Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47559
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุกัญญา หุตะเศรณี-
dc.contributor.authorวิชญะ นาครักษ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-05-23T04:07:04Z-
dc.date.available2016-05-23T04:07:04Z-
dc.date.issued2532-
dc.identifier.isbn9745698377-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47559-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะประยุกต์ทฤษฎีการจัดสรรเวลา (Theory of the Allocation of Time) ซึ่งเป็นทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ในระดับจุลภาค เพื่อมาอธิบายถึงพฤติกรรมในเชิงเศรษฐกิจที่เป็นตัวกำหนดความสามารถในการเล่นกีฬาของนักกีฬาแบดมินตันไทย ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเป็นข้อมูลปฐมภูมิที่ได้จากการสำรวจโดยออกแบบสอบถามให้แก่นักกีฬาที่เข้าร่วมในการแข่งขันแบดมินตันชิงแชมเปี้ยนแห่งประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2532 จำนวน 111 คน โดยใช้วิธีการทางเศรษฐกิจที่เรียกว่าแบบจำลองโลจิตชนิดที่ตัวแปรตามมีมากกว่าสองกลุ่ม (Multinomial logit model) ซึ่งอาศัยวิธีการประมาณค่าแบบวิธีภาวะความน่าจะเป็นสูงสุด (Maximum Likelihood Estimates) เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ดังนั้นขีดความสามารถในการเล่นกีฬาของนักกีฬาของนักกีฬาแบดมินตันไทยจึงถูกวัดด้วยความน่าจะเป็น (Probabilities) ที่นักกีฬาดังกล่าวสามารถกลายเป็นนักกีฬาที่ชาติได้ ทั้งทีมชาติในอดีตและทีมชาติในปัจจุบัน โดยเปรียบเทียบกับการไม่ได้เป็นนักกีฬาทีมชาติ ผลการวิจัยพบว่าตัวแปรอิสระเกือบทุกตัวอันได้แก่ การศึกษา เวลาในการประกอบกิจกรรมอื่นนอกเหนือจากการเล่นกีฬา เวลาในการพักผ่อน (เช่น การนอนหลับ) การทำงานในตลาดแรงงาน เพศ ค่าใช้จ่ายที่มีผู้สนับสนุนจ่ายแทน และรายได้ของครอบครัว เป็นปัจจัยสำคัญที่มีส่วนกำหนดระดับความสามารถในการเล่นกีฬาหรือความน่าจะเป็นนักกีฬาสามารถกลายเป็นนักกีฬาทีมชาติได้ ยกตัวอย่างเช่น ค่าใช้จ่ายที่มีผู้สนับสนุนจ่ายแทน และการเป็นเพศหญิง มีผลในทางบวกต่อการเข้าสู่การเป็นนักกีฬาทีมชาติในในปัจจุบัน ในขณะที่เวลาในการประกอบกิจกรรมอื่นนอกเหนือจากการเล่นกีฬาและการทำงานในตลาดแรงงานมีผลในทางลบ สำหรับปัจจัยที่กำหนดการเข้าสู่กลุ่มอดีตนักกีฬาทีมชาติได้แก่ภาระทางด้านการศึกษาและการทำงานในตลาดแรงงาน เป็นต้น จากผลการศึกษาพบว่าค่าใช้จ่ายที่ทางสโมสรกีฬาสนับสนุนช่วยเหลือนักกีฬา เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดประการหนึ่งที่มีส่วนกำหนดความสามารถในการเล่นกีฬาในทางบวก ดังนั้น แนวทางในการแก้ไขคือรัฐบาลควรให้การสนับสนุนด้านการเงินแก่สโมสรกีฬาอย่างเพียงพอ นอกจากนี้ยังพบว่าภาระทางด้านการศึกษาและการทำงานมีส่วนในการลดระดับความสามารในการเล่นกีฬาด้วย นักกีฬาจึงควรได้รับการผ่อนผันด้านเวลาในการเรียนและการทำงานจากสถานศึกษาและที่ทำงานมากขึ้นเพื่อจะได้มีเวลาเหลือให้กับการฝึกซ้อมอย่างเพียงพอen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study is to examine the determinants of the ability level of competitive badminton players in Thailand using the theory of the "Allocation of Time," which is a microeconomic theory. Primary data were collected from a survey, consisting of 111 badminton players who competed in the Gosen Thailand Badminbton Championships in 1987. The statistical tool employed in this study is a multinomial logit model (MNL) based on maximum likelihood estimates (MLE). The ability level of competitive badminton players is then measured by the probabilities that players become previous or current national players relative to non-national players. The set of exogeneous variables in the model includes education, time spent on alternative activities, time for rest (sleeping time), time worked in labour markets, sex, sponsorship, and family income, almost all of which are found to exert important influences on the probabilities of becoming previous of becoming previous or current national players. For instance. Sponsorship and being females appear to have positive impact on the probabilities of becoming current national players, while time spent on alternative activities and time worked in labour markets have negative influences. At the same time, education and time worked in labour markets yield negative effects on the probabilities of becoming previous national players. The empirical findings outlined above are expected to have important implications for policy purposes. That is, sponsorship needs to be channeled to the players as fundamental support. The government may take part in promoting private sponsorship if the ability level of the players were to be improved significantly. Intensive practices should also be encouraged because greater time spent on alternative activities are found to reduce the ability of the players.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectแบดมินตัน -- แง่เศรษฐกิจen_US
dc.subjectนักแบดมินตัน -- ไทยen_US
dc.subjectBadminton (Game) -- Economic aspectsen_US
dc.subjectBadminton players -- Thailanden_US
dc.titleปัจจัยทางเศรษฐกิจที่กำหนดความสามารถในการเล่นกีฬา ของนักกีฬาแบดมินตันที่เล่นเพื่อแข่งขันในประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeEconomic determinants of the ability level of competitive badminton players in Thailanden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vichya_na_front.pdf1.43 MBAdobe PDFView/Open
Vichya_na_ch1.pdf2.36 MBAdobe PDFView/Open
Vichya_na_ch2.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open
Vichya_na_ch3.pdf12.78 MBAdobe PDFView/Open
Vichya_na_ch4.pdf3.91 MBAdobe PDFView/Open
Vichya_na_ch5.pdf1.95 MBAdobe PDFView/Open
Vichya_na_back.pdf3.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.