Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48067
Title: เสาวรจนีในวรรณคดีนิทานสมัยอยุธยา
Other Titles: Eulogy in literary tales in Ayudhya perios
Authors: วัฒนา เอื้อศิลามงคล
อารดา กีระนันทน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Arada.K@Chula.ac.th
Subjects: วรรณคดีไทย -- สมัยอยุธยา
วรรณคดี -- สุนทรียศาสตร์
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศีกษาเสาวรจนีในวรรณคดีนิทานสมัยอยุธยา โดยวิเคราะห์เนื้อความและวิธีการพรรณนา เพื่อประเมินคุณค่าความสำคัญของเสาวรจนีที่มีต่อวรรณคดี ทั้งในด้านการดำเนินเรื่องและการตกแต่งให้วรรณคดีงดงาม ทั้งนี้ได้แบ่งเสาวรจนีออกเป็น 4 กลุ่ม คือการพรรณนาความงามของเมือง การพรรณนาความงามของตัวละคร การพรรณนาความงามของขบวนทัพ และการพรรณนาความงามของธรรมชาติ จากการศึกษาเรื่องนี้ผู้วิจัยพบว่า เสาวรจนีหรือบทพรรณนาความงามในแต่ละกลุ่มมีลักษณะการพรรณนาคล้ายกันมากจนเรียกได้ว่ามีลักษณะเป้นขนบนิยม แต่ทว่าในระหว่างกลุ่มก็มีเนื้อความและความสำคัญแตกต่างกัน กล่าวคือบทพรรณนาความงามของเมืองมีเนื้อความชมความงดงามของบ้านเมือง ขณะเดียวกันก็แฝงนัยว่าบ้านเมืองนั้นเป็นปึกแผ่นมั่นคง ดังนั้นบทพรรณนาเมืองจีนมีส่วนแสดงให้เห็นฐานะและอำนาจของตัวละครสำคัญ บทพรรณนาความงามของตัวละครกวีจะมุ่งกล่าวถึงความงดงามและความมีสง่าราศี โดยมักเปรียบเทียบกับสิ่งต่างๆ ที่นิยมกันว่างามในแนวที่ไม่แตกต่างจากกันมากนัก บทพรรณนาความงามของตัวละครนอกจากจะเป็นสิ่งประดับประดาเนื้อเรื่องแล้ว ยังช่วยในการดำเนินเรื่อง ในบทพรรณนาขบวนทัพ กวีมักกล่าวถึงความยิ่งใหญ่เกรียงไกรของขบวนทัพและความมีอำนาจของจอมทัพบทพรรณนา จึงช่วยเน้นความสำคัญของเหตุการณ์ที่ตามให้เห็นเด่นชัดขึ้น ส่วนบทพรรณนาความงามของธรรมชาติกวีมุ่งพรรณนาให้ผู้อ่านเห็นภาพธรรมชาติที่น่ารื่นรมย์ กวีจะเอ่ยชื่อสิ่งธรรมชาติและอากัปกิริยาความเคลื่อนไหวต่างๆ อย่างมีชีวิตชีวา บทพรรณนาธรรมชาติจึงเป็นสิ่งเชื่อมโยงเหตุการณ์ให้ต่อเนื่องกัน ส่วนในด้านวิธีการพรรณนา กวีนิยมใช้อยู่ 3 ลักษณะคือ การพรรณนาตามสภาพ การใช้ความเปรียบ และการเล่นคำ กวีจะเลือกสรรถ้อยคำที่งดงามและมีความหมายมาใช้ในที่อันเหมาะสม ทำให้ปรากฏภาพที่งดงามอย่างชัดเจนและน่าประทับใจ เนื้อความหลายหลากและวิธีการที่เหมาะสมทำให้บทพรรณนามีความสำคัญต่อวรรณคดีแต่ละเรื่องอยู่ 2 ประการคือ ประการแรกช่วยให้การดำเนินเรื่องสมเหตุผล และอีกประการหนึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอลังการที่ช่วยตกแต่งประดับประดาทำให้วรรณคดีมีสุนทรียภาพ ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการวิจัยเรื่องนี้ก็คือ ควรมีการวิจัยเกี่ยวกับลีลาประเภทอื่นๆ ในวรรณคดีไทย เพื่อการศึกษาวรรณคดีไทยจะได้ออกรสยิ่งขึ้น
Other Abstract: The purpose of this thesis is to investigate the eulogy in the literary tales of the Ayudhya period. The investitation is meant to analyze the content and method of description in eulogy in order to evaluate how eulogy contributes to the story and its aesthetics. Eulogy can be devided into four groups : the description of the beauty of the cities, the beauty of characters, the beauty of the military processions and the beauty of nature. From the study, it is found that these four groups of eulogy are so similar that can be considered as conventional. However, the content and the literary contribution to the text of each group is different. The eulogy of cities normally praises the beauty as well as the prosperity and stability of the country. So it implies the status and the power of the main characters. In the eulogy of character, the poet presents the characters as majestic and graceful by comparing their beauty to an idealized beauty which is conventionally accepted. The description is intended to embellish the story and to show the flow of the story. The eulogy of the military processions reveals the greatness of the troops and the power of the king. It helps emphasize the importance of the event. In the eulogy of the nature, The post intends to give a picture of the enchanting nature. He usually mentions the names of the animals and describes their natural behavior very vividly. The description, therefore, serves to connect the main events in the story. The three distinguished methods normally employed in eulogy are direct description, comparison and the use of pun. The poet selects appropriate diction to create a clear and impressive picture. With the varieties of content and methods ; eulogy has an important role in two ways : firstly, it helps render the flow of the whole story logical, secondly , it contributes as an important part of the embellishment of the text. It is advisable to do more research about the other styles of description in Thai literature in order to study literature more appreciatively.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48067
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wattana_ou_front.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open
Wattana_ou_ch1.pdf982.75 kBAdobe PDFView/Open
Wattana_ou_ch2.pdf7.7 MBAdobe PDFView/Open
Wattana_ou_ch3.pdf11.95 MBAdobe PDFView/Open
Wattana_ou_ch4.pdf6.42 MBAdobe PDFView/Open
Wattana_ou_ch5.pdf7.88 MBAdobe PDFView/Open
Wattana_ou_ch6.pdf420.79 kBAdobe PDFView/Open
Wattana_ou_back.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.