Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48166
Title: สภาพและปัญหาการจัดการศึกษาเพื่ออนุรักษ์และเสริมสร้าง วัฒนธรรมไทยในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Conditions and problems in educational management for conservation and promotion of Thai culture at lower secondary education level in schools under the auspices of the Department of General Education in Bangkok Metropolis
Authors: วัลยา โกสุม
Advisors: ดวงเดือน พิศาลบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: วัฒนธรรมไทย -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
ภาษาไทย -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
ความเป็นอยู่และประเพณี
ค่านิยม -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
Thai culture
tradition
cultural values
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อศึกษาสภาพการจัดการศึกษาเพื่ออนุรักษ์และเสริมสร้างวัฒนธรรมไทย ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 2. เพื่อศึกษาปัญหาการจัดการศึกษาเพื่ออนุรักษ์และเสริมสร้างวัฒนธรรมไทยในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 3. เพื่อศึกษาแนวคิดและข้อเสนอแนะของครู นักเรียน ในการจัดการศึกษา เพื่ออนุรักษ์และเสริมสร้างวัฒนธรรมไทย ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นครูผู้สอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและนักเรียน รวมทั้งสิ้น 601 โดยเป็นครูผู้สอน 361 คน และนักเรียน 240 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีแบบสอบถามสำหรับครูและนักเรียน และแบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติ โดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย 1. สภาพการจัดการศึกษาเพื่ออนุรักษ์และเสริมสร้างวัฒนธรรมไทยในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ด้านหลักสูตรครูมีความคิดเห็นว่า วัฒนธรรมที่กำหนดไว้มากที่สุดในจุดประสงค์รายวิชาและเนื้อหาวิชาของหลักสูตรคือวัฒนธรรมด้านค่านิยมการพึ่งตนเองขยันหมั่นเพียร และมีความรับผิดชอบ นอกจากนี้ยังเป็นวัฒนธรรมที่หลักสูตรกำหนดเวลาไว้เหมาะสมกับเนื้อหามากที่สุด ครูที่สอนกลุ่มวิชาต่างๆ มีความเห็นว่าในรายวิชาที่สอนวัฒนธรรมที่หลักสูตรกำหนดเนื้อหาให้เรียนน้อยที่สุด คือวัฒนธรรมด้านภาษาไทย วัฒนธรรมที่หลักสูตรกำหนดเวลาน้อยไปคือ วัฒนธรรมด้านประเพณี และมากไปคือ วัฒนธรรมด้านค่านิยม การมีระเบียบวินัยและเรารพกฎหมาย ส่วนนักเรียนมีความคิดเห็นว่า วัฒนธรรมที่หลักสูตรกำหนดเนื้อหาให้เรียนมากที่สุดคือ วัฒนธรรมด้านภาษาไทย และน้อยที่สุดคือค่านิยมการรักชาติ ศาสนา พระหมากษัตริย์ วัฒนธรรมที่หลักสูตรกำหนดเวลาให้เหมาะสมกับเนื้อหามากที่สุดคือวัฒนธรรมด้านภาษาไทย วัฒนธรรมที่หลักสูตรกำหนดเวลาน้อยไป คือ วัฒนธรรมด้านการประหยัดและออม และมากไปคือวัฒนธรรมด้านภาษาไทย ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ครูมีความคิดเห็นว่า วัฒนธรรมที่ครูมีโอกาสสอนมากที่สุดคือ วัฒนธรรมด้านค่านิยม ส่วนนักเรียนเห็นว่า วัฒนธรรมด้านภาษาไทยเป็นวัฒนธรรมที่ครูมีโอกาสสอนมากที่สุด และน้อยที่สุด คือวัฒนธรรมด้านประเพณี เกี่ยวกับลักษณะการสอน วิธีการสอน และการวัดผลเรื่องวัฒนธรรม ครูมีความคิดเห็นว่า ครูสอนสอดแทรกวัฒนธรรมด้านค่านิยมการรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ใช้วิธีบรรยายวัฒนธรรมด้านประเพณี และวัดผลด้านความรู้ความเข้าใจวัฒนธรรมด้านภาษาไทยมากที่สุด ส่วนนักเรียนมีความเห็นว่าครูสอนสอดแทรกวัฒนธรรมด้านการมีระเบียนวินัยและเคารพกฎหมาย และใช้วิธีการบรรยายวัฒนธรรมด้านภาษาไทยมากที่สุด ในด้านการใช้อุปกรณ์การสอนเรื่องวัฒนธรรม ครูมีความเห็นว่าครูใช้ภาพและบัตรคำมากที่สุด นักเรียนเห็นว่าครูใช้สไลด์มากที่สุด ส่วนการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนเรื่องวัฒนธรรม ครูและนักเรียนมีความคิดเห็นตรงกันว่า ครูส่งเสริมให้นักเรียนศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเรื่องวัฒนธรรมจากสื่อมวลชลมากที่สุด เกี่ยวกับการจัดสภาพห้องเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียน เรื่องวัฒนธรรม ครูส่วนใหญ่ไม่จัดสภาพห้องเรียน สำหรับครูที่จัด จะจัดป้ายนิเทศมากที่สุด ส่วนนักเรียนเห็นว่า มีการจัดแหล่งค้นคว้ามากที่สุด ด้านการจัดกิจกรรมนักเรียนครูและนักเรียนคิดเห็นสอดคล้องกันเกี่ยวกับการกำหนดกิจกรรมนักเรียน จุดมุ่งหมายของกิจกรรมที่ส่งเสริมวัฒนธรรมในปี พ.