Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47528
Title: ปัญหาในการบริหารงานของหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอ เขตการศึกษา 12
Other Titles: Administrative problems of chiefs of district primary education in educational region twelve
Authors: ศักดา ภูเจริญ
Advisors: สนานจิตร สุคนธทรัพย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Snanchit.S@chula.ac.th
Subjects: สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอ -- การบริหาร
การบริหารงานบุคคล
ผู้บังคับบัญชา
การแก้ปัญหา
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพปัญหาสาเหตุและแนวทางในการแก้ไขปัญหาการบริหารงานของหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอ ในเขตการศึกษา 12 ผลการวิจัยพบว่าจากการสัมภาษณ์หัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอ มีปัญหาที่ได้รับการระบุโดยมีคะแนนสูงสุดจำแนกตามลักษณะของงาน ดังนี้ 1. ปัญหาการบริหารงานทั่วไป ได้แก่ ปัญหาการจัดเก็บเอกสารไม่เป็นระบบทำให้ค้นหาลำบาก สาเหตุของปัญหา เจ้าหน้าที่ขาดความรู้และทักษะในการจัดเก็บเอกสาร ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาคือ จัดอบรมเจ้าหน้าที่ให้มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องการจัดเก็บเอกสาร 2. ปัญหาการบริหารงานการเงินและพัสดุ ได้แก่ ปัญหาเจ้าหน้าที่การเงินและพัสดุ สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอขาดความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน สาเหตุของปัญหา เจ้าหน้าที่โอนมาจากข้าราชการครู ซึ่งไม่ได้เรียนด้านการเงินและบัญชีมาโดยตรง ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาก่อนแต่งตั้งเจ้าหน้าที่การเงินสู่ตำแหน่ง ควรจัดอบรมงานในหน้าที่ให้เข้าใจ 3. ปัญหาการบริหารงานนิเทศการศึกษาและงานวิชาการ ได้แก่ อัตรากำลังศึกษานิเทศก์อำเภอไม่เพียงพอ สาเหตุของปัญหา อัตรากำลังไม่ได้สัดส่วนกับครูและโรงเรียน ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหา เพิ่มศึกษานิเทศก์อำเภอเท่ากับจำนวนกลุ่มประสบการณ์ จากการวิเคราะห์เอกสาร พบว่า ปัญหาที่ปรากฏในเอกสารโดยมีความถี่สูงสุดในแต่ละงาน ได้แก่ การไม่กวดขันการอยู่เวรยาม การเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้า และศึกษานิเทศก์อำเภอไม่ออกตรวจเยี่ยมโรงเรียน
Other Abstract: The purpose of the research was to study the administrative problems of chiefs of District Primary Education in Educational Region Twelve. It was found from the interview that:: 1. The major problem in general administration was lack of the filing system. The main cause was insufficient knowledge and skills on the part of the personnel in charge. It was then suggested that in-service training should be provided. 2. The major problem in finance and supplies was lack of knowledge and skills of the authorities concerned since some of them had been transferred from other agencies and had not been trained in this field. Therefore, it was suggested that orientation be provided for those involved. 3. The major problem in supervision and academic affairs was inadeguate district supervisors, caused by inappropriate ratio of supervisors in comparison with teachers, and schools. Therefore, the number of district supervisors should be increased according to areas of learning experiences. From documentary analysis, the problems specified with highest frequency in each area were; 1) no strict control on security measure; 2) delay in budget reimbursement; and 3) no school visit by district supervisors.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47528
ISBN: 9745785563
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sakda_po_front.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
Sakda_po_ch1.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
Sakda_po_ch2.pdf2.37 MBAdobe PDFView/Open
Sakda_po_ch3.pdf460.53 kBAdobe PDFView/Open
Sakda_po_ch4.pdf5.95 MBAdobe PDFView/Open
Sakda_po_ch5.pdf2.62 MBAdobe PDFView/Open
Sakda_po_back.pdf2.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.