Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47441
Title: ผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวของโรเจอร์ส ที่มีต่อการลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยโรคหัวใจ ขณะรักษาในโรงพยาบาล
Other Titles: Effects of rogerian group counseling on anxiety reduction in hospitalized heart disease patients
Authors: รัชนี วีระสุขสวัสดิ์
Advisors: หลุย จำปาเทศ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ผู้ป่วย
การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม
ความวิตกกังวล
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวของโรเจอรส์ ที่มีต่อการลดความวิตกกังวลของผู้ปวยโรคหัวใจ ขณะรักษาในโรงพยาบาล โดยมีสมมติฐานว่าความวิตกกังวลของผู้ป่วยโรคหัวใจขณะรักษาในโรงพยาบาลจะลดลงหลังจากเข้าร่วมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคหัวใจขณะรักษาในโรงพยาบาลโรคทรวงอก จำนวน 8 คน เป็นผู้ชาย 3 คนผู้หญิง 5 คน อายุระหว่าง 30-55 ปี ที่สมัครใจเข้าร่วมกลุ่มการทดลอง โดยทุกคนเข้าร่วมการปรึกษาจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวของโรเจอร์สเป็นเวลา 8 วัน ติดต่อกันวันละ 2 ชั่วโมง 30 นาทีรวมเวลา 20 ชั่วโมง มีผู้วิจัยเป็นผู้นำกลุ่มการวิจัยนี้ใช้แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียว ทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pretest-Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือแบบวัดความวิตกกังวลต่อสภาพการณ์ของสปิลเบอร์เกอร์ (State-Trait Anxiety Inventory Form X-1 by Spielberges, 1870) โดยให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบวัดก่อนเข้ากลุ่มและตอบแบบวัดฉบับเดียวกันทันทีหลังจากสิ้นสุดการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลวิจัยทดสอบความแตกต่างของคะแนนความวิตกกังวลที่วัดก่อนการทดลองและหลังการทดลองด้วยการทดสอบค่าที (t-test) ผลของการวิจัยพบว่า คะแนนวิตกกังวลของกลุ่มผู้ป่วยก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระดับ 0.05 แสดงว่า ระดับความวิตกกังวลของผู้ป่วยโรคหัวใจ ขณะรักษาในโรงพยาบาลลดลงหลังจากเข้าร่วมกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวของโรเจอร์ส
Other Abstract: The purpose of this research was to study the effects of Rogerian group counseling on the reduction of anxiety in hospitalized heart disease patients. The tested hypothesis was that anxiety in hospitalized heart disease patients participating in Rogerian group counseling would decrease significantly. The sample included 8 hospitalized heart disease patients in Central Chest Hospital who volunteered to participate in Rogerian group counseling session for 8 consecutive days 2 1/2 hours, each day for a total of 20 hours. There were 3 men and 5 women, aged between 30-55 years. The group leader was researcher. The research design was the one group pretest-posttest design. The instrument used to measure anxiety was the Spielberger. State-Trait Anxiety Inventory, from X-1 which was administered to the patients twice i.e., before and after the group counseling sessions. Differences between the set of scores were tested for significance through the t-test. Results showed that anxiety in hospitalized heart disease patients who participated in the Rogerian group counseling treatment decreased by 11.5 points, significant at the 0.05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47441
ISBN: 9745812099
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ratchanee_ve_front.pdf757.52 kBAdobe PDFView/Open
Ratchanee_ve_ch1.pdf3.66 MBAdobe PDFView/Open
Ratchanee_ve_ch2.pdf2.38 MBAdobe PDFView/Open
Ratchanee_ve_ch3.pdf278.24 kBAdobe PDFView/Open
Ratchanee_ve_ch4.pdf526.12 kBAdobe PDFView/Open
Ratchanee_ve_ch5.pdf369.45 kBAdobe PDFView/Open
Ratchanee_ve_back.pdf976.96 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.