Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47652
Title: การสร้างเกณฑ์การให้คะแนนทักษะวิชายืดหยุ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
Other Titles: A construction of grading criteria in tumbling skills for lower secondary students
Authors: ลัดดา เรืองมโนธรรม
Advisors: ประพัฒน์ ลักษณพิสุทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: lprapat@gmail.com
Subjects: ยิมนาสติกส์
การให้คะแนน (นักเรียนและนักศึกษา) -- ไทย
ยืดหยุ่น -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเกณฑ์การให้คะแนนทักษะวิชายืดหยุ่นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นลักษณะของเกณฑ์แบ่งเป็น 2 หมวด คือหมวดค่าความยากของทำและหมวดความสมบูรณ์ของท่ากลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้เป็นครูผู้สอนวิชายืดหยุ่นระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร จำนวน 46 คน จาก 25 โรงเรียน ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าความตรงตามเนื้อหาของเกณฑ์โดยดุลพินิจของผู้เชี่ยวชาญมีค่าดรรชนีความสอดคล้อง ตั้งแต่ .75 – 1.00 2. ค่าความเชื่อถือได้ของเกณฑ์โดยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบฮอยท์ได้ค่าสัมประสิทธิ์แห่งความเที่ยง ตั้งแต่ .79 ถึง .94 3. ค่าความตรงตามทฤษฏีเชิงจำแนกของเกณฑ์โดยวิธีทดสอบค่า “เอฟ” พบว่าโดยเฉลี่ยเกณฑ์การให้คะแนนทักษะวิชายืดหยุ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นนี้สามารถจำแนกบุคคลได้ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .01 4. ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการวัดของคะแนนของแต่ละบุคคลมีค่าตั้งแต่ .48 หน่วยคะแนนถึง .99 หน่วยคะแนน 5. หาค่าความเป็นปรนัยของเกณฑ์ด้วยการหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันระหว่างคะแนนของนักเรียนที่ให้โดยกลุ่มตัวอย่างกับผู้เชี่ยวชาญ พบว่ามีค่าสหสัมพันธ์ตั้งแต่ .71 ถึง .98 และมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ในกลุ่มท่าม้วนตัวหรือกลิ้งตัว, กลุ่มท่าสปริง, กลุ่มท่าความอ่อนตัว, กลุ่มท่าต่อเนื่องที่มาจากการต่อเชื่อมท่าเดียวกันและกลุ่มท่าต่อเนื่องที่มาจากการต่อเชื่อมต่างกัน
Other Abstract: The purpose of this research was to construct grading criteria in tumbling skills for lower secondary students. This grading criteria had two parts; the difficulty value and the execution rating scale. Forty-six tumbling teachers from twenty-five schools were used in development of this grading criteria. The results were as follows: 1. Content validity of grading criteria had the index of correlation between the specialists rating from .75 to 1.00. 2. Reliability coefficient of grading criteria by Hoyt’s ANOVA procedure, was ranged from .79 50 .94. 3. The Discrimination validity of grading criteria; by F-test; it was found that, significant at .01 level, the average of criteria could classify students in tumbling skills. 4. The standard error of measurement of individual score was from .48 to .99 unit of point. 5. The objectivity of grading criteria as determined by Pearson’s product moment correlation coefficient between scores of sampling group and specialists was from .71 to .98; and had the significant at .01 level in rolling group, spring group, flexible group, Combinating grorp that from same elements and combinating group that from different elements.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47652
ISBN: 9745678287
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ladda_ra_front.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open
Ladda_ra_ch1.pdf930.77 kBAdobe PDFView/Open
Ladda_ra_ch2.pdf2.21 MBAdobe PDFView/Open
Ladda_ra_ch3.pdf1.41 MBAdobe PDFView/Open
Ladda_ra_ch4.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
Ladda_ra_ch5.pdf854.6 kBAdobe PDFView/Open
Ladda_ra_back.pdf2.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.