Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47225
Title: การศึกษาต้นทุนการผลิตและการจำหน่ายอ้อยของเกษตรกร ในเขตเกษตรเศรษฐกิจ และนอกเขตเกษตรเศรษฐกิจ
Other Titles: The study on the cost of production and distribution of sugarcane within and outside the agro-economics zone
Authors: รุจิรัตน์ พัฒนศรี
Advisors: ฉัตร ช่ำชอง
นันทพร เลิศบุศย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ต้นทุนการผลิต
อ้อย -- แง่เศรษฐกิจ
Cost
Sugarcane --Economic aspects
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ เนื่องจากเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการผลิตน้ำตาล ซึ่งน้ำตาลนอกจากจะเป็นสินค้าที่จำเป็นสำหรับการบริโภคภายในประเทศแล้ว ยังเป็นสินค้าที่สำคัญต่อการส่งออกนำรายได้มาสู่ประเทศเป็นจำนวนมาก ดังนั้นอ้อยจึงเป็นพืชที่เกษตรกรนิยมปลูกกันมากในภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามลำดับ จากปริมาณการจดทะเบียนการผลิตอ้อยในเขตเกษตรเศรษฐกิจในปีพ.ศ. 2525 ปรากฏว่าในเขต 31 จังหวัด 127 อำเภอและกิ่งอำเภอ มีผู้มาจดทะเบียน 102,196 ราย พื้นที่ผลิตรวม 4.03 ล้านไร่ และปริมาณผลผลิตอ้อยรวม 33.06 ล้านตัน หรือร้อยละ 97 ของปริมาณอ้อยทั้งหมด สำหรับเกษตรกรที่ปลูกอ้อยนอกเขตเกษตรเศรษฐกิจ ในเขต 31 จังหวัด 98 อำเภอ และกิ่งอำเภอ มีจำนวน 4,464 ราย พื้นที่ผลิต 118,089 ไร่ และมีปริมาณผลผลิตอ้อย 1.04 ล้านตัน วัตถุประสงค์หลักของวิทยานิพนธ์นี้ก็เพื่อทำการศึกษาต้นทุนการผลิตและการจำหน่ายอ้อยของเกษตรกรในเขตเกษตรเศรษฐกิจ เปรียบเทียบกับเกษตรกรนอกเขตเกษตรเศรษฐกิจ วิธีการศึกษากระทำโดยการออกแบบสอบถามเพื่อสัมภาษณ์เกษตรกรที่อยู่ในเขตที่จะทำการสำรวจ คือ ภาคกลาง ในเขตเกษตรเศรษฐกิจ – อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นอกเขตเกษตรเศรษฐกิจ – อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในเขตเกษตรเศรษฐกิจ – อำเภอน้ำพองและอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น นอกเขตเกษตรเศรษฐกิจ – อำเภอภูเขียวและอำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ข้อมูลที่ได้จากการสอบถามจะนำมาคำนวณต้นทุนการผลิตและการจำหน่ายอ้อยของแต่ละเขตโดยการเฉลี่ยแบบธรรมดา แบบถ่วงน้ำหนัก สำหรับการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตและการจำหน่ายอ้อยจะใช้วิธีการเปรียบเทียบระหว่างเกษตรกรที่มีขนาดพื้นที่ผลิตต่างกันในเขตเดียวกัน และเปรียบเทียบระหว่างเกษตรกรในเขตเกษตรเศรษฐกิจ กับเกษตรกรนอกเขตเกษตรเศรษฐกิจ นอกจากนี้จะคำนวณค่าใช้จ่ายแต่ละรายการเป็นค่าร้อยละของต้นทุนรวมด้วย ผลจากการศึกษาปรากฏว่าการปลูกอ้อยในพื้นที่ขนาดเล็ก และขนาดกลางไม่เกิน 100 ไร่ ทั้งใจและนอกเขตเกษตรเศรษฐกิจจะเสียต้นทุนในการผลิตอ้อยต่ำกว่าการปลูกอ้อยในพื้นที่ขนาดใหญ่ และเกษตรกรนอกเขตเกษตรเศรษฐกิจมีต้นทุนการผลิตอ้อยต่ำกว่าเกษตรกรในเขตเกษตรเศรษฐกิจ แต่มีต้นทุนการจำหน่ายอ้อยสูงกว่า อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาถึงต้นทุนรวมปรากฏว่าเกษตรกรที่อยู่นอกเขตเกษตรเศรษฐกิจมีต้นทุนการผลิตและการจำหน่ายอ้อยสูงกว่าเกษตรกรที่อยู่ในเขตเกษตรเศรษฐกิจ เกษตรกรในเขตอำเภอบางสะพาน มีต้นทุนการผลิตและการจำหน่ายอ้อยตันละ 487.08 บาท สูงกว่าต้นทุนของเกษตรกรในเขตอำเภอปราณบุรีตันละ 41.02 บาท ในขณะที่เกษตรกรในเขตอำเภอปราณบุรีมีต้นทุนการผลิตและการจำหน่ายอ้อยตันละ 446.06 บาท เกษตรกรในเขตจังหวัดชัยภูมิ มีต้นทุนการผลิตและการจำหน่ายอ้อยตันละ 454.77 บาท สูงกว่าต้นทุนของเกษตรกรในเขตจังหวัดขอนแก่นตันละ 28.76 บาท ในขณะที่เกษตรกรในเขตจังหวัดขอนแก่นมีต้นทุนการผลิตและการจำหน่ายอ้อยตันละ 428.01 บาท จากผลของการเปรียบเทียบดังกล่าวข้างต้น สรุปได้ว่าการที่เกษตรกรนอกเขตเกษตรเศรษฐกิจมีต้นทุนรวมสูงกว่าเนื่องจากเกษตรกรกลุ่มนี้มีแหล่งผลิตอยู่ไกลจากโรงงานน้ำตาลมากทำให้เสียค่าขนส่งสูง และจากการคำนวณค่าร้อยละของค่าใช้จ่ายแต่ละรายการต่อต้นทุนรวมปรากฏว่าค่าขนส่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้ต้นทุนของเกษตรกรไร่อ้อยสูง คิดเป็นร้อยละ 24.71 ของต้นทุนรวมโดยเฉลี่ยทุกเขต ดังนั้นการที่รัฐบาลกำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจของอ้อยให้เกษตรกรปลูกในรัศมีห่างจากโรงงานไม่เกิน 100 กิโลเมตร จึงเป็นการสมควร นั่นคืนเกษตรกรที่อยู่นอกเขตเกษตรเศรษฐกิจไม่ควรจะปลูกอ้อยอีกต่อไป