Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47705
Title: ระบบการรับผู้ป่วยในในโรงพยาบาลโดยใช้คอมพิวเตอร์
Other Titles: Computerized in-patient admission system in a hospital
Authors: รัชนี อัจฉริยวงศ์กุล
Advisors: ศุภชัย ตั้งวงศ์ศานต์
สุเมธ วัชระชัยสุรพล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: โรงพยาบาล -- การรับและการจำหน่ายผู้ป่วย -- การประมวลผลข้อมูล
ระบบการจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ -- โรงพยาบาล
ผู้ป่วย
โปรแกรมคอมพิวเตอร์
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะพัฒนาระบบการรับผู้ป่วยในโดยใช้คอมพิวเตอร์สำหรับโรงพยาบาลขนาดใหญ่ทั่วๆ ไปในประเทศไทย ระบบการรับผู้ป่วยในเป็นส่วนหนึ่งของงานโรงพยาบาล ซึ่งทำหน้าที่ในการเตรียมรับผู้ป่วยเข้า การรับผู้ป่วยเข้าทำการรักษา การโยกย้ายผู้ป่วยและการจำหน่ายผู้ป่วยออก โดยมีอัตราการขยายงานประมาณ 15% ต่อปี หรือมากกว่านั้น การเพิ่มขึ้นนี้มีผลทำให้ปริมาณงานต่างๆ ทางด้านเอกสารเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก การประมวลผลข้อมูลต่างๆ เช่น การแจงนับ การเรียงลำดับ การเก็บรวบรวม การทำสำเนาและการเตรียมรายงานยังทำด้วยมือ ในปัจจุบันนี้การดูแลผู้ป่วยที่ทันสมัยจำเป็นที่จะต้องใช้ระบบที่มีประสิทธิภาพและมีข่าวสารที่ครบถ้วน เมื่อปริมาณงานต่างๆ เพิ่มขึ้นทำให้ระบบการรับผู้ป่วยในโดยอาศัยมือทำไม่สามารถที่จะบรรลุถึงวัตถุประสงค์ในระดับที่ต้องการได้ คำตอบสำหรับปัญหานี้คือ “ระบบการรับผู้ป่วยในโดยใช้คอมพิวเตอร์” เนื่องจากคอมพิวเตอร์สามารถที่จะจัดการเก็บข่าวสารที่มีปริมาณมากได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง ในระบบคอมพิวเตอร์งานด้านการรับผู้ป่วยในสามารถทำได้ในลักษระของการโต้ตอบโดยใช้จอภาพที่ตั้งไว้ตามจุดต่างๆ เช่น ศูนย์รับผู้ป่วยในห้องฉุกเฉิน หน่วยการพยาบาล และหน่วยงานอื่นๆ ในโรงพยาบาลที่จำเป็นสำหรับงานด้านบริหารนั้น รายงานต่างๆ ที่ทันต่อเวลามีความจำเป็นมาก เช่น การเคลื่อนไหวของผู้ป่วยใน รายการเตรียมรับผู้ป่วยเข้า รายการเตียง รายการจำหน่ายผู้ป่วยออก เป็นต้น เมื่อเราใช้คอมพิวเตอร์แล้วรายงานที่จำเป็นต่างๆ นี้จะมีอยู่พร้อมในลักษณะของกระดาษรายงาน รหือแสดงผลบนจอภาพก็ได้ ขั้นตอนการวิจัยนี้แบ่งออกได้เป็น 4 ส่วนใหญ่ๆ ด้วยกัน โดยในขั้นแรกได้ทำการศึกษาสภาพงานของการรับผู้ป่วยในโรงพยาบาลต่างๆ ขั้นตอนต่อมาเป็นการวิเคราะห์ออกแบบระบบงาน ซึ่งระบบนี้ได้ออกแบบให้สามารถทำการสร้างระบบ (System generation) ได้ด้วย ดังนั้นระบบนี้จึงสามารถนำไปประยุกต์ในสภาพแวดล้อมที่ต่างกันไปของโรงพยาบาลโดยทั่วไปได้ ขั้นสุดท้ายคือ ทำการทดสอบระบบในเรื่องเกี่ยวกับประสิทธิผลในการทำงานและความเชื่อถือได้ของระบบ การจำลองการทดสอบทำโดยการเตรียมข้อมูลของผู้ป่วยในจำนวน 1280 คน จากนั้นจึงทำการบันทึกและวิเคราะห์ผลลัพธ์ที่ได้จากการทดลอง
Other Abstract: The purpose of this research is to develop a computerized in-patient admission system applicable to big hospitals in general in Thailand. The in-patient admission system is an area in hospitals, its functions concern with preadmission, admission, transfer and discharge of patients. The system has seen substantial growth in recent years with the rate of 15% or more, the increase has caused a proportionate increase in the amount of paperwork. But data processing is still handled manually in counting, sorting, collating, transcribing and report preparation. At present, modern patient care has required an efficient and informative system. As volume increase, the manual admission system is unable to accomplish the goal up to the satisfactory level. The technical approach to the solution of this problem is to implement a computerized in-patient admission system. Computers are capable of handling a large volume of information with high speed and accuracy. In a computerized system, the admission functions can be performed interactively by using video display terminals locating in the admitting center, emergency rooms, nursing stations and other areas of the hospital. For hospital administration, timely reports are essential, such as census activity, preadmission list, bed list, discharge roster. With computers, essential reports are available in forms of hard copy or on-line display screen. The development of the research is performed in 4 phases. The first phase concerns with the problem study. The next two phases are system analysis and system design. The system is designed to equip with feature of system generation so that it can be applied for real environment of hospitals in particular. The final phase is to test the system in terms of performance and reliability. The simulation test is employed by preparing a set of 1280 in-patients. Then, the experimental results are evaluated and discussed.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47705
ISBN: 9745670359
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ratchanee_aj_front.pdf2.14 MBAdobe PDFView/Open
Ratchanee_aj_ch1.pdf794.5 kBAdobe PDFView/Open
Ratchanee_aj_ch2.pdf3.41 MBAdobe PDFView/Open
Ratchanee_aj_ch3.pdf1.92 MBAdobe PDFView/Open
Ratchanee_aj_ch4.pdf2.24 MBAdobe PDFView/Open
Ratchanee_aj_ch5.pdf401.5 kBAdobe PDFView/Open
Ratchanee_aj_ch6.pdf415.92 kBAdobe PDFView/Open
Ratchanee_aj_back.pdf14.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.