Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48100
Title: การออกแบบสร้างและใช้สเปกโตรกราฟเพื่อเก็บข้อมูลทางดาราศาสตร์ และนำมาวิเคราะห์ในชั้นต้น
Other Titles: Desion and construction of a grating spectrograph and its utilization in collecting and preliminary analysis of astronomical data
Authors: สธน วิจารณ์วรรณลักษณ์
Advisors: ระวี ภาวิไล
พรชัย พัชรินทร์ตนะกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: สเปกโทรกราฟ -- การออกแบบและการสร้าง
สเปกตรัมของแสงอาทิตย์
การวิเคราะห์สเปกตรัม
ดาว -- สเปกตรัม
เนบูลาเปล่งแสง -- สเปกตรัม
ดวงอาทิตย์
ดาราศาสตร์
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ได้ออกแบบและสร้างสเปกโตรกราฟสำหรับเก็บข้อมูลสเปกตรัมของแสงอาทิตย์เพื่อการวิเคราะห์และสเปกโตรกราฟสำหรับเก็บข้อมูลสเปกตรัมของดาวฤกษ์และเนบูลาเปล่งแสง สเปกโตรกราฟสำหรับเก็บข้อมูลสเปกตรัมของแสงอาทิตย์มีการกระจายเชิงเส้น 0.053 มม./อังสตรอมบนแผ่นฟิล์ม กำลังแยกเชิงสีที่ 5000 อังสตรอมเป็น 2000 นำสเปกโตรกราฟนี้ไปใช้บันทึกภาพสเปกตรัมของแสงอาทิตย์เพื่อวิเคราะห์หารูปลักษณ์ของเส้นสเปกตรัมเฟราน์โฮเฟอร์ของแคลเซียมไอออน ที่ความยาวคลื่น 3933.68 อังสตรอม ผลการวิเคราะห์แสดงว่าสเปกโตรกราฟที่สร้างขึ้นใช้งานได้ในระดับปานกลาง ให้ผลที่สอดคล้องกับข้อมูลอ้างอิงในส่วนที่ห่างจากแกนของเส้นมากกว่า 8 อังสตรอม และเบี่ยงเบนไปในส่วนใกล้แกนของเส้น โดยสรุปสเปกโตกราฟนี้เหมาะที่จะใช้ในงานที่ต้องการวิเคราะห์ในเชิงคุณภาพมากกว่าในเชิงปริมาณ เว้นแต่จะเพิ่มกำลังแยกเชิงสีให้มากขึ้นอีก สำหรับสเปกโตรกราฟที่ออกแบบสร้างสำหรับเก็บข้อมู ลสเปกตรัมของดาวฤกษ์และเนบูลาเปล่งแสงเพื่อการวิเคราะห์มีการกระจายเชิงเส้น 0.018 มม./อังสตรอมบนฟิล์ม เก็บข้อมูลสเปกตรัมของดาวฤกษ์สว่างได้ 12 ดวง กระจุกดาว 2 กลุ่ม สเปกตรัมที่ได้แสดงการเปลี่ยนความแรงของเส้นสเปกตรัมเฟราน์โฮเฟอร์ของไฮโดรเจนและธาตุโลหะต่าง ๆ และแสดงถึงความแตกต่างของเส้นสเปกตรัมโฮเฟอร์ของดาวฤกษ์ในลำดับหลักและดาวฤกษ์ในกลุ่มดาวฤกษ์ยักษ์ สเปกตรัมเปล่งออกของกลุ่มแกสในเนบูลานายพรานที่บันทึกได้ แสดงสเปกตรัมเปล่งออกของธาตุไฮโดรเจน (HI) ธาตุฮีเลียม (HeI) และไอออนของธาตุออกซิเจน (OIII) โดยสรุปสเปกโดรกราฟที่สร้างขึ้นนี้ใช้งานได้ดีกับเทห์ฟากฟ้าที่มีโชติมาตรปรากฏน้อยกว่า 4
Other Abstract: A solar spectrograph and a spectrograph for collecting stellar spectra and nebula emission spectra have been designed and constructed. The former have a linear dispersion of 0.053 mm./angstrom and chromatic resolution at 5000 angstrom of 2000. The latter has a linear dispersion of 0.018 mm./angstrom. The solar spectrograph was used to study the line profile of CaII line at 3933.68 angstrom. The results have some correspondence with the reference data near the wing region but have some distortion near the line’s core. These show that this spectrograph is more effective in applications for qualitative analysis program than in quantitative ways except that its chromatic resolution be incresed. The second spectrograph was used to collect spectra of twelve stars, two star clusters and Orion Nebula. The spectra show variations in strengths of Hydrogen Balmer’s lines and lines of some metal elements, and show the line differences in strengths and sharpness between main sequence stars and super giant stars. The emission spectra of the Orion Nebula show some spectral lines of HI, HeI and OIII. In conclusion, the spectrograph is suitable for the study of celestial bodies having the apparent visual magnitude less than 4.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ฟิสิกส์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48100
ISBN: 9745767972
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sathon_vi_front.pdf1.93 MBAdobe PDFView/Open
Sathon_vi_ch1.pdf530.71 kBAdobe PDFView/Open
Sathon_vi_ch2.pdf2.21 MBAdobe PDFView/Open
Sathon_vi_ch3.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open
Sathon_vi_ch4.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open
Sathon_vi_ch5.pdf2.22 MBAdobe PDFView/Open
Sathon_vi_ch6.pdf3.85 MBAdobe PDFView/Open
Sathon_vi_ch7.pdf4.51 MBAdobe PDFView/Open
Sathon_vi_ch8.pdf666.98 kBAdobe PDFView/Open
Sathon_vi_back.pdf1.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.