ปัญหาในการผลิตและการจำหน่ายอ้อยเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่ายทั้งฝ่ายเกษตรกร โรงงานน้ำตาล และรัฐบาล จากการศึกษานี้พบว่ามีปัญหาที่สำคัญคือ ปัญหาด้านการผลิตการตัดและขนส่งอ้อย ซึ่งมักเกิดจากเกษตรกรขาดความรู้ และ/หรือไม่สนใจที่จะปรับปรุงวิธีการผลิต ตลอดทั้งไม่มีการวางแผนในการตัดและขนส่งอ้อย ทำให้ได้ผลผลิตอ้อยที่มีคุณภาพต่ำ ความหวานน้อย นอกจากนี้ปัญหาด้านต้นทุนที่ค่อนข้างสูง และด้านการตลาดของอ้อยซึ่งเกิดจากความขัดแย้งในเรื่องการกำหนดราคาอ้อยระหว่างเกษตรกรและโรงงาน้ำตาล ตลอดทั้งวิธีการซื้อขายอ้อยก็เป็นปัญหาที่สำคัญที่เกิดขึ้นทุกฤดูการผลิต สำหรับข้อเสนอแนะซึ่งเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาต่างๆ ก็คือเกษตรกร โรงงานน้ำตาล และรัฐบาลจะต้องร่วมมือกันและพัฒนาไปพร้อมๆ กันทุกด้าน เช่นหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องควรให้คำแนะนำ ช่วยเหลือเกษตรกรในด้านการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทำการวิจัยเรื่องพันธุ์อ้อยให้ได้พันธุ์ที่เหมาะสม มีการกำหนดแหล่งผลิตอ้อยที่เหมาะสม ฯลฯ ปัจจุบันรัฐบาลได้นำเอาระบบแบ่งปันผลประโยชน์แบบ 70:30 มาใช้ทำให้เกษตรกร โรงงานน้ำตาล และรัฐบาลได้เข้ามามีบทบาทในการซื้อขายร่วมกัน การศึกษานี้เห็นด้วยกับนโยบายวิธีการซื้อขายอ้อยตามระบบความหวาน ซึ่งรัฐบาลจะนำมาใช้ทั่วประเทศในปีการผลิต 2529-30 เพราะจะเป็นแรงจูงใจให้ทั้งเกษตรกรและโรงงานน้ำตาลพัฒนาคุณภาพการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด อย่างไรก็ตามจะต้องมีการกำหนดประสิทธิภาพของโรงงาน คุณภาพของน้ำตาล และวิธีวัดปริมาณน้ำตาลในอ้อยให้เป็นมาตรฐาน เหมาะสมและเป็นธรรมกับทุกๆ ฝ่ายด้วย
Other Abstract: Sugarcane (Saccharum Officinarum L.) is one of the important economic crops since it is used as the raw material in sugar production while sugar is not only the essential goods for domestic consumption, but also the important export product that earns a large amount of income to the nation. Many farmers are now engaged in sugarcane production, in the Central, East, North and Northeastern regions of Thailand. In 1982 there were 102,196 cane growers in 31 provinces, 127 districts with registered areas of sugarcane production of 4.03 million rai within the agro-economic zone. These growers produced 33.6 million tons of sugarcane or about 97% of total products, while 4,464 cane growers in 31 provinces, 98 districts, with registered production areas of 118,089 rai outside the agro-economic zone, produced 1.04 million tons of sugarcane. The main objective of this thesis is to study and compare the costs of production and distribution of sugarcane grown within and outside the agro-economic zone. This study was conducted by using the designed questionnaires to interview the cane growers within the following ares: Central region, the selected areas were – within the agro-economic zone-Amphoe Pranburi, Prachubkirikhan province – outside the agro-economic zone-Amphoe Bangsaparn, Prachubkirikhan province Northeastern region, the selected areas were – within the agro-economic zone-Amphoe Namphon and Amphoe Muang, Khonkaen province – outside the agro-economic zone-Amphoe Pockeao and Amphoe Kornsarn, Chaiyapoom province. The information available from the questionnaires were then averaged as costs of production and distribution of sugarcane using simple and weighted average methods. The comparison among the cane growers who had different sizes of growing area in the same region and that between that cane growers within and outside the agro-economic zone were obtained from the analysis on cost of production and distribution of sugarcane. In addition, the calculation of each expense item as percentage of total cost was also made in this analysis. The research results showed that the cost of cane production in small and medium sizes not more than 100 rai cheaper than that of the large