Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47327
Title: วิธีการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
Other Titles: Selection of Senators in Thailand
Authors: สุรินทร์ สุทธิธรรมดำรง
Advisors: นันทวัฒน์ บรมานันท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: วุฒิสมาชิก -- การเลือกตั้ง
นิติบัญญัติ
กฎหมายรัฐธรรมนูญ
ไทย -- การเมืองและการปกครอง
Issue Date: 2536
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จากการที่สมาชิกวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรต่างก็มีหน้าที่ในทางนิติบัญญัติ และรัฐธรรมนูญก็ได้กำหนดให้สภาทั้งสองทำหน้าที่เป็นผู้แทนปวงชน แต่ในทางปฏิบัติแล้วปรากฏว่าสภาทั้งสองมีวิธีการได้มาซึ่งสมาชิกภาพที่แตกต่างกัน กล่าวคือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มีมาจากการเลือกตั้ง ส่วนสมาชิกวุฒิสภากลับมีที่มาจากการแต่งตั้งซึ่งไปสอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตยและหลักความเป็นผู้แทนปวงชนวิทยานิพนธ์เล่มนี้จึงมุ่งศึกษาถึงการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาของไทยโดยเปรียบเทียบกับวิธีการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาของต่างประเทศ เพื่อนำไปสู่วิธีการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาของไทยว่าควรจะเป็นรูปแบบใด จากการศึกษาพบว่าวิธีการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาของต่างประเทศส่วนใหญ่แล้วจะมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ซึ่งอาจโดยวิธีการเลือกตั้งทางตรงหรือทางอ้อมก็ได้ วิธีการดังกล่าวทำให้ได้ตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริง อีกทั้งยังสอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตยอีกด้วย ดังนั้นเพื่อให้สมาชิกวุฒิสภาของไทยทำหน้าที่และมีสถานะเป็น ตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริง และสามารถทำงานได้อย่างอิสระตามวัตถุประสงค์ของการมีวุฒิสภาดังเช่นนานาประเทศ จึงสมควรจะเปลี่ยนวิธีการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาของไทยจากการแต่งตั้งมาเป็นวิธีการเลือกตั้ง ผู้เขียนเห็นว่าการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาที่เหมาะสมกับประเทศไทยขณะนี้ควรให้สมาชิกวุฒิสภาได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรง และจะทำการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในวันเดียวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วยวิธีการเลือกตั้งจากบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองเสนอมาโดยไม่บังคับว่าประชาชนจะต้องเลือกสมาชิกวุฒิสภา และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นพรรคเดียวกันและจะแบ่งสัดส่วนจำนวนของสมาชิกวุฒิสภาระหว่างพรรคตามคะแนนนิยมที่ได้รับจากประชาชน
Other Abstract: The Senator and the Representative. Their duties by legislation and the constitution have been assigned, their duty is to represent the people. In practice, They have different path to becoming a represent of people. that, the’ representative is come from selection bur the senator’s position is appointment. The practice does not follow the democratic principle. The purpose of this is to study path to becoming a senator and compared to oversea countries. This studying shows that, the oversea countries usually select their senator’s by the selection.that, they have direct of indirect. The above two ways follow a democratic policy whereby the people select a senator. They think, they will have really represent them. The democratic system gives freedom to a senator to make his own decisions as the oversea countries so, should be change from an appointment to the selection. Opinion’s writer: Thailand’s current should be direct system and on the same day with selection of the representative with to select from list of people, whom, the party to present. This method not ban people must be select the senator and the representative in the same party and will be devide the member of the senator between the other by the propotional system.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.) --จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47327
ISBN: 9745830461
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Surin_su_front.pdf5.02 MBAdobe PDFView/Open
Surin_su_ch1.pdf3.39 MBAdobe PDFView/Open
Surin_su_ch2.pdf10.82 MBAdobe PDFView/Open
Surin_su_ch3.pdf4.5 MBAdobe PDFView/Open
Surin_su_ch4.pdf2.83 MBAdobe PDFView/Open
Surin_su_ch5.pdf8.51 MBAdobe PDFView/Open
Surin_su_ch6.pdf4.59 MBAdobe PDFView/Open
Surin_su_back.pdf6.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.