Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47703
Title: การเปรียบเทียบอัตมโนทัศน์ระหว่างวัยรุ่นชายที่มีความก้าวร้าว กับวัยรุ่นชายปกติที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูในรูปแบบ ที่แตกต่างกันตามการรับรู้ของตนเอง
Other Titles: A compatison of self-concept between normal and aggressive male adolescents with different child-rearing practice ad perceived by themselves
Authors: รัฐกมล บรรหาร
Advisors: พรรทิพย์ ศิริวรรณบุศย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบอัตมโนทัศน์ของวัยรุ่นชายที่มีความก้าวร้าวกับวัยรุ่นชายปกติที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูในรูปแบบที่แตกต่างกันตามการรับรู้ของตนเอง กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่นชายที่มีอายุระหว่าง 16-18 ปี กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ภาครัฐบาล สังกัด กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 420 คน โดยแบ่งเป็นวัยรุ่นชายที่มีความก้าวร้าวแบ่งประเภทตามการอบรมเลี้ยงดู 7 แบบแบบละ 30 คนรวม 210 คนและวัยรุ่นชายปกติแบ่งประเภทตามการอบรมเลี้ยงดู 7 แบบ แบบละ 30 คนรวม 210 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวัดพฤติกรรมก้าวร้าว และแบบวัดการอบรมเลี้ยงดูของสมพร สุทัศนีย์ และแบบวัดอัตมดนทัศน์เทเสสซี สร้างโดยวิลเลียม เอช ฟิทส์ ในการวเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติในการทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวและทดสอบรายคู่ภายหลังตามวิธีของ Tukey ผลการวิจัยปรากฏผลดังนี้ 1.วัยรุ่นชายที่มีความก้าวร้าวมีคะแนนอัตมโนทัศน์ต่ำกว่าวัยรุ่นชายปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ไม่มีความแตกต่างของอัตมโนทัศน์ระหว่างวัยรุ่นชายปกติที่รับรู้ว่าตนเองได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยกับวัยรุ่นชายปกติที่รับรู้ว่าตนเองได้รับการอบรมเลี้ยงดูรูปแบบอื่นๆ 3. ไม่มีความแตกต่างของอัตมโนทัศน์ระหว่างวัยรุ่นชายที่มีความก้าวร้าวที่รับรู้ว่าตนเองได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยกับวัยรุ่นชายที่มีความก้าวร้าวที่รับรู้ว่าตนเองได้รับการอบรมเลี้ยงดูรูปแบบอื่นๆ
Other Abstract: The purpose of this research was to study and compare the self-concept between normal and aggressive male adolescents who were reared-up differently as perceived by themselves. Four hundred and twenty male adolescents aged between 16-18 years old were drawn as subjects from Government-Owned high schools under the department of Secondary Education Ministry of Education. The subjects were classified into two groups of aggressive and normal male adolescents. The subjects in each group was assigned to 7 groups of 30 subjects with different child-rearing practices. The instruments employed were the Aggressiveness Indicator Form. The Child-Rearing Practice Measurement Form and The Tennessee Self-Concept Scale. Data were analyzed by using t-test, One-Way ANOVA and Tukey’s Multiple Comparison. The results obtained were as follows: 1. Aggressive male adolescents showed significantly lower scores of self-concept than normal male adolescents. 2. Normal male adolescents who perceived themselves as receiving democratic rearing practice had no significantly higher self-concept scores than others who perceived themselves as receiving others rearing practices. 3. Aggressive male adolescents who perceived themselves as receiving democratic rearing practice had no significantly higher self-concept scores than aggressive male adolescents who perceived themselves as receiving others rearing practices.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการปรึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47703
ISBN: 9745816043
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rathakamol_ra_front.pdf957.03 kBAdobe PDFView/Open
Rathakamol_ra_ch1.pdf3.76 MBAdobe PDFView/Open
Rathakamol_ra_ch2.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open
Rathakamol_ra_ch3.pdf861.54 kBAdobe PDFView/Open
Rathakamol_ra_ch4.pdf808.36 kBAdobe PDFView/Open
Rathakamol_ra_ch5.pdf516.49 kBAdobe PDFView/Open
Rathakamol_ra_back.pdf3.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.