size and the production cost of sugarcane outside the agro-economic zones was less than that within the agro-economic zone, but opposite results were obtained from the analysis on distribution cost. When the total cost was considered, however, the study found that the cost of production and distribution of sugarcane outside the agro-economic zone was higher than those within the zone, i.e., the cane growers in Amphoe Bangsaparn paind 487.08 Bath/ton as the total cost or 41.02 Baht/ton higher than that 446.06 Baht/ton paid by cane growers in Amphoe Pranburi, the cane growers in Chaiyapoom province paid 454.77 Baht/ton as the total cost or 26.76 Baht/ton higher than that of 428.01 Baht/ton paid by cane growers in Khonkaen provice. From the above comparison it might be concluded that the factor which causes the total cost of the growers outside the agro-economic zone to be higher than that within the zone was due to the longer distance from the mill of the farms located outside the agro-economic zone than the farms located within the zone. For the calculation of each expense as percentage of total cost, it showed that transportation cost was the major factor that contributed towards the higher cost of sugarcane, it amounted of 24.71% of the total cost by average. Thus the government policy regulating the agro-economic zone for sugarcane production to be within the distance of 100 kms. from the sugar mill was reasonable. The cane growers outside the agro-economic zone should no longer produce their sugarcane since the cost of transportation would be high. The problems on production and distribution of sugarcane concern many parties, namely, cane growers, sugar millers and the government. The study indicated that the main problems found concerning production, harvesting and transportation stem from the lack of knowhow and/or the passive attitude of the cane growers to improve the production, including the lack of planning for harvesting and transportation. These problems generated low quality of cane with lower c.c.s. (Commercial Cane Sugar) value than the normal rate. The other relevant problems are the high costs and marketing problems. Thus the pricing system should be determined by three parties concerned, comprising of cane growers, millers, and the government. The close cooperation among these three agencies in solving the concerned problems are recommended, i.e., the government should help solve some technical problems to increase production efficiency. At present, the 70:30 benefit sharing system has been implemented in sugar trading between growers and sugar millers. The result of the study totally supported the government’s policy of buying cane on c.c.s. basis which will be widely implemented in the production year 1986-87. However, this method will be more effective only if the efficiency of sugar production, quality of sugar and the standard system of measuring the c.c.s. value are standardized for all mills. Finally this trading system basing on sugar quality will be recognized as the reasonable, and fair method for both cane grower and millers.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: บัญชีมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบัญชี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47225
ISBN: 9745649813
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ruchirat_pa_front.pdf2.31 MBAdobe PDFView/Open
Ruchirat_pa_ch1.pdf983.6 kBAdobe PDFView/Open
Ruchirat_pa_ch2.pdf4.53 MBAdobe PDFView/Open
Ruchirat_pa_ch3.pdf3.94 MBAdobe PDFView/Open
Ruchirat_pa_ch4.pdf5.97 MBAdobe PDFView/Open
Ruchirat_pa_ch5.pdf1.83 MBAdobe PDFView/Open
Ruchirat_pa_back.pdf10.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.