Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47717
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์-
dc.contributor.authorศิริกุล กิติธรากุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-06-01T09:58:37Z-
dc.date.available2016-06-01T09:58:37Z-
dc.date.issued2539-
dc.identifier.isbn9746338137-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47717-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความใกล้ชิดชุมชนกับการเลือกใช้คำศัพท์ของผู้พูดภาษาลาวครั่งตามปัจจัยทางสังคมอันได้แก่อายุและการศึกษาผู้วิจัยแบ่งกลุ่มอายุของผู้พูดออกเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มอายะ 15-25 ปี, กลุ่มอายุ 30-40 ปี และกลุ่มอายุ 45-55 ปี ส่วนการศึกษาแบ่งเป็น 3 ระดับคือการศึกษาต่ำกว่า ป.5, การศึกษา ป.5-ม.3 และการศึกษา ม.ปลาย ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาวิจัยได้จากการสัมภาษณ์ผู้บอกภาษาเกี่ยวกับความใกล้ชิดชุมชนและคำศัพท์ลางครั้งจำนวน 34 หน่วยอรรถที่คัดเลือกจากงานวิจัยที่มีผู้ศึกษาไว้แล้ว ผลการวิจัยพบว่าอายุและการศึกษาของผู้พูดต่างก็มีความสัมพันธ์กับความใกล้ชิดชุมชนและการเลือกใช้ศัพท์แต่สำหรับความใกล้ชิดชุมชนอายุมีอิทธิพลมากกว่าการศึกษากล่าวคือผู้ที่มีอายุมากจะใกล้ชิดชุมชนมากกว่าผู้ที่มีอายุน้อยไม่ว่าจะมีการศึกษาระดับใดในทางตรงกันข้ามสำหรับการเลือกใช้ศัพท์พบว่าการศึกษามีอิทธิพลมากกว่าอายุ กล่าวคือผู้ที่มีการศึกษาต่ำจะเลือกใช้คำศัพท์ลาวครั่งมากกว่าผู้ที่มีการศึกษาสูงเสมอ ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างความใกล้ชิดชุมชนกับการเลือกใช้คำศัพท์สามารถสรุปได้ว่าผู้พูดที่ใกล้ชิดชุมชนจะเลือกใช้คำศัพท์ลาวครั่งมากกว่าผู้ที่ไม่ใกล้ชิดชุมชนเสมอกล่าวคือเมื่อผู้พูดมีความใกล้ชิดชุมชนก็สามารถที่จะทำนายได้ว่ามีความสัมพันธ์กับการใช้ภาษาท้องถิ่นด้วย เกี่ยวกับการเลือกใช้คำศัพท์ลาวครั่งและคำศัพท์ที่ยืมมาจากภาษาไทยมาตรฐาน พบว่าในปัจจุบันมีการใช้คำศัพท์ลาวครั่งน้อยกว่าคำศัพท์ไทยมาตรฐานซึ่งจะพบมากในกลุ่มของคนรุ่นใหม่ที่ได้รับอิทธิพลทางด้านการศึกษาการใช้ภาษาของคนในชุมชนนี้กำลังอยู่ในระหว่างการเปลี่ยนแปลงดังจะเห็นได้จากการใช้คำศัพท์ลาวครั่งน้อยลงและใช้คำศัพท์ไทยมาตรฐานมากขึ้นตามลำดับอายุซึ่งสันนิษฐานได้ว่าต่อไปในอนาคตคำศัพท์ลาวครั่งอาจสูญหายไปและไม่พบการใช้ภาษาลาวครั่งในการติดต่อสื่อสารกันen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study is to investigate the relationship between Lao Khrang’s community closeness and their lexical choice. Two social factors were taken into consideration, namely, the speaker’s age and education. The speakers were classified according to their age into 3 groups: 15-25 years old, 30-40 years old and 45-55 years old. They were also divided into three groups according to their education: lower than Pathom 5, Pathom 5 – Matthayom 3 and higer than Matthayom 3. Data about community closeness and choice of words, based on 34 pre-selected Lao Khrang words, were collected through interviews. It is found that both the age and education of the speakers are related to community closeness and lexical choice. On community closeness, age has more influence than education. The older are always closer to their community than the younger. In contrast, education plays a more important role than age in the lexical choice. The less educated certainly choose Lao Khrang words more frequently than the more educated. Concerning the relationship between the community closeness and lexical choice of Lao Khrang words, it is found that high degree of closeness implies more use of Lao Khrang words. As for the Lexical choice of Lao Khrang and Standard Thai, generally, people in this community use less vernacular words than Standard Thai words, especially the new generations. The data show that change is going on in this community’s language use, as can be seen in the age-grading of the choice of Lao Khrang and Standard Thai words. It can be concluded that in this community Lao Khrang may be lost and shift to Standard Thai in the future.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectภาษาศาสตร์เชิงสังคมวิทยาen_US
dc.subjectภาษาลาวครั่งen_US
dc.subjectเครือข่ายสังคมen_US
dc.subjectภาษาถิ่น -- ไทยen_US
dc.subjectบ้านหนองกระพี้ (นครปฐม)en_US
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างความใกล้ชิดชุมชนกับการเลือกใช้ศัพท์ ของชุมชนลาวครั่งที่บ้านหนองกระพี้ ตำบลบ้านหลวง อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐมen_US
dc.title.alternativeRelationship between community closeness and lexical choice of the Lao Khrang community at Ban Nong Kraphi, Tambon Ban Luang, Amphoe Don Tum, Nakhon Pathomen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineภาษาศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sirikul_ki_front.pdf694.47 kBAdobe PDFView/Open
Sirikul_ki_ch1.pdf750.76 kBAdobe PDFView/Open
Sirikul_ki_ch2.pdf667.58 kBAdobe PDFView/Open
Sirikul_ki_ch3.pdf741.65 kBAdobe PDFView/Open
Sirikul_ki_ch4.pdf564.39 kBAdobe PDFView/Open
Sirikul_ki_ch5.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
Sirikul_ki_ch6.pdf606.46 kBAdobe PDFView/Open
Sirikul_ki_ch7.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Sirikul_ki_ch8.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open
Sirikul_ki_ch9.pdf867.31 kBAdobe PDFView/Open
Sirikul_ki_back.pdf2.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.