Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47926
Title: การนำเสนอรูปแบบการจัดตั้งศูนย์วิทยบริการ จากห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร
Other Titles: A proposed model for development a resource center from the secondary school library,Bangkok Metropolis
Authors: วิชัย นิ่มทรงธรรม
Advisors: สุนันท์ ปัทมาคม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ศูนย์วิทยบริการ
ห้องสมุดโรงเรียน -- ไทย
ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ -- ไทย
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ เสนอแนะรูปแบบการจัดตั้งศูนย์วิทยบริการจากห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ กรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า ศูนย์วิทยบริการของโรงเรียนมัธยม กรุงเทพมหานคร ควรมีรูปแบบเป็นหน่วยงานกลางของโรงเรียน โดยพัฒนาขึ้นจากห้องสมุดและห้องโสตทัศนศึกษาที่มีอยู่เดิม แล้วจัดการบริหารและการดำเนินงานใหม่ โดยมีผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบริการการศึกษาเป็นหัวหน้า มีครูบรรณารักษ์และครูโสตทัศนศึกษาเป็นรองหัวหน้า ทำหน้าที่จัดหา คัดเลือกและจัดระบบสื่อการศึกษาและโสตทัศนูปกรณ์ และยังเป็นผู้ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย เจ้าหน้าที่เทคนิคมีหน้าที่บริการการใช้โสตทัศนูปกรณ์ บำรุงรักษาและซ่อมแซมด้วย เจ้าหน้าที่ธุรการมีหน้าที่รับผิดชอบงานธุรการ บริการให้ยืมสื่อการศึกษาและโสตทัศนูปกรณ์แก่ครูและนักเรียน มีนักเรียนอาสาสมัครมาช่วยทำงานในบางเวลาด้วย งบประมาณของศูนย์วิทยบริการได้จากฝ่ายบริการการศึกษาของโรงเรียน และควรมีจำนวนมากกว่างบประมาณเดิมของห้องสมุดและห้องโสตทัศนศึกษารวมกัน หน้าที่ของศูนย์วิทยบริการ ได้แก่ บริการให้ยืมสื่อการศึกษาและโสตทัศนูปกรณ์ การคัดเลือก จัดหาและผลิตสื่อการศึกษา ให้คำปรึกษาทางวิชาการเกี่ยวกับการผลิต-การใช้สื่อการศึกษาและโสตทัศนูปกรณ์ ดูแล บำรุงรักษาและซ่อมแซมสื่อการศึกษาและโสตทัศนูปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกที่ศูนย์วิทบริการควรจัดไว้ คือ ป้ายติดประกาศ ตู้แสดงนิทรรศการ ตู้บัตรรายการ ตู้ไฟแสงสว่างสำหรับดูวัสดุประเภทฉาย รถเข็น คูหาสำหรับการศึกษารายบุคคล คูหาสำหรับการใช้โสตทัศนูปกรณ์ ห้องฉายภาพยนตร์และเทปโทรทัศน์ ห้องสำหรับผู้เรียนกลุ่มย่อย ห้องกิจกรรม และห้องประชุม ระเบียบในการให้บริการ ศูนย์วิทยบริการเปิดทำการทุกวันในระหว่างเปิดภาคเรียน ให้ยืมหนังสือและสื่อการศึกษาออกไปใช้นอกบริเวณโรงเรียนได้ แต่การยืมโสตทัศนูปกรณ์ให้ยืมใช้เฉพาะภายในบริเวณโรงเรียนเท่านั้น การยืมสื่อการศึกษาและโสตทัศนูปกรณ์ดังกล่าว ต้องนำส่งคืนภายในเวลาที่กำหนด เมื่อนำแบบเสนอแนะรูปแบบการจัดตั้งศูนย์วิทยบริการไปให้ผู้บริหารโรงเรียน ครูบรรณารักษ์และครูโสตทัศนศึกษาประเมิน ผลปรากฏว่า ผู้ตอบแบบประเมินทุกคนเห็นว่า เป็นรูปแบบศูนย์วิทยบริการที่อยู่ในระดับ “ดี” สามารถนำไปใช้ดำเนินการได้จริง
Other Abstract: This study was to propose a model for developing a resource center from the secondary school library in Bangkok metropolis. From the research it was found that a secondary school resource center in Bangkok should be a central service unit which can be developed from the former library and studio-visual service units. The research model was directed and administered by the vice-principal of the educational service department. The staff consisted of: a) a librarian and media specialist who in charge of collecting, classifying and the retrieval of educational materials and audio-visual equipment as well as directing all staff in the center, b) technicians who were in charge of equipment operation, servicing and maintenance, c) a clerk who was in charge of general office work and looking after circulation and reserving educational materials and audio-visual-equipment d) volunteer students. The budget of the resource center was from the educational support section of the school budget and it was found that it should be a larger budget than that of the library and audio-visual service unit combined. The resource center tasks: a) circulation of educational materials and audio-visual equipment service, b) collecting, classifying and producing media, c) acting as instructional consultant, d) maintenance of educational materials and audio-visual equipment. The facilities of the resource center: bulletin board, exhibition tables, media catalog, viewing tables, trolleys, carrels and audio-visual booths, room or space for film and video projection, small group areas study, group activities and meeting. Regulation and scheduling: a) hours: open every school day b) teachers and students can take books and educational materials off campus c) audio-visual equipment can not be taken off campus d) all checked out items have to be returned on the due date stamped. When the model of the secondary school resource center was sent to school administrators, librarians and media specialists for evaluation, their evaluations classified the model as “GOOD” and stated that it could be successfully used.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47926
ISBN: 9745685266
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vichai_ni_front.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open
Vichai_ni_ch1.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open
Vichai_ni_ch2.pdf1.97 MBAdobe PDFView/Open
Vichai_ni_ch3.pdf800.57 kBAdobe PDFView/Open
Vichai_ni_ch4.pdf3.56 MBAdobe PDFView/Open
Vichai_ni_ch5.pdf1.69 MBAdobe PDFView/Open
Vichai_ni_ch6.pdf1.57 MBAdobe PDFView/Open
Vichai_ni_back.pdf8.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.