ศ. 2526-2527 ประเภทของกิจกรรมและกิจกรรมที่ส่งเสริมวัฒนธรรมที่โรงเรียนจัด นอกจากนี้ครูมีความคิดเห็นเวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรมนักเรียนที่ส่งเสริมวัฒนธรรมมากที่สุด คือในเวลาเรียน นักเรียนเห็นว่า แล้วแต่ความเหมาะสมของเวลา ส่วนการวัดผลกิจกรรม ครูใช้วิธีการสังเกต การปฏิบัติจริงมากที่สุด นักเรียนเห็นครูใช้วิธีการพิจารณาจากจำนวนเวลาเข้าร่วมกิจกรรมของนักเรียน 2. ปัญหาการจัดการศึกษาเพื่ออนุรักษ์และเสริมสร้างวัฒนธรรมในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น พิจารณารวมทุกด้าน ครูและนักเรียนมีความคิดเห็นว่าเป็นปัญหาในระดับปานกลาง โดยครูมีความคิดเห็นว่า เรื่องที่เป็นปัญหาในระดับมากที่สุดคือ ปัญหาอิทธิพลสิ่งแวดล้อม เรื่องสื่อมวลชน รองลงมาได้แก่ปัญหาค่านิยมในสังคม ส่วนนักเรียนมีความคิดเห็นว่า ปัญหาอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมเรื่องวัฒนธรรมตะวันตกรองลงมาได้แก่ ปัญหาการเป็นแบบอย่างของครู 3. ข้อเสนอแนะ 1. หน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับวัฒนธรรม ควรผลิตเอกสารประกอบการเรียนการสอน และหนังสือเรียนที่มีเนื้อหาเรื่องวัฒนธรรมให้เพียงพอ และควรจัดอบรมครูให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องวัฒนธรรมให้มากขึ้น เพื่อนำมาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนส่งเสริมวัฒนธรรมไทยให้ได้ผลมากยิ่งขึ้น 2. โรงเรียนควรกำหนดกิจกรรมโดยคำนึงถึงความสนใจและความเหมาะสมกับวัยของนักเรียน ควรเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และในการดำเนินการควรให้นักเรียนมีส่วนร่วม วางแผน และจัดกิจกรรมเอง โรงเรียนควรสร้างสภาพแวดล้อมให้นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจและประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่นำชื่อเสียงมาสู่สถาบัน 3. ครอบครัว ผู้ปกครองให้เวลาอบรมดูแลอย่างใกล้ชิดและเป็นแบบอย่างที่ดีในการยึดมั่นวัฒนธรรมไทย ผู้ปกครองและครูควรร่วมมือกันอบรม ดูแลและฝึกให้นักเรียนรู้จักใช้วิจารญาณอย่างมีเหตุผลในการเลือกปฏิบัติวัฒนธรรมที่ดีงาม 4. สถาบันผลิตครูควรมีมาตรการในการเลือกสรรผู้จะเข้าเรียนโดยมุ่งเน้นด้านความประพฤติ และวิชาการให้มากขึ้น 5. ควรมีการสอดแทรกวัฒนธรรมไทยในรายการต่างๆ เผยแพร่ทางสื่อมวลชนต่างๆ ให้มากขึ้น
Other Abstract: Purposes of the research The purposes of this research were: 1. To study the conditions of the educational management for conservation and promotion of Thai culture at lower secondary education level. 2. To study the problems in educational management for conservation and promotion of Thai culture at lower secondary education level. 3. To study concepts and recommendations of the teachers and students in educational management for conservation and promotion of Thai culture at lower secondary education level. Procedure The subjects for this research were 361 teachers and 240 students drawn by stratified random sampling method from teachers and students in school at lower secondary education level under the auspices of the Department of General Education in Bangkok Metropolis. The instruments for collecting data were questionnaires and interview. Data analysis was done by using percentage, arithmetic means and standard deviation. Findings 1. Regarding to the curriculum, the culture which was included in the subject objectives and subject contents at the highest level was the value of self-help, perseverance and self-responsibility and it was the culture which the teaching time was most appropriate with the subject contents. The teachers perceived that the culture which had the fewest subject contents in the curriculum was Thai language. The culture which had insufficient teaching time was tradition and which had too much teaching time was value of discipline and law respect. The students perceived that the culture which was included in the subject contents at the highest level was Thai language and at the lowest level was value of patriotism, religion and the King. The culture which the teaching time was appropriate with the subject contents was Thai language. The culture which had insufficient teaching time was economization and which had too much teaching time was Thai language. The teachers