Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48147
Title: การประเมินผลสื่อที่ใช้เผยแพร่ในโครงการแรงงานเด็ก มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก
Other Titles: The evaluation of media of Child Labour Project of the Foundation for Children Development
Authors: วรทัย เมฆสุต
Advisors: พัชนี เชยจรรยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Patchanee.C@chula.ac.th
Subjects: การประชาสัมพันธ์ -- แรงงานเด็ก
อุบลราชธานี
แรงงานเด็ก
สื่อผสม -- การประเมิน
สื่อสิ่งพิมพ์ -- การประเมิน
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลสื่อที่ใช้เผยแพร่ในโครงการแรงงานเด็กของมูลนิธิเพื่อพัฒนาเด็ก จากการศึกษาความคิดเห็นของสื่อสิ่งพิมพ์ และประเมินผลสื่อผสมในด้านการให้ความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการใช้แรงงานเด็ก โดยการวิจัยภาคสนามกับกลุ่มเด็กนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 261 คน ในอำเภอเสนางคณิคม จังหวัดอุบลราชธานี ผลการวิจัย พบว่า เด็กส่วนใหญ่ทั้งเพศชายและเพศหญิงมีความคิดเห็นในเชิงบวกต่อสื่อสิ่งพิมพ์ทั้งหนังสือชีวิตแรงงานเด็กและแผ่นพับข้อควรระวัง อยู่ในระดับที่น่าพอใจ ทั้งนี้เพราะชอบในเนื้อหาสาระที่ให้ประโยชน์ต่อการไปทำงานในกรุงเทพฯ และวิธีการนำเสนอในรูปแบบของการเล่าเรื่องจริงและการ์ตูน แต่เด็กยังคงไม่แน่ใจนักที่จะทำตามคำแนะนำจากสื่อสิ่งพิมพ์ทั้ง 2 ประเภทนี้ สำหรับผลการวิจัยในส่วนความรู้เกี่ยวกับการใช้แรงงานเด็กนั้น พบว่า เด็กส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการใช้แรงงานเด็กอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดีและอยู่ในระดับใกล้เคียงกันทั้งเพศชายและเพศหญิง ไม่ว่าจะเป็นความรู้เกี่ยวกับกฎหมายแรงงานเด็กและการปฏิบัติตนขณะทำงาน ในส่วนทัศนคตินั้น พบว่า เด็กส่วนใหญ่มีทัศนคติเกี่ยวกับการใช้แรงงานเด็กในทางที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการเผยแพร่ของโครงการแรงงานเด็ก มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ในระดับที่ค่อนข้างน่าพอใจ แต่ยังคงไม่แน่ใจว่าตนจะเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ หรือไม่ และจะสามารถช่วยเหลือตนเองได้หรือไม่เมื่อเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ สรุปได้ว่า สื่อสิ่งพิมพ์ที่ใช้เผยแพร่ในโครงการแรงงานเด็กมีประสิทธิภาพในการดึงดูดความสนใจเด็กได้ค่อนข้างดี และสื่อผสมสามารถให้ความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการใช้แรงงานเด็กได้ตรงตามวัตถุประสงค์ในการเผยแพร่ของโครงการแรงงานเด็ก มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก ในระดับที่ค่อนข้างน่าพอใจ
Other Abstract: The main objective of the research is to evaluate the media of Child Labour Project of the Foundation for Children Development : the children’s opinion in the printed media and the consequence of the media forum in providing knowledge and attitude on the Child Labour. This research is a field survey designed in the sample size of 261 Prathom-six students from 7 schools in Amphur Saenangkanikim, Ubolratchatanee Province. It was found that the children, both male and female, expressed their positive opinion towards the printed media in disseminating information on the Child Labour and the presentation by actual event stories in the book called “Child Labour Life” and cartoon in the brochure called “Cautions”. But some were hesitated to follow as per instruction in these two media. After having been publicized by media forum, most respondents became acknowledgeable pretty good on the Child Labour, both male and female, in the aspect of Child Labour Law or Self-Assistance. The children’s attitude on the Child Labour, both male and female, was found to be satisfactory and quite good as expected in the objective of the publicization for Child Labour Project of the Foundation for Children Development. However, the children still felt hesitated should they go to work in Bangkok or help themselves when they go to work in Bangkok. In conclusion, the printed media can attract the attention of the children and the media forum can provide the knowledge and the attitude on the Child Labour as per objective of Child Labour Project of the Foundation for Children Development.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2535
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประชาสัมพันธ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48147
ISBN: 9745817023
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Voratai_me_front.pdf1.96 MBAdobe PDFView/Open
Voratai_me_ch1.pdf2.3 MBAdobe PDFView/Open
Voratai_me_ch2.pdf7.79 MBAdobe PDFView/Open
Voratai_me_ch3.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open
Voratai_me_ch4.pdf8.59 MBAdobe PDFView/Open
Voratai_me_ch5.pdf4.02 MBAdobe PDFView/Open
Voratai_me_back.pdf15.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.