Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47697
Title: การพัฒนาตัวบ่งชี้สภาพความสำเร็จของการนิเทศภายในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
Other Titles: The development of indicators of the successful suppervision in elementary schools under the jurisdiction of the Office of the National Primary Education Commission
Authors: วิไลวรรณ เหมือนชาติ
Advisors: วไลรัตน์ บุญสวัสดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การนิเทศการศึกษา
การพัฒนาการศึกษา
ตัวบ่งชี้ทางการศึกษา
Issue Date: 2537
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาตัวบ่งชี้สภาพความสำเร็จของการนิเทศภายในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ศึกษานิเทศก์จังหวัด ศึกษานิเทศก์อำเภอ ผู้บริหารโรงเรียนและครูวิชาการโรงเรียน โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อตัวบ่งชี้สภาพความสำเร็จของการนิเทศภายในโรงเรียน จำนวน 8 ด้าน 40 ตัวบ่งชี้ ส่งไปจำนวน 820 ฉบับ ได้รับกลับคืน 749 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 91.34 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณหาค่ากลางเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์การกระจายของแต่ละข้อกระทง และวิเคราะห์ตัวประกอบด้วยวิธี PRINCIPAL COMPONENT ANALYSIS (PC) หมุนแกนตัวประกอบแบบออโธกอนอล ด้วยวิธีแวริแมกซ์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS-X ผลการวิจัย พบว่า ตัวประกอบสำคัญเกี่ยวกับตัวบ่งชี้สภาพความสำเร็จของการนิเทศภายในโรงเรียนประถมศึกษา มี 4 ตัวประกอบ ซึ่งเรียงตามลำดับความสำคัญดังนี้ คือ 1. ตัวประกอบด้านเทคนิค กิจกรรมการดำเนินการนิเทศภายในโรงเรียนและการตรวจสอบ ผลการดำเนินงาน มี 10 ตัวแปร มีความแปรปรวน คิดเป็นร้อยละ 41.2 2. ตัวประกอบด้านปัจจัยสนับสนุนส่งเสริมการดำเนินงานการนิเทศภายในโรงเรียน มี 6 ตัวแปร มีความแปรปรวน คิดเป็นร้อยละ 5.2 3. ตัวประกอบด้านผลที่เกิดจากการดำเนินงานการนิเทศภายในโรงเรียน มี 8 ตัวแปร มีความแปรปรวน คิดเป็นร้อยละ 3.5 4. ตัวประกอบด้านการวางแผนการนิเทศภายในโรงเรียน มี 6 ตัวแปร มีความแปรปรวนคิดเป็นร้อยละ 3.3 5. ศึกษานิเทศก์จังหวัด ศึกษานิเทศก์อำเภอ ผู้บริหารโรงเรียนและครูวิชาการโรงเรียนมีความเห็นว่า 80 ตัวบ่งชี้มีความเหมาะสมในระดับมาก
Other Abstract: The purpose of this research was to study the indicators of the successful supervision in Elementary schools under the Jurisdiction of the Office of the National Primary Education Commission. The questionnaire including 8 topics and 40 indicators were properly used for the sampling that included supervision in provincial and district levels, administrators and academic teachers. The 820 questionnaires were sent to the samplers, but 749 (91.54) returned. The data were analyzed by the program SPSS-X. The arithmetic mean, standard deviation and coefficient of variation for each topic were computed. Factor analysis method by Principal Component Analysis and Varimax Rotation Method was also used for data analysis. The findings were as follows: There were four main factors relevant to the success of the supervision in the elementary schools. They were : 1. The technical factors supervisory activities, the evaluation of supervision consisted of 10 variables. Percent of variance was 41.2 2. The input factors supporting to the supervision process consisted of 6 variables. Percent of variance was 5.2 3. The output factors consisted of 8 variables. Percent of variance was 3.5 4. The supervision planning factors consisted of 6 variables. Percent of variance was 3.3 5. Provincial supervisors and district supervisors, administrators and academic teachers rated 80 indicators in the higher essential level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47697
ISBN: 9745845507
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wilaiwan_ma_front.pdf701.1 kBAdobe PDFView/Open
Wilaiwan_ma_ch1.pdf754.18 kBAdobe PDFView/Open
Wilaiwan_ma_ch2.pdf2.19 MBAdobe PDFView/Open
Wilaiwan_ma_ch3.pdf639.99 kBAdobe PDFView/Open
Wilaiwan_ma_ch4.pdf2.96 MBAdobe PDFView/Open
Wilaiwan_ma_ch5.pdf1.99 MBAdobe PDFView/Open
Wilaiwan_ma_back.pdf1.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.