perceived that the culture which they had most chances of teaching was value of discipline and law respect and which they had fewest chances of teaching was Thai language. The students perceived that the culture which the teachers had most chances of teaching was Thai language and the fewest chances of teaching was tradition. The teachers perceived that they taught their students the value of patriotism, religion and the king. They mostly taught tradition by using lecture and evaluated the students' understanding about Thai language. The students also perceived that the teachers taught them the value of discipline and law respect and they perceived that the teachers mostly taught Thai language by using lecture. Regarding to the teaching media for culture, the teachers mostly used pictures and word cards, but the students perceived that the teachers mostly used slide. The teachers and the students agreed that the teachers mostly promoted them to acquire knowledge about culture by using mass media. The teachers perceived that the culture environment was set up in their schools by using posters, but the students perceived that the culture environment was set up by using sources of studying. The teachers and the students agreed about the following items: the student activities, the objectives of activities during academic year 1983-1984, the aspects of activities, and activities for culture promotion which was set up by the schools. The culture activity which was mostly set up was religion activity. The method which the teachers used to evaluate the activities was observation the students' performance, but the students perceived that their teachers evaluated the activities by considering the frequency of their participation. 2. The opinions of the teachers and the students concerning the problems in educational management for conservation and promotion of Thai culture at lower secondary education level were at the medium level for the total aspects. The teachers perceived that the problems which were at the highest level firstly were environment effect and mass media. The second was social value. The problems perceived by the students which were at the highest level firstly were environment effect and western culture. The second was being models of the teachers. 3. The recommendations were the followings:- 3.1 The organization which responsible for culture should produce teaching supplements and books which include culture. The teachers should be trained to have more knowledge and understanding about culture, especially for teaching their classes. 3.2 The students' interest and the appropriateness with the student ages should be considered in setting up the activities in the schools. The teachers should promote the students to apply the activities for their daily lives and the students should participate in the activities. The schools should set up school environment which makes their students proud and do the good things. 3.3 The students' families should be models and teach them to love Thai culture and also train them to behave themselves reasonably following Thai culture. 3.4 The teacher institutes should select the student teachers by considering their behavior and academic knowledge. 3.5 It should be included more Thai culture in mass media.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พื้นฐานการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48166
ISBN: 9745678597
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wanlaya_ko_front.pdf2.6 MBAdobe PDFView/Open
Wanlaya_ko_ch1.pdf2.31 MBAdobe PDFView/Open
Wanlaya_ko_ch2.pdf6.82 MBAdobe PDFView/Open
Wanlaya_ko_ch3.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open
Wanlaya_ko_ch4.pdf16.74 MBAdobe PDFView/Open
Wanlaya_ko_ch5.pdf13.71 MBAdobe PDFView/Open
Wanlaya_ko_back.pdf8.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.