Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47709
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามกลุ่มประสบการณ์ ในหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 จากชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Relationships among learning achievement in areas of learning experiences under the elementary school curriculum B.E. 2521 from prathom suksa 1-6 of students in schools under the authority of the Bangkok metropolitan administration
Authors: สุวรรณี แพรภัทรพิศุทธิ์
Advisors: ดิเรก ศรีสุโข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การศึกษาขั้นประถม -- หลักสูตร
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามกลุ่มประสบการณ์ในหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 จากชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยใช้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 617 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยคัดลอกรายชื่อนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างพร้อมทั้งคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของแต่ละกลุ่มประสบการณ์ที่เรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง 6 แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยหาค่าสหสัมพันธ์คาโนนิคอล และหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณระหว่างตัวพยากรณ์กับตัวเกณฑ์ ข้อค้นพบที่สำคัญโดยสรุปมีดังนี้ 1. สหสัมพันธ์คาโนนิคอลระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของทุกกลุ่มประสบการณ์ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กับ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กับ 3 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กับ 4 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กับ 5 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กับ 6 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกค่า ซึ่งค่าสหสัมพันธ์ของแต่ละคู่ที่มีได้สูงที่สุดเท้ากับ .51 .64 .72 .83 และ .06 ตามลำดับ และค่าสหสัมพันธ์ที่มีค่าสูงสุดนี้ กลุ่มทักษะคือ ภาษาไทย และคณิตศาสตร์ เป็นตัวพยากรณ์ที่มีน้ำหนักมากที่สุดในการอธิบายผลสัมฤทธิ์ในการเรียนชั้นสูงขึ้นไปในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง 5 ส่วนตัวพยากรณ์เด่นสำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กับ 6 เป็นกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต 2. สหสัมพันธ์พหุคูณระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของทักษะภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กับกลุ่มทักษะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง 5 มีค่า .45 ระหว่างทักษะคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กับกลุ่มทักษะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง 5 มีค่า .45 ระหว่างกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กับกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง 5 มีค่า .43 ระหว่างกลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัยชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กับกลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง 5 มีค่า .36 และระหว่างกลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กับกลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง 5 มีค่า .33
Other Abstract: This research was designed to study the relationships between learning achievement among grade levels of the elementary school students. The samples of 617 sixth grade students studying in Bangkok were used for this study. The data of their learning achievements from grade I to grade 6 were obtained from the school records. The learning achievements were classified into four areas; Skill Subject, Life Experience, Character Development and Work Experiences. The data were analysed by means of canonical analysis for the analysis of relationship between grade levels. The multiple correlation analysis was also used to analyse the relationship between the learning achievement in grade 6 and the achievement from the lower grade which emphasis on the areas classified by curriculum The major finding of this research were : 1. Every canonical correlation coefficient between every grade of subjects for grade 1 and grade 2, grade 2 and grade 3, grade 3 and grade 4, grade 4 and grade 5 and grade 5 and grade 6 was statistically significant at ∝ = .01. The highest coefficients for each pair were .51, .64, .72, .83, and .60 respectively. It was found that the Thai language and Mathematics subject was the best estimator to predict the level of success for the next year of studying from grade 1 to 5, and the best predictor for the achievement in the sixth grade was the Life Experience subject. 2. The multiple correlation coefficient of the achievement in grade 6 and the achievement in the lower grades according to its corresponding area were significantly related at p < .01. The Thai language subject from the sixth grade and the Skill Subject from grade 1 to 5 was .45, the Mathumatics subject from the sixth grade and the Skill Subject from grade 1 to 5 was .45, the Life Experience from the sixth grade and the Life Experience from grade 1 to 5 was .43, the Character Development from the sixth grade and the Character Development from grade 1 to 5 was .36 and the Work Experiences from the sixth grade and the Work Experiences from grade 1 to 5 was .33.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47709
ISBN: 9745638536
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suwannee_pa_front.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open
Suwannee_pa_ch1.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
Suwannee_pa_ch2.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open
Suwannee_pa_ch3.pdf536.25 kBAdobe PDFView/Open
Suwannee_pa_ch4.pdf5.59 MBAdobe PDFView/Open
Suwannee_pa_ch5.pdf1.63 MBAdobe PDFView/Open
Suwannee_pa_back.pdf2.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.