Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47651
Title: ผลของการฝึกกลวิธีการอ่านตามแนวทฤษฎีจิตวิทยาปัญญานิยม ที่มีต่อการอ่านเข้าใจความภาษาอังกฤษ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรามคำแหง
Other Titles: Effects of reading strategies based on cognitive psychology on the reading comprehension in English of Ramkhamhaeng University undergraduate students
Authors: รัญจวน คำวชิรพิทักษ์
Advisors: ชุมพร ยงกิตติกุล
มณีรัตน์ สุกโชติรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Chumporn.Y@Chula.ac.th
Maneerat.S@chula.ac.th
Subjects: การอ่าน -- ไทย -- การทดสอบความสามารถ
ภาษาอังกฤษ -- การอ่าน
ความเข้าใจในการอ่าน
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาผลของการฝึกกลวิธีการอ่านที่มีต่อการอ่านเข้าใจความภาษาอังกฤษโดยการเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านด้วยตัวแปรตาม 4 ด้าน ระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับการฝึกให้ใช้กลวิธีการอ่านต่างกัน 3 วิธีต่อไปนี้คือ 1.กลุ่มที่ได้รับการฝึกให้ใช้กลวิธีกระทำซ้ำ 2. กลุ่มที่ได้รับการฝึกให้ใช้กลวิธีกระทำซ้ำและขยายความ 3. กลุ่มที่ได้รับการฝึกให้ใช้กลวิธีผสม และระหว่างคะแนนที่ได้จากการทดสอบครั้งแรกและคะแนนที่ได้จากการทดสอบครั้งหลังของกลุ่มทดลองแต่ละกลุ่ม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรามคำแหง ประจำภาคต้นปีการศึกษา 2532 จำนวน 45 คน ซึ่งจำแนกออกเป็น 3 กลุ่มๆ ละ 15 คน ด้วยวิธีสุ่มแบบง่าย (Simple random sampling) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. กลุ่มที่ได้รับการฝึกให้ใช้กลวิธีกระทำซ้ำ มีความสามารถในการจำได้แบบคำต่อคำสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการฝึกให้ใช้กลวิธีกระทำซ้ำและขยายความและสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการฝึกให้ใช้กลวิธีผสม 2. กลุ่มที่ได้รับการฝึกให้ใช้กลวิธีกระทำซ้ำ กลุ่มที่ได้รับการฝึกให้ใช้กลวิธีกระทำซ้ำและขยายความ และกลุ่มที่ได้รับการฝึกให้ใช้กลวิธีผสม มีความสามารถในการจับใจความหลัก การอนุมาน และการแก้ปัญหาไม่แตกต่างกัน 3. กลุ่มที่ได้รับการฝึกให้ใช้กลวิธีกระทำซ้ำและขยายความ และกลุ่มที่ได้รับการฝึกให้ใช้กลวิธีผสม มีความสามารถในการจับใจความหลัก การอนุมาน และการแก้ปัญหาไม่ต่างกัน 4. กลุ่มที่ได้รับการฝึกให้ใช้กลวิธีกระทำซ้ำ มีความสามารถในการจำได้แบบคำต่อคำ จากการทดสอบครั้งหลังสูงกว่าจากการทดสอบครั้งแรก 5. กลุ่มที่ได้รับการฝึกให้ใช้กลวิธีกระทำซ้ำและขยายความ มีความสมารถในการจับใจความหลัก จากการทดสอบครั้งหลังสูงกว่าจากการทดสอบครั้งแรก แต่มีความสามารถในการอนุมาน และการแก้ปัญหา จากการทดสอบครั้งหลังไม่แตกต่างจากการทดสอบครั้งแรก 6. กลุ่มที่ได้รับการฝึกให้ใช้กลวิธีผสม มีความสามารถในการจับใจความหลักและการอนุมาน จากการทดสอบครั้งหลังสูงกว่าจากการทดสอบครั้งแรก แต่มีความสามารถในการแก้ปัญหาจากการทดสอบครั้งหลังไม่แตกต่างจากการทดสอบครั้งแรก
Other Abstract: The purpose of this research was to study the effects of reading strategies on the reading comprehension in English by comparing four dependent variables among the three following experimental groups : (1) the group trained to use a rehearsal strategy; (2) the group trained to use a rehearsal and elaborational strategy; (3) the group trained to use a multiple strategy; and also between pretest and posttest of each experimental group. Subjects were 45 Ramkhamhaeng University undergraduate students who were then categorized into three groups by simple random sampling. The research findings could be summarized as follows : 1. The group trained to use a rehearsal strategy showed a greater ability on verbatim recognition than the group trained to use a rehearsal and elaborational strategy, and the group trained to use a multiple strategy. 2. There were no different abilities on main idea, inference and problem solving among the three groups. 3. There were no different abilities on main idea, inference and problem solving between the group trained to use a rehearsal and elaborational strategy and the group trained to use a multiple strategy. 4. The group trained to use a rehearsal strategy showed a greater ability on verbatim recognition during posttest than pretest. 5. The group trained to use a rehearsal and elaborational strategy showed a greater ability on main idea during posttest than pretest, but there was not a different ability on inference and problem solving between pretest and posttest. 6. The group trained to use a multiple strategy showed a greater ability on main idea and inference during posttest than pretest but there was not a different ability on problem solving between pretest and posttest.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47651
ISBN: 9745778656
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ranchuan_ka_front.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Ranchuan_ka_ch1.pdf4.14 MBAdobe PDFView/Open
Ranchuan_ka_ch2.pdf1.99 MBAdobe PDFView/Open
Ranchuan_ka_ch3.pdf2.31 MBAdobe PDFView/Open
Ranchuan_ka_ch4.pdf1.6 MBAdobe PDFView/Open
Ranchuan_ka_ch5.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
Ranchuan_ka_back.pdf6.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.