Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47234
Title: การศึกษาหาความชุกของแอนตีนิวโทรฟิลซัยโตพลาสมิกแอนตีบอดี ในผู้ป่วยหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบ
Other Titles: Prealence of antineutrophil cytoplasmic antibody in patients with leukocytoclastic vasculitis
Authors: อิสสระ ซอสุขไพบูลย์
Advisors: วิวัฒน์ ก่อกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Wiwat.K@Chula.ac.th
Subjects: หลอดเลือด -- โรค
หลอดเลือด -- โรค -- ผู้ป่วย
Blood-vessels -- Diseases
Blood-vessels -- Diseases -- Patient
Issue Date: 2537
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จากรายงานต่างๆ ที่ผ่านมามีการตรวจสอบ ANCA ในโรคหลอดเลือดอักเสบต่างๆ หลายชนิด สามารถนำมาเป็นประโยชน์ทางคลินิกใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการรักษาและเฝ้าติดตามโรคได้เป็นอย่างดี แต่ยังไม่มีการศึกษาในโรคหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบ การวิจัยครั้งนี้จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาหาความชุกของแอนตีนิวโทรฟิลซัยโตพลาสมิกแอนตีบอดี (ANCA) โดยวิธี Indirect immunofluorescent (IIF) ในผู้ป่วยหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบและศึกษาถึงประโยชน์ในทางคลิกนิกของการตรวจพบ ANCA นี้ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประวัติการเจ็บป่วย การตรวจร่างกาย การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการรักษาของผู้ป่วย นำมาเปรียบเทียบระหว่างผู้ป่วยที่ตรวจพบ ANCA และผู้ป่วยที่ตรวจไม่พบ ANCA เพื่อใช้ประโยชน์ในการเฝ้าติดตามการรักษาและศึกษาถึงพยาธิกำเนิดของ ANCA ต่อโรคดังกล่าวนี้ผลการวิจัยได้ผู้ป่วยเข้าศึกษา 33 ราย สาเหตุของการเกิดโรคเกิดจากไม่ทราบสาเหตุ 28 ราย และเป็นผู้ป่วย Henoch-Schoenlein purpura 5 ราย สามารถตรวจพบ ANCA ในน้ำเหลืองของผู้ป่วย 19 ราย จากทั้งหมด 33 ราย คิดเป็นร้อยละ 57.6 พบการเรืองแสงเป็น C-ANCA 17 รายและ P-ANCA 2 ราย การตรวจพบ ANCA นี้มีความสัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบ โดยตรวจไม่พบในกลุ่มคนปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.00001 ระดับความเข้มข้นพบว่าส่วนใหญ่เท่ากับ 1:256 การศึกษาความแตกต่างระหว่างผู้ป่วยหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบที่ตรวจพบ ANCA และการตรวจไม่พบ ANCA พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทางด้านอายุ เพศ การเกิดโรคเป็นครั้งแรก หรือเป็นซ้ำ ความรุนแรงของโรคเช่น ความรุนแรงของผื่นที่ผิวหนัง และการเกิดภาวะแทรกซ้อน การที่ตรวจพบ ANCA ในผู้ป่วยหลอดเลือดขนาดเล็กอักเสบนี้โดยไม่พบในคนปกติ เป็นการสนับสนุนผลงานวิจัยต่างๆ ที่ผ่านมาว่า ANCA น่าจะมีความสัมพันธ์กับโรคนี้ แต่เนื่องจากไม่มีความแตกต่างในลักษณะทางคลินิกระหว่างผู้ป่วยที่ตรวจพบ ANCA และตรวจไม่พบ ANCA รวมทั้งไม่มีความแตกต่างกันในด้านความรุนแรงของโรคระหว่างผู้ป่วยที่มีระดับความเข้มข้นสูงหรือต่ำ จึงสรุปได้ว่าการตรวจพบ ANCA อาจจะเป็นเพียงปรากฏการณ์ที่พบร่วมกับโรคหลอดเลือดเล็กอักเสบเท่านั้น
Other Abstract: Leukocytoclastic vasculitis (LCV) is a disease with varying severitiy; from sole cutaneous manifestations to vasculitis in internal organs. At present, physicians have to give intensive care to patients. There is no parameter which can provide accurate prognosis of the disease. The objects of this research are to find the prevalence of ANCA by indirect immunofluorescent technique in patients with LCV, to find the clinical implication of ANCA detection by collecting clinical data between the groups with versus without ANCA, to utilize the results during follow up and to elucidate the pathogenesis of ANCA in LCV. Thirty three cases were included in the study. The diagnosis included 28 idiopathic LCV and 5 Henoch-Schoenlein purpura (HSP) patients. ANCA was found in 19 of 33 patients (57.6%). There were C-ANCA in 17 patients and P-ANCA in 2 patients. The finding of ANCA correlated with LCV at the p-value of 0.00001. The ANCA dilution titer was 1:256 in most cases. There were no statistical differences between the patients with versus without ANCA with reguard to gender; age; disease episode; severity of cutaneous involvement and complications of internal organs. The finding of ANCA in patients with LCV but not in control patients support previous studies that ANCA correlates with this disease. There were neither significant clinical findings between the patients with versus without ANCA, nor correlations between clinical seversus ANCA titer. In conclusion, the finding of ANCA might only be an epiphemenon in LCV patients, and might not contribute in the pathogenesis of the disease. It needs further investigations.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47234
ISBN: 9745849812
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Issara_ha_front.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open
Issara_ha_ch1.pdf679.25 kBAdobe PDFView/Open
Issara_ha_ch2.pdf1.66 MBAdobe PDFView/Open
Issara_ha_ch3.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
Issara_ha_ch4.pdf2.48 MBAdobe PDFView/Open
Issara_ha_ch5.pdf1.53 MBAdobe PDFView/Open
Issara_ha_ch6.pdf377.03 kBAdobe PDFView/Open
Issara_ha_ch7.pdf401.78 kBAdobe PDFView/Open
Issara_ha_ch8.pdf750.11 kBAdobe PDFView/Open
Issara_ha_ch9.pdf9.7 MBAdobe PDFView/Open
Issara_ha_ch10.pdf793.65 kBAdobe PDFView/Open
Issara_ha_ch11.pdf447.7 kBAdobe PDFView/Open
Issara_ha_back.pdf3.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.