Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47434
Title: | บทบาทของพนักงานสอบสวนในการดำเนินกระบวนการเรียกประกันทัณฑ์บน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 46 : ศีกษาเฉพาะกรณีก่อนมีการกระทำความผิด |
Other Titles: | The Role of Inquiry officer on ordering to Execute a Bond Under Section 46 of the Penal Code = A Case Study of the Situation Before the Commission of Crime |
Authors: | สิทธิวัชร์ (ขวัญชัย) สุขเกษม |
Advisors: | วีระพงษ์ บุญโญภาส |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | วิธีการเพื่อความปลอดภัย การเรียกประกันทัณฑ์บน ทัณฑ์บน Measure of security Parole |
Issue Date: | 2536 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การดำเนินกระบวนการทางอาญาของพนักงานสอบสวนในการเรียกประกันทัณฑ์บนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 46 เป็นการบังคับใช้วีการเพื่อความปลอดภัยที่มีมูลฐานมาจาก "สภาพอันตาย" ของบุคคลที่จะก่อเหตุร้ายฯ โดยอาศัยหลัก "เหตุอันสมควร" (probable cause) มาประกอบการวินิจฉัย ซึ่งมุ่งผลในการป้องกันมิให้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น (ก่อนมีการกระทำความผิด) จึงต่างไปจากการดำเนินกระบวนการเพื่อวัตถุประสงค์ในการลงโทษอันเป็นการแก้แค้น ข่มขู่ ปรับปรุง แก้ไข ผู้ที่ได้กระทำความผิดมาแล้ว ความสำคัญในการดำเนินกระบวนการเรียกประกันทัณฑ์บน มิใช่อยู่ที่การวินิจฉัย "สภาพอันตราย" และหลัก "เหตุอันสมควร" (probable cause) เท่านั้น จากผลการศึกษาวิจัยพบว่ายังขึ้นอยู่กับ "ดุลพินิจเบื้องต้น" ของพนักงานสอบสวนในการตัดสินใจเริ่มต้นดำเนินการแห่งคดีอีกด้วย สำหรับปัจจัยพื้นฐานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว ย่อมขึ้นอยู่กับ "แนวทาง" ในการดำเนินกระบวนการเรียกประกันทัณฑ์บนที่ชัดเจนและเหมาะสม ซึ่งปัจจุบันไม่มีกำหนดไว้เป็นแนวทางสำหรับปฏิบัติ จึงส่งผลให้เกิดการลังเลสงสัยต่ออำนาจหน้าที่ในการดำเนินกระบวนการให้สมความมุ่งหมายและเป็นอุปสรรคสำคัญที่ลดบทบาทของพนักงานสอบสวนในการควบคุมอาชญากรรมลงไปครึ่งหนึ่งของกระบวนการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม เนื่องจากพนักงานสอบสวนมักจะหันเหไปดำเนินกระบวนการ เพื่อวัตถุประสงค์ในการลงโทษ ซึ่งมีแนวทางการดำเนินการที่ชัดเจนกว่า ในการศึกษาวิจัยนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อจุดประกายในความคิดส่องให้เห็นแนวทางไปสู่จุดหมาย ด้วยการให้ข้อคิดพินิจพิจารณาสำหรับพนักงานสอบสวนในการใช้ดุลพินิจดำเนินกระบวนการเรียกประกันทัณฑ์บน ก่อนมีการกระทำความผิดอาญา ให้เกิดความมั่นใจไม่ลังเลสงสัยในทางปฏิบัติอีกทั้งเพื่อเชื่อมโยงประสานกลไกในระบบความยุติธรรมทางอาญาของรัฐ เช่น อัยการและศาล ให้สอดคล้องกลมกลืนครบกระบวนการที่มีอยู่ และเพื่อผลในการควบคุมอาชญากรรมที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แต่ทั้งนี้การดำเนินกระบวนการดังล่าวจะต้องยึดอยู่ในหลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน (Due Process) ควบคู่กันไปด้วย ซึ่งอาจจะมีการแก้ไข ปรับปรุงบัญญัติกฎหมายในส่วนนี้และส่วนเกี่ยวข้องบ้าง อย่างไรก็ตามไม่อาจคำนึงเฉพาะที่มุ่งให้ความคุ้มครองเพียงอย่างเดียว ควรจะได้คำนึงถึงความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงปลอดภัยของสังคม ซึ่งเป็นเจตนารมย์สูงสุดในการบังคับใช้กฎหมายอาญา |
Other Abstract: | Criminal Proceeding of inquiry officers on ordering to execute a bond under Section 46 of The Penal Code is the enforcement of measure of safety which bases on "cause of danger" of any person who is likely to commit an offence against another person by using "probable cause" for consideration. The purpose of this measure is to prevent any person from committing an offence (before the commission of crime) and this measure also differs from the punishment which has purpose on restribution and reformation. Not only "cause of danger" and "probable cause" are the main principles of ordering to excute a bond but "discretion of inquiry officers" is also very important for the said measure. As there s no guideline for inquiry officers on ordering to execute a bond inquiry officers hesitate to do so and finally they turn to use the process of punishment which is clearer in practice. This thesis will focus on finding the suitable measures of "ordering to execute a bond" for inguiry officers and also the relationship among Criminal Justice Agencies such as public prosecutor and court on this measure in order to achieve effective crime control. However the application of these measures must be in line with due process and the spirit of Law enforcement. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47434 |
ISBN: | 9745829285 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sittiwachr_so_front.pdf | 1.3 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sittiwachr_so_ch1.pdf | 1.01 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sittiwachr_so_ch2.pdf | 2.89 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sittiwachr_so_ch3.pdf | 11.68 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sittiwachr_so_ch4.pdf | 1.25 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sittiwachr_so_ch5.pdf | 1.28 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sittiwachr_so_back.pdf | 8.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.