fermenter
Authors: กัญญา เกิดสุข
Advisors: สุเทพ ธนียวัน
สุชาดา จันทร์ประทีป
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Suthep.T@Chula.ac.th
Suchada.Cha@Chula.ac.th
Subjects: เอกโซโพลิแซ็กคาไรด์จากจุลินทรีย์
โพลิเมอร์จากจุลินทรีย์
Microbial exopolysaccharides
Microbial polymers
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: แม้ว่าจะมีการใช้พอลิเมอร์จากจุลินทรีย์ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ อย่างกว้างขวางแต่ประเทศไทยยังต้องนำเข้าสารดังกล่าวสำหรับการใช้งานอยู่ ในห้องปฏิบัติการได้มีการพัฒนางานด้านนี้มาได้ระดับหนึ่งเพื่อการผลิตพอลิเมอร์ขึ้นเองในประเทศ หนึ่งในงานวิจัยที่ดำเนินการต่อคือการเพิ่มผลผลิตจากสายพันธุ์ที่คัดเลือก ในการนี้ Enterobacter cloacae สายพันธุ์ EN02 ที่แยกได้จากสวนผลไม้ได้รับการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ E. cloacae UV1-9 แล้วเพิ่มขนาดการเลี้ยงในกระบวนการหมักแบบแบตช์ ในถังหมักขนาด 5 ลิตร พบว่าสามารถผลิตพอลิแซ็กคาไรด์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในอาหารเหลวสูตรปรับปรุงซึ่งมีสารสกัดจากยีสต์เป็นแหล่งไนโตรเจนเพียงชนิดเดียว ภายใต้สภาวะการผลิตที่ควบคุมความเป็นกรดเบสเท่ากับ 7 ภาวะการเลี้ยงเชื้อที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส อัตราการให้อากาศ 1 vvm และอัตราเร็วใบกวน 200 รอบต่อนาที เป็นเวลา 36 ชั่วโมง สามารถให้ผลผลิตพอลิแซ็กคาไรด์สูงสุดเท่ากับ 9.917 กรัมต่อลิตร ในเวลา 30 ชั่วโมง ซึ่งมากกว่าการผลิตในระดับขวดเขย่าถึง 9 เท่า โดยมีอัตราการเจริญจำเพาะของจุลินทรีย์ (µ) เท่ากับ 0.1605 กรัมต่อลิตรต่อชั่วโมง อัตราการใช้น้ำตาลซูโครสจำเพาะ (γ) เท่ากับ 1.9214 กรัมซูโครสต่อลิตรชั่วโมง อัตราการผลิตพอลิแซ็กคาไรด์จำเพาะ(ρ) เท่ากับ 0.5896 กรัมพอลิแซ็กคาไรด์ต่อลิตรชั่วโมง ปริมาณของเซลล์ที่ได้ต่อหน่วยที่ถูกใช้ไป (Yx/s) เท่ากับ 0.0453 กรัมต่อลิตรต่อชั่วโมง ปริมาณผลผลิตที่ได้ต่อหน่วยสับสเตรทที่ถูกใช้ไป (Yp/s) เท่ากับ 0.3060 กรัมต่อลิตรต่อชั่วโมง และมีความสามารถในการผลิต เท่ากับ 0.3305 กรัมต่อลิตรต่อชั่วโมง เมื่อศึกษาสมบัติทางเคมีและกายภาพของพอลิแซ็กคาไรด์ที่ผลิตได้ พบว่า เป็นเฮทเทอโรพอลิแซ็กคาไรด์ชนิดประจุลบ ประกอบด้วยน้ำตาลกลูโคสเป็นส่วนใหญ่ โดยมีน้ำตาลกาแลคโทส และไซโลสเพียงเล็กน้อย มีความเสถียรที่อุณหภูมิสูง สามารถละลายน้ำได้ดีที่อุณหภูมิห้องและมีความหนืดสูง นอกจากนี้ยังพบว่าพอลิแซ็กคาไรด์ที่ผลิตได้มีความสามารถในการอุ้มน้ำสูง มีสมบัติเป็นสารก่อการจับกลุ่ม และเป็นอิมัลซิไฟเออร์ต่อน้ำมันจากพืช และสารประกอบไฮโดรคาร์บอน มีปริมาณน้ำตาลและโปรตีนเป็นองค์ประกอบ เท่ากับ 88 % และ 3.6% ตามลำดับ
Other Abstract: Despite the wide usage of microbial polymer in numerous industries, Thailand still has to import these products for her usages. Some groundwork have been laid in our laboratory in an attempt to produce such polymer, one of the extension of this is to increase the exopolysaccharide yield of the selected bacterium. Enterobacter cloacae EN02, an bacterium isolated from fruit orchard was further mutated by UV induction and eventually gave rise of strain UV1-9, a high EPS producer. Scaling up of strain UV 1-9 in a 5 L bioreactor via batch fermentation using optimal conditions of 300C, pH 7.0, aeration rate of 1 vvm and agitation rate of 200 rpm for 36 hr using yeast extract as the only sole nitrogen source, the organism was able to produced exopolysaccharide at 9.917g/L, a nine times higher yield than its corresponding wild type. Results from their characterization including specific growth rate, specific consumption rate, specific production rate, Yx/s, Yp/s and productivity of 0.1605 gL-1h-1, 1.9214 gL-1h-1 , 0.5896 gL-1h-1, 0.0453 gL-1h-1, 0.3060 gL-1h-1 and 0.3305 gL-1h-1 respectively. Further physical and chemical characterizations revealed the polymer as an acidic heteropolysaccharide in nature with glucose, galactose and xylose in its content. As for its physical properties, this exopolysaccharide exhibited a rather heat stable nature 180-6900C with emulsifying property upon testing against plant oil and hydrocarbon compound as well as flocculating activity. The polymer also showed good water solubility at room temperature with a clear gel appearance, viscous and high water holding capacity. Further study revealed that the EPS isolated possessed carbohydrate and protein contents of 88% and 3.6%, respectively.
Description: ทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47010
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2035
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.2035
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sukanya_ke.pdf2.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.