Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47773
Title: การติดต่อสื่อสารกับความพึงพอใจ ของผู้รับบริการแนะแนวการศึกษาต่อต่างประเทศ ระดับปริญญาโท จากสำนักงาน ก.พ. และธนาคารกรุงเทพ
Other Titles: Communication and gratification of clients of counselling service for oversea graduate education by the Civil Service Commission and Bangkok Bank
Authors: สุวิชา ทองสิมา
Advisors: อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Orawan.P@Chula.ac.th
Subjects: การสื่อสารระหว่างบุคคล
ผู้รับสาร
การศึกษาในต่างประเทศ
การแนะแนวการศึกษา
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการติดต่อสื่อสารของผู้รับบริการแนะแนวการศึกษาต่อต่างประเทศ ระดับปริญญาโทจากสำนักงาน ก.พ. และธนาคารกรุงเทพ โดยศึกษาความแตกต่างระหว่างเพศ การศึกษา รายได้ สาขาวิชาที่ไปศึกษาต่อ ประเทศที่ไปศึกษาต่อ และจำนวนครั้งที่รับบริการแนะแนว จากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน หน่วยงานละ 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบค่า t และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC+ ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้ 1. ผู้บริการแนะแนวมีความพึงพอใจในข้อมูลและคำแนะนำที่ได้รับจากเจ้าหน้าที่แนะแนวของสำนักงาน ก.พ. และธนาคารกรุงเทพในระดับปานกลาง 2. ผู้รับบริการแนะแนวที่มีลักษณะทางประชากรแตกต่างกันมีความพึงพอใจในข้อมูลและคำแนะนำที่ได้รับจากเจ้าหน้าที่แนะแนวของสำนักงาน ก.พ. และธนาคารกรุงเทพไม่แตกต่างกัน 3. ผู้รับบริการแนะแนวที่มีรายได้ต่างกันมีความพึงพอใจในข้อมูลและคำแนะนำที่ได้รับจากเจ้าหน้าที่แนะแนวของสำนักงาน ก.พ.แตกต่างกัน 4. ผู้รับริการแนะแนวที่รับบริการแนะแนวจากสถานที่แนะแนวต่างกัน มีความพึงพอใจในข้อมูลและคำแนะนำที่ได้รับจากเจ้าหน้าทาแนะแนวไม่แตกต่างกัน
Other Abstract: The purpose of this research was to investigate the levels of gratification with counseling service given by the counselors of The Civil Service Commission and of Bangkok Bank. Four hundred samples were interviewed with questionnaire. Percentage, T-test and One Way Analysis of Variance were used to analyze the data through SPSS/PC+ program. The results of the research were as follows: 1. Clients were moderately gratified with information and advice given by the counselors of the two offices. 2. No significant differences were found among the client with different demographic variables in terms of gratification with information and advice. 3. There were significant differences among the clients of different income groups in terms of gratification with information and advice given by The Civil Service Commission staff. 4. No significant difference found in the levels of gratification with information and advice given by the two different offices.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประชาสัมพันธ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47773
ISBN: 9746334514
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suwicha_to_front.pdf14.93 MBAdobe PDFView/Open
Suwicha_to_ch1.pdf14.93 MBAdobe PDFView/Open
Suwicha_to_ch2.pdf38.48 MBAdobe PDFView/Open
Suwicha_to_ch3.pdf9.16 MBAdobe PDFView/Open
Suwicha_to_ch4.pdf69.37 MBAdobe PDFView/Open
Suwicha_to_ch5.pdf17.91 MBAdobe PDFView/Open
Suwicha_to_back.pdf43.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.