Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47406
Title: | การเปรียบเทียบผลการออกกำลังกายแบบหมุนเวียน ระหว่างการฝึก 1 วัน พัก 1วัน กับการฝึก 2 วัน พัก 1 วัน ที่มีต่อสมรรถภาพทางกายบางด้านของนักเรียนชาย ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย |
Other Titles: | A comparison of the effects of circuit expercises training between one day training with one day off and two days training with one off upon the selected physical fitness of upper secondary school male students |
Authors: | วีระ บางแสง |
Advisors: | สุเนตุ นวกิจกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | การฝึกแบบหมุนเวียน สมรรถภาพทางกาย Circuit training Physical fitness |
Issue Date: | 2532 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบผลการออกกำลังกายแบบหมุนเวียน ระหว่างการฝึก 1 วัน พัก 1 วัน กับการฝึก 2 วัน พัก 1 วัน ที่มีต่อสมรรถภาพทางกาย ของนักเรียนชายระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชายมาจากการอาสาสมัคร ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล จำนวน 40 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 20 คน คือ กลุ่มฝึก 1 วัน พัก 1 วัน กับกลุ่มฝึก 2 วัน พัก 1 วัน โดยการจับคู่แบ่งกลุ่ม (Matched group) จากคะนนทดสอบสมรรถภาพทางกาย เครื่องมือที่ใช้วัดสมรรถภาพทางกายประกอบด้วย จักรยานวัดงานแบบโมนาร์ด เครื่องวัดแรงเหยียดขาและหลัง เครื่องวัดแรงดันและแรงดึง เครื่องวัดแรงเหยียดแขนเครื่องวัดปฏิกิริยาการตอบสนอง แท่นวัดความอ่อนตัว นำผลการทดสอบมาวิเคราะห์โดยหาค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คะแนนมาตรฐาน "ที" (T-score) การทดสอบค่า "ที" (t-test) และการทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า การออกกำลังกายหมุนเวียนเป็นเวลา 6 สัปดาห์ โดยการฝึก 1 วัน พัก 1 วัน และฝึก 2 วัน พัก 1 วัน ทั้งสองแบบสามารถพัฒนาสมรรถภาพทางด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อไตรเซป กล้ามเนื้อไบเซปกล้ามเนื้อขาท่อนบนส่วนหน้า กล้ามเนื้อหลัง กล้ามเนื้อหลังส่วนบน กล้ามเนื้อหน้าอก และสมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุด ได้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้น ระยะเวลาการตอบสนอง ไม่มีการพัฒนาขึ้นจากทั้งสองแบบฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนสมรรถภาพทางด้านความอ่อนตัวมีการพัฒนาขึ้นทั้งสองแบบฝึกแต่แบบฝึก 2 วัน พัก 1 วัน ให้ผลในการพัฒนาดีกว่าแบบฝึก 1 วัน พัก 1 วัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งสองแบบฝึกสามารถพัฒนาสมรรถภาพทางกายรวมได้ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | The purpose of this research was to compare the effects of circuit exercises training between one day training with one day off and two days training with one day off upon the selected physical fitness of upper secondary school male students. Fourty male students in upper secondary level at Chaiyaphumpakdeechumpol School were devided into two groups equally of one day training with one day off and two days training with one day off by matching group from physical fitness score. The physical fitness test instruments consisted of Monark Bicycle Ergometer, Back and Leg Muscle Dynamometer, Push and Pull Dynamometer, Myometer, Multichoice Reactive time and Flexibility Box. The obtained data were analized by means, standard diviations, normalized "T-Score" and "t-test", and tested significant difference at the .05 level. The results were the development of capability of muscular strength in Triceps, Biceps, Quadriceps, Latissimus Dorsi, Rhomboid, Trapazius, Pectoralis and Maximal Oxygen Uptake from the circuit exercise in six weeks by one day training with one day off and two days training with one day off, both groups have not significant difference at the .05 level. But reaction time of both groups have not developed. The flexibility of both groups have development, but the training of two days training with one day off have developed better than the training of one day training with one day off significant difference at the .05 level. The development of physical fitness of both groups have not significant at the .05 level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พลศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47406 |
ISBN: | 9745698059 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Weera_sa_front.pdf | 1.61 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Weera_sa_ch1.pdf | 1.58 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Weera_sa_ch2.pdf | 2.13 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Weera_sa_ch3.pdf | 886.06 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Weera_sa_ch4.pdf | 2.01 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Weera_sa_ch5.pdf | 1.6 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Weera_sa_back.pdf | 5.47 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.