Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/474
Title: | การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ทางการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน |
Other Titles: | A development of non-formal education learning process based on action learning concept for enhancing work performance of village health volunteers |
Authors: | ประจวบ แหลมหลัก |
Advisors: | อาชัญญา รัตนอุบล ชลทิตย์ เอี่ยมสำอางค์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Archanya.R@chula.ac.th |
Subjects: | การศึกษานอกระบบโรงเรียน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน การเรียนแบบมีส่วนร่วม |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัญหาในการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และพัฒนากระบวนการเรียนทางการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานของ อสม. ตามแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้จากการปฏิบัติ และศึกษาปัญหาของการดำเนินการตามกระบวนการเรียนรู้ทางการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่ได้พัฒนาขึ้น ประชากรในการศึกษาครั้งนี้คือ อสม. ที่ปฏิบัติงานอยู่ใน 9 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ขั้นตอนการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะแรกเป็นการศึกษาปัญหาการปฏิบัติงานของ อสม. โดยใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจาก อสม. จำนวน 400 คน และสัมภาษณ์กลุ่มผู้ที่มีส่วนได้เสียจากการปฏิบัติงานของ อสม. จำนวน 5 กลุ่ม ระยะที่สองเป็นการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ โดยเริ่มตั้งแต่นำปัญหามาใส่เป็นเนื้อหากิจกรรมตามขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้ที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรม ตรวจสอบกระบวนการเรียนรู้โดยผู้เชี่ยวชาญ ทดลองใช้กระบวนการเรียนรู้ใน อสม. จำนวน 40 คน และสรุปขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้ ระยะที่สามเป็นการศึกษาปัญหาการดำเนินการตามขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้แบบสอบถาม การประชุมกลุ่มร่วมกันระหว่างผู้วิจัยกับ ผู้อำนวยความสะดวกประจำกลุ่ม และเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย และการอภิปรายกลุ่มของตัวแทนผู้เข้าร่วมทดลองใช้กระบวนการเรียนรู้ทุกกลุ่ม ผลการวิจัย 1. งานตามบทบาทหน้าที่ที่ อสม. มองว่าเป็นปัญหาคือ การคัดกรองและดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูง และเมื่อสัมภาษณ์กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียจากการปฏิบัติงานของ อสม. พบว่า ต้องการให้ อสม. มีความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงอย่างถูกต้อง ระบุกลุ่มที่สอง คัดกรอง และส่งต่อผู้ป่วยในเขตรับผิดชอบของตนเองได้ถูกต้องและครอบคลุม ผลิตยาขั้นพื้นฐานสำหรับการรักษาโรคได้ และบอกวิธีการปฏิบัติตัวเพื่อลดความดันได้ถูกต้อง 2. เมื่อนำปัญหามาใส่เป็นเนื้อหากิจกรรมตามขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้ที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรมและส่งให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสมแล้ว พบว่า กระบวนการเรียนรู้แบ่งเป็น 8 ขั้นตอนหลักคือ การเตรียมความพร้อม การปฐมนิเทศ การระบุปัญหาที่แท้จริง การค้นหาสาเหตุของปัญหา การค้นหาและตัดสินทางเลือกในการแก้ปัญหา การจัดทำแผนปฏิบัติ การดำเนินการตามแผน และการนำเสนอผลการปฏิบัติงาน ระหว่างการดำเนินการแต่ละขั้นตอนผู้วิจัย ผู้อำนวยความสะดวกประจำกลุ่ม และเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย จะเป็นผู้สนับสนุนการการดำเนินการจน อสม. เกิดเรียนรู้และปฏิบัติงานได้ตามเป้าหมาย หลังการทดลองแล้ว อสม. มีความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง มีทักษะในการคัดกรองและดูแลผู้ป่วย และสามารถคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในเขตรับผิดชอบสูงกว่าก่อนดำเนินการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างดำเนินการแบ่งออกเป็น 3 ด้านคือ ด้านผู้จัด ด้านกิจกรรม และด้านอื่น ๆ สำหรับปัญหาด้านผู้จัดคือ ผู้ดำเนินรายการสรุปผลของการดำเนินการไม่ชัดเจน การมีส่วนร่วมในกลุ่มของผู้อำนวยความสะดวกประจำกลุ่ม อสม. มีพฤติกรรมครอบงำความคิดผู้อื่น การติดภารกิจส่วนตัวระหว่างร่วมกระบวนการเรียนรู้ และการใช้เวลาเกินกว่ากำหนด ปัญหาด้านกิจกรรม คือ แผนการดำเนินการขาดความยืดหยุ่น ไม่สอดคล้องกับวิถีการดำเนินชีวิตของ อสม. และปัญหาอื่น ๆ คือ ข้อจำกัดของการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยและองค์กรส่วนท้องถิ่น |
Other Abstract: | The purposes of this research were to analyze problems encountered in village health volunteers' work performance, to develop a non-formal education learning process based on action learning for enhancing work performance of village health volunteers, and to study problems encountered in learning process implementation. Population in this study was village health volunteers in the 9 provinces of the lower northern region of Thailand. There were 3 steps of this study. For the first step, problem analysis, 400 village health volunteers were selected to indicate their work performance problems from the questionnaires and 5 groups of stakeholders explored their expectations on village health volunteers' work performance. For the second step, development of learning process, the problem from the first step was put into learning process from literature review, A group of experts examined the learning process, the learning process was implemented by 40 village health volunteers, and finally the steps of learning process were made a conclusion by the researcher. For the last step, problem analysis of learning process implementation, village health volunteers evaluated the implementation from the questionnaires, from the group of facilitators' meeting, and from group discussion of the involved learning process implementation agency. The results of this research were as follows:-1.Village health volunteers indicated that the problem of their work performances was hypertension patient care. The stakeholders expected that village health volunteers had to have hypertension knowledge, to be able to screen and refer patients in their covered area, to produce basic drugs, and to take care of patients. 2.The 8 stages of learning process after putting problem into learning process from literature review and examined by group of experts were preparaton, activities orientation, problem analysis, the cause of problem analysis, determination of alternative solution and decision-making, action planning, plan implementation and results presentation. The researcher, facilitators, and a public health officer had to support village health volunteers to learn in all stages. The results of implementation were that village health volunteers gained hypertension knowledge, developed risk group screening skill and patient caring skill, and screened risk groups in posttest higher than pretest. 3. There were 4 kinds of problems encountered in this learning process implementation including problems of organizers and problems of activities. The problems of organizers were that set advisor couldn't make any clear conclusion, some of group facilitators took less participation, some of village health volunteers dominated others' idea, some were busy during learning time, and some wasted time on presentation. The problems of activities were that activities were not related to learners' lifestyle. Other problems included limitations of health officers and support of local organization. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | การศึกษานอกระบบโรงเรียน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/474 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.168 |
ISBN: | 9741764219 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2004.168 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Prachuab.pdf | 5.47 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.