Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47915
Title: | อัตถิตากับนัตถิตาในพุทธปรัชญาเถรวาท |
Other Titles: | Being and non-being in theravada buddhism |
Authors: | สมภาร พรมทา |
Advisors: | วิทย์ วิศทเวทย์ สุนทร ณ รังษี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | ปริญญาดุษฎีบัณฑิต |
Issue Date: | 2534 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | มีทัศนะทางอภิปรัชญาเกี่ยวกับธรรมชาติของโลกอยู่สองทัศนะที่พุทธปรัชญาเถรวาทไม่เห็นด้วย ทัศนะแรกคืออัตถิกทิฏฐิ ทัศนะที่สองคือนัตถิกทิฏฐิ อัตถิกทิฏฐิคือระบบปรัชญาที่เชื่อว่าสิ่งทั้งปวงมีอยู่ นัตถิกทิฏฐิคือระบบปรัชญาที่เชื่อว่าสิ่งทั้งปวงไม่มีอยู่ เหตุผลที่พุทธปรัชญาเถรวาทไม่เห็นด้วยกับสองระบบปรัชญานี้คือ ในทัศนะของพุทธปรัชญาเถรวาท ระบบปรัชญาทั้งสองนี้เป็นทัศนะที่สุดโต่งไปคนละทาง พุทธปรัชญาเถรวาทได้เสนอทัศนะเกี่ยวกับธรรมชาติของโลกผ่านหลักธรรมสามเรื่องคือ ปฏิจจสมุปบาท ไตรลักษณ์ และขณิกทัศนะ พุทธปรัชญาเถรวาทถือว่า ธรรมชาติของโลกตามที่บรรยายด้วยหลักธรรมสามเรื่องนี้เป็นภาวะที่อยู่กึ่งกลางระหว่างธรรมชาติของโลกที่สองระบบปรัชญานั้นบรรยายไว้ ดังนี้ ก. โลกตามอัตถิกทิฏฐิคือสิ่งที่มีอยู่ ข. โลกตามนัตถิกทิฏฐิคือสิ่งที่ไม่มีอยู่ ค.โลกตามพุทธปรัชญาเถรวาทคือสิ่งที่ว่างเปล่า ความว่างเปล่า (สูญญตา) นี้พุทธปรัชญาเถรวาทถือว่าเป็นภาวะที่อยู่กึ่งกลางระหว่างความมี (อัตถิตา)กับความไม่มี(นัตถิตา) ตามพุทธปรัชญาเถรวาท เรากล่าวไม่ได้ว่าโลกมีอยู่ ในขณะเดียวกันเราก็กล่าวไม่ได้ว่าโลกไม่มีอยู่ สิ่งที่เราสามารถยืนยันได้ก็คือ โลกเป็นสิ่งที่ว่างเปล่าความว่างเปล่าของโลกนี้พิจารณาได้จากการที่โลกประกอบขึ้นจากธาตุมูลฐานที่เกิดดับสืบเนื่องกันอยู่ตลอดเวลา ภายในกระแสความเกิดดับนี้ ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าตัวตนอันถาวร สรุปความว่า โลกตามพุทธปรัชญาเถรวาทไม่ใช่เนื้อสาร ไม่ใช่มโนภาพของจิต หากแต่โลกคือความว่างเปล่า |
Other Abstract: | There are two metaphysical views on the nature of the world which Theravada Buddhism does not agree with: atthikaditthi and natthikaditthi. Atthikaditthi is the view that everything exists. Natthikaditthi is the view that everything does not exist. Theravada Budhism does not agree with these philosophical systems by the reason that they are the extreme views. Theravada Buddhism presents a view on the nature of the world to replace these two views through the three doctrines: The Doctrine of Dependent Origination (paticcasamuppada), The Doctrine of Three Characteristics (tilakkhana) and The Doctrine of Momentariness (khanikadassana). The Theravada Buddhist believes that this Theravada Buddhist vies on the nature of the world is the middle way comparing with the two extreme views as following: a. The world as conceived by atthikaditthi is being. b. The world as conceived by natthikaditthi is non-being. c.The world as conceived by Theravada Buddhism is emptioness. According to Theravada Buddhism, “emptiness” (sunnata) is a middle concept between the two extreme concepts: “being” (atthita) and “non-being” (natthita). The emptiness of the world can be viewed by the fact that this world is made up of basic elements which arise and decay momentarily. In such arise-and –decay-stream of the world, there is no any permanent substance. Conclusion: The world according to Theravada Buddhism is not substantial, nor the idea of mind. But the world is emptiness. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534 |
Degree Name: | อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | ปรัชญา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47915 |
ISBN: | 9745784001 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Somparn_pro_front.pdf | 1.27 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somparn_pro_ch1.pdf | 867.75 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Somparn_pro_ch2.pdf | 2.89 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somparn_pro_ch3.pdf | 2.84 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somparn_pro_ch4.pdf | 5.76 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somparn_pro_ch5.pdf | 3.19 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somparn_pro_ch6.pdf | 732.3 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Somparn_pro_back.pdf | 830.65 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.