Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47424
Title: วินัยข้าราชการรัฐสภาสามัญกับหลักเกณฑ์ทั่วไปในกระบวนการสอบสวน และพิจารณาโทษทางวินัย
Other Titles: The process of disciplinary inquiry applicable to the ordinary parliamentary officials in comparision with the general principles of the disciplinary inquiry process
Authors: อำพน เจริญชีวินทร์
Advisors: นันทวัฒน์ บรมานันท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ข้าราชการรัฐสภา -- วินัย
Issue Date: 2536
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาว่ากระบวนการสอบสวนและพิจารณาโทษทางวินัยของข้าราชการรัฐสภาสามัญ ก.ร. ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2520) นั้น ได้กำหนดไว้สอดคล้องกับหลักบุคคลไม่อาจเป็นผู้พิพากษาในคดีของตนเอง (Nemo Debet Esse Judex in Propria Causa) หรือหลักปราศจากอคติ (freedom from bias) และหลักการรับฟังคู่กรณีทั้งสองฝ่าย (Audi Alteram Partem) อันเป็นหลักการสำคัญที่ใช้ในกระบวนการสอบสวนเพื่อพิจารณาโทษทางวินัยทั่วไปหรือไม่ และศึกษาว่ากระบวนการสอบสวนเพื่อพิจารณาโทษทางวินัยของข้าราชการในประเทศสหรัฐอเมริกาและในประเทศฝรั่งเศส กับกระบวนการสอบสวนและพิจารณาโทษทางวินัยของข้าราชการตุลาการและของข้าราชการอัยการในประเทศไทย ได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ไว้อย่างไร ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการสอบสวนและพิจารณาโทษทางวินัยของข้าราชการรัฐสภาสามัญตามกฎ ก.ร. ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2520) ได้กำหนดไว้ไม่สอดคล้องกับหลักการสำคัญที่ใช้ในกระบวนการสอบสวนเพื่อพิจารณาโทษทางวินัยทั่วไป โดยกฎ ก.ร. ฉบับดังกล่าวเปิดโอกาสให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจและข้าราชการผู้รับมอบหมาย ซึ่งอาจเป็นผู้มีอคติต่อข้าราชการผู้ถูกกล่าวหา เป็นผู้สอบสวนข้าราชการผู้ถูกกล่าวหาดังกล่าวได้ สำหรับกระบวนการสอบสวนเพื่อพิจารณาโทษทางวินัยของข้าราชการในประเทศสหรัฐอเมริกาและในประเทศฝรั่งเศส กับกระบวนการสอบสวนและพิจารณาโทษทางวินัยของข้าราชการตุลาการและของข้าราชการอัยการในประเทศไทยนั้น ได้กำหนดไว้โดยมีหลักเกณฑ์เช่นเดียวกันกับหลักการสำคัญที่ใช้ในกระบวนการสอบสวนเพื่อพิจารณาโทษทางวินัยทั่วไป
Other Abstract: This research has the objective to study the disciplinary inquiry process applicable to the ordinary parliamentary officials under the parliamentary official commission rule No.10 (B.E. 2520) for the purposes to determine whether or not they are compiled with the general principles of disciplinary inquiry process viz Nemo Debet Esse Judex in Propria Causa, Audi Alteram Partem. In addition, a study on the criteria embodied in the United States of America and France and the process applicable to judicial officials and State Attorneys have also been conducted. As a result of the research, it has been established that the disciplinary inquiry process applicable to the ordinary parliamentary officials not embraced the general principles of the disciplinary inquiry process mentioned above. Specifically the parliamentary official commission rule allows the supervisor, may be biased against the alledged officials, to be an inquirer the alledged officials. As regard the disciplinary inquiry process both of the United State of America, France and also the process applicable to both the judicial officials and State Attorneys, have all embodied the general principle of the disciplinary inquiry process.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47424
ISBN: 9745829609
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ampone_ch_front.pdf674.12 kBAdobe PDFView/Open
Ampone_ch_ch1.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open
Ampone_ch_ch2.pdf1.84 MBAdobe PDFView/Open
Ampone_ch_ch3.pdf7.98 MBAdobe PDFView/Open
Ampone_ch_ch4.pdf767.05 kBAdobe PDFView/Open
Ampone_ch_back.pdf2.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.