Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47488
Title: การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ข้อมูลการสำรวจ และออกแบบงานทางด้านวิศวกรรมการทาง
Other Titles: Use of computer program in analysis of survey data and design in higway engineering
Authors: วิชชา จินะณรงค์
Advisors: ดิเรก ลาวัณย์ศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ldirek@chula.ac.th
Subjects: วิศวกรรมการทาง -- โปรแกรมคอมพิวเตอร์
Highway engineering -- Computer programs
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โครงการทางวิศวกรรมการทางประกอบด้วยข้อมูลการสำรวจจำนวนมหาศาล อีกทั้งงานออกแบบแนวทางจำเป็นที่จะต้องพิจารณาแนวทางหลายๆ แนวทาง เพื่อให้ได้แนวทางที่เหมาะสมที่สุดยิ่งโครงการมีขนาดใหญ่มากขึ้น งานทั้งสองก็จะยิ่งทวีปริมาณงานมากขึ้น ดังนั้นการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการทำงานดังกล่าว จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาโปรแกรม MOSS เนื่องจากเป็นโปรแกรมที่ใช้ในงานวิศวกรรมการทางที่ถูกพัฒนาล่าสุด โดยใช้หลักการของเส้นข้อมูลในการสร้างแบบจำลองลักษณะพื้นผิวการทำงานของโปรแกรมแบ่งออกได้เป็นสี่ส่วนใหญ่ๆ คือ สำรวจ ออกแบบ วิเคราะห์และแสดงผลด้วยภาพ ในส่วนของการวิเคราะห์และแสดงผลด้วยภาพได้ทำการศึกษาแล้วในวิทยานิพนธ์ของนายวัชรินทร์ กาสลัก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2530 ดังนั้นในที่นี้จึงทำการศึกษาในอีกสองส่วนที่เหลือ ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเพื่อให้ทราบถึงการใช้งาน ประสิทธิภาพและความสามารถของโปรแกรม เป็นข้อมูลของกรมทางหลวงบนถนนสายพัทลุง ตรัง ช่วงหลักกิโลเมตรที่ 37+425 ถึง 38+825 ในการวิเคราะห์ข้อมูลการสำรวจ โปรแกรมสามารถนำข้อมูลการสำรวจภาคพื้นดิน ทุกชนิดมาใช้ได้ แต่เนื่องจากมันถูกออกแบบมาเพื่อให้รับกับข้อมูลการสำรวจแบบระบบพิกัด ดังนั้นข้อมูลการสำรวจแบบใช้โซ่และพิกัดฉากที่ใช้กันโดยปกติในประเทศ จึงจำเป็นที่จะต้องทำการปรับปรุงบ้างเล็กน้อยก่อนที่จะป้อนเข้าสู่โปรแกรม ข้อบกพร่องของโปรแกรมในการวิเคราะห์ข้อมูลการสำรวจภาคพื้นดินคือมันไม่สามารถคำนวณและปรับแก้ค่าการสามเหลี่ยมได้ ในการออกแบบงานทางวิศวกรรมการทาง โปรแกรมสามารถทำการออกแบบแนวทางแบบดั้งเดิมที่ใช้โค้งวงกลมร่วมกับโค้งเปลี่ยนแนวได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นยังสามารถออกแบบแนวทางกำลังสามได้อีกด้วย การใช้แนวทางกำลังสามจะทำให้การออกแบบแนวทางแบบดั้งเดิมล้าสมัยไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตพื้นที่ที่มีข้อจำกัดทางลักษณะภูมิประเทศสูง อย่างไรก็ดีคอมพิวเตอร์เป็นเพียงเครื่องมือที่ใช้ช่วยในการออกแบบเท่านั้น ผู้ออกแบบจักต้องทำการเขียนแบบร่างของแนวทางที่ตนต้องการ เพื่อใช้เป็นตัวกำหนดองค์ประกอบของแนวทางเอง ไม่เพียงแต่งานในด้านวิศวกรรมการทางเท่านั้นโปรแกรมนี้ยังสามารถทำงานอื่นใดก็ได้ที่ต้องการข้อมูลในลักษณะของพิกัด 3 มิติ เช่น โครงข่ายของสาธารณูปโภคสนามบิน งานแหล่งน้ำ งานเหมืองแร่ฯ ได้อีกด้วย
Other Abstract: Highway Engineering Design involved consideral amount of survey data especially the one with several alternative arrangements. The bigger the project, the more work and the more need of survey data for alignment design with the help of computer programe, all there work can be reduced considerably. This thesis involved the studies of MOSS program. The MOSS is the latest program ever developed by using string concept to generate the digital terrain model. Program can be divided in four parts : survey, design, analysis, and visualization. In Mr. Vacharlin Kasaluk's Thesis, Chulalongkorn University, 1987, the analysis and visualization of such programe were presented and for this thesis, the remaining two parts, survey and design were studied. The survey data and alignment design of Patalung-Trung highway, chainage 37+425 to 38+825, from Department of Highway, were used as a case study to determine the efficiency and capability of the program. Program can analyze all kinds of ground survey data. The chainage and offset survey data, which are usually used in Thailand. Therefore the modification of the program was made to covert chainage offset to coordinated survey. The weak point of program to analyze ground survey data is that it can not calculate and adjust triangulation. In highway engineering design; program can be used to design conventional alignment, which is consisted of circular and transition curve, effectively. It can also be used to design cubic spline alignment. The cubic spline alignment design will make the conventional alignment design out-of-date especially in the constrain of higher geography area. The computer program is only assisting in design. The designer has to sketch the element of alignment by himself. Not only in highway engineering design, but MOSS can be also used in other fields, which need data in form of three dimensions; such as public facility net work, airport, water resources, mining and etc.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47488
ISBN: 9745684082
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vicchar_ji_front.pdf1.85 MBAdobe PDFView/Open
Vicchar_ji_ch1.pdf648.92 kBAdobe PDFView/Open
Vicchar_ji_ch2.pdf1.96 MBAdobe PDFView/Open
Vicchar_ji_ch3.pdf5 MBAdobe PDFView/Open
Vicchar_ji_ch4.pdf7.75 MBAdobe PDFView/Open
Vicchar_ji_ch5.pdf10.37 MBAdobe PDFView/Open
Vicchar_ji_ch6.pdf3.21 MBAdobe PDFView/Open
Vicchar_ji_ch7.pdf431.94 kBAdobe PDFView/Open
Vicchar_ji_back.pdf